ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจตจำนงเสรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link GA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
Xixnus (คุย | ส่วนร่วม)
แก้เนื้อหาใหม่ให้มีความถูกต้อง แปลจากบทความเดียวกันในภาษาอังกฤษ
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:DeterminismXFreeWill.svg|thumbnail|300px|แผนภาพอย่างง่ายแสดงมุมมองทางปรัชญาต่อเจตจำนงเสรีและ[[นิยัตินิยม]]]]
 
'''เจตจำนงเสรี''' ({{lang-en|free will}}) หมายถึงความสามารถในการเลือกทำสิ่งหนึ่งจากการกระทำต่างๆ ที่เป็นไปได้ โดยที่ไม่มีปัจจัยมาขัดขวาง
'''เจตจำนงเสรี''' ({{lang-en|free will}}) เป็นความสามารถของ[[ตัวกระทำ]]ที่จะ[[การเลือก|เลือก]]โดยไม่ถูกจำกัดจากปัจจัยบางอย่าง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องเดิมมีข้อจำกัดทางอภิปรัชญา (ตัวอย่างเช่น [[นิยัตินิยม]]ทางตรรกะ จิตวิทยาเชิงเหตุผล หรือเทววิทยา) ข้อจำกัดทางกายภาพ (ตัวอย่างเช่น โซ่ตรวนหรือการจองจำ) ข้อจำกัดทางสังคม (ตัวอย่างเช่น การข่มขู่ลงโทษหรือการตำหนิโทษ หรือข้อจำกัดเชิงโครงสร้าง) และข้อจำกัดทางจิต (ตัวอย่างเช่น การบังคับหรือ[[โรคกลัว]] ความผิดปกติทาง[[ประสาทวิทยาศาสตร์]] หรือความโน้มเอียงรับโรคทางพันธุกรรม) หลักเจตจำนงเสรีมีการส่อความทางศาสนา กฎหมาย [[จริยศาสตร์]]และวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ในขอบเขตศาสนา เจตจำนงเสรีส่อความว่า [[เจตจำนง]]และทางเลือกหนึ่ง ๆ สามารถมีพร้อมกับพระเจ้าที่มีอำนาจไร้ขอบเขตได้ ในทางกฎหมาย เจตจำนงเสรีมีผลต่อการพิจารณาการลงโทษและการฟื้นฟูสภาพ ในทางจริยศาสตร์ เจตจำนงเสรีอาจส่อความว่า ปัจเจกบุคคลสามารถรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อการกระทำของตนหรือไม่ ในทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบทางประสาทวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเจตจำนงเสรีอาจเสนอวิธีต่าง ๆ ที่การทำนาย[[พฤติกรรมของมนุษย์]]
 
ความเข้าใจเรื่องเจตจำนงเสรีมีความจำเป็นสำหรับแนวคิดต่างๆ เช่น ความรับผิดชอบทางศีลธรรม การให้ความชื่นชม ความรู้สึกผิด ความบาป ซึ่งเป็นการตัดสินคุณค่าเชิงศีลธรรมสำหรับการกระทำที่ถูกเลือกอย่างเสรี โดยทั่วไปแล้ว การกระทำที่มาจากเจตจำนงเสรีเท่านั้นที่จะถูกมองว่าสมควรได้รับการชื่นชม หรือสมควรถูกตำหนิ มีประเด็นถกเถียงหลายประการที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่คุกคามความเป็นไปได้ของการมีเจตจำนง ซึ่งประเด็นถกเถียงเหล่านี้จะมีความแตกต่างตามความเข้าใจเกี่ยวกับเจตจำนงเสรี
 
แนวคิดเจตจำนงเสรีอาจเข้าใจได้ว่าเป็นความสามารถที่จะเลือกโดยที่ผลลัพธ์ของการเลือกนั้นยังไม่ได้ถูกกำหนดโดยเหตุการณ์ในอดีต แต่แนวคิดแบบ[[นิยัตินิยม]]ชี้ให้เห็นว่ามีเพียงชุดเหตุการณ์แบบเดียวเท่านั้นที่สามารถเกิดขึ้นได้ สำหรับจุดยืนที่มองว่าแนวคิดนิยัตินิยมขัดแย้งกับเจตจำนงเสรี (incompatibilism) จะประกอบด้วย 1. จุดยืนแบบเสรีนิยมเชิงอภิปรัชญา (metaphysical libertarianism) ซึ่งเชื่อว่าแนวคิดแบบนิยัตินิยมเป็นเท็จ และเจตจำนงเสรีเป็นไปได้ 2. จุดยืนนิยัตินิยมแบบแข็ง (hard determinism) ซึ่งเชื่อว่านิยัตินิยมเป็นจริง และเจตจำนงเสรีเป็นไปไม่ได้
 
ในอีกด้านหนึ่ง ยังมีจุดยืนที่เชื่อว่าแนวคิดนิยัตินิยมไม่ได้ขัดแย้งกับเจตจำนงเสรี (compatibilism) โดยนักปรัชญาบางคนอ้างว่า แนวคิดแบบนิยัตินิยมเป็น[[เงื่อนไขจำเป็น]]สำหรับการมีเจตจำนงเสรี เช่นในกรณีที่เราจะเลือกทำอะไรบางอย่าง การที่เราเลือกกระทำแบบหนึ่งมากกว่าอีกแบบหนึ่ง เราก็ต้องอาศัยความจริงที่ว่า การเลือกที่แตกต่างกันเป็นตัวกำหนดผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ในแง่นี้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแนวคิดนิยัตินิยมและเจตจำนงเสรีจึงเป็นความขัดแย้งไม่จริง นักปรัชญาหลายคนพยายามที่จะให้ทฤษฎีสนับสนุนจุดยืนดังกล่าวในแบบที่แตกต่างกัน เช่น บางคนให้นิยามว่าเจตจำนงเสรีคือการมีอิสระที่จะทำสิ่งต่างๆ โดยเราจะมีอิสระก็ต่อเมื่อการเลือกในอดีตของเราสามารถที่จะเลือกอย่างอื่นได้โดยไม่มีปัจจัยทางกายภาพมาขัดขวาง บางคนเสนอว่าเจตจำนงเสรีเป็นความสามารถในระดับจิตวิทยา (psychological capacity) เช่น เป็นความสามารถในการชี้นำพฤติกรรมของตนเองด้วยการอาศัยเหตุผล
 
<br />
 
==อ่านเพิ่ม==