ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ปราสาทพิมาย
บรรทัด 54:
เมื่อ[[จักรวรรดิเขมร]]แผ่ขยายอำนาจมาในพื้นที่เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้อาณาจักรศรีจนาศะสิ้นสุดลง [[จารึกเมืองเสมา]]พ.ศ. 1514 กล่าวถึง[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 5]] เมือง "โคราฆะปุระ" ถือกำเนิดขึ้นที่ตำบลโคราชริม[[แม่น้ำลำตะคอง]]มี[[ปราสาทเมืองแขก]]และ[[ปราสาทโนนกู่]]ซึ่งเป็นศิลปะแบบเกาะแกร์
 
==== เมืองปราสาทพิมายและอาณาจักรขอมโบราณ ====
[[ไฟล์:Phimai (I).jpg|250px|thumb|left|[[ปราสาทหินพิมาย]] สร้างขึ้นราวราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นโบราณสถานทรงขอมแบบบาปวนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย]]
 
สันนิษฐานว่า[[ปราสาทหินพิมาย]]ถูกสร้างขึ้นในสมัยของ[[พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1]] เนื่องจากรูปแบบศิลปะของซุ้มและมุขหน้าปราสาทประธานเป็นศิลปะแบบบาปวนซึ่งเป็นศิลปะในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นอกจากปราสาทหินพิมายยังมี[[ปราสาทหินพนมวัน]]ที่ตำบลบ้านโพธิ์ซึ่งสร้างขึ้นในยุคเดียวกัน พบจารึกที่ปราสาทพิมายทั้งหมดหกหลัก กล่าวถึงการบูชาและถวายของแด่พระพุทธเจ้า การกล่าวสรรเสริญพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 และการสร้างรูปเคารพรวมทั้งพิธีกรรมต่างๆ จารึกปราสาทหินพิมาย 2 พ.ศ. 1579 กล่าวถึงพระนาม“ศรีสูรยวรมะ” ปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา[[วัชรยาน]] ทับหลังของปราสาทประธานสลักเป็นรูปของ[[พระธยานิพุทธะ|พระชินพุทธะ]]และพบสัญลักษณ์และรูปเคารพของวัชรยานอื่นๆ เมืองพิมายหรือ "วิมายปุระ" เป็นฐานที่มั่นของ[[ราชวงศ์มหิธรปุระ]]ซึ่งเริ่มต้นขึ้นที่[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 6]] และต่อมาได้ครองจักรวรรดิเขมร จารึกปราสาทหินพิมาย 3 พ.ศ. 1651 ซึ่งตรงกับสมัย[[พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1]] กล่าวว่า “...กมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะเมืองโฉกวะกุลสถาปนากมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย ซึ่งเป็นเสนาบดีแห่งกมรเตงชคตวิมายะ" ในยุคนี้มีการสร้างปราสาทพิมายเพิ่มเติมในศิลปะยุคนครวัดซึ่งเป็นศิลปะในสมัยของ[[พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2]] ปราสาทหินพิมายจึงเป็นการรวมกันของศิลปะยุคบาปวนและศิลปะยุคนครวัด
ชุมชนในเขตลุ่มแม่น้ำมูลเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเมืองขึ้นในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 (ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7) เมื่อปรากฏเมืองที่มีคันดินล้อมรอบซี่งมีรูปร่างกลมหรือมีรูปร่างไม่แน่นอนกระจายอยู่ทั่วบริเวณ เช่น บริเวณบ้านเมืองฝ้าย ตำบลบ้านฝ้าย อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณบ้านโตนด ตำบลโตนด อำเภอโนนสูงบริเวณเมืองพิมาย อำเภอพิมาย บริเวณเมืองเสมา อำเภอเนินสูง บริเวณหินขอนอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยบริเวณบ้านโตนดที่อยู่ห่างจากเมืองพิมายไปทางด้านใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ได้พบลูกปัดแก้วสีน้ำเงินและลูกปัดหินทำด้วยหินอารเกทและเตอร์เนเสียน มีลายสลับเขียว เหลือง แดง ซึ่งพบมากในชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองในเขตลุ่มแม่น้ำมูล มีการรับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามา พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ แสดงความเห็นว่า บริเวณบ้านโตนดน่าจะเป็นหมู่บ้านชนบทของเมืองพิมาย เป็นพื้นที่ทำการเพาะปลูกส่วนหนึ่งของเมืองพิมาย โดยมีแม่น้ำมูลเป็นทางคมนาคมขนส่งในการลำเลียงพืชพันธุ์ธัญญาหารสู่เมืองพิมายในขณะเดียวกัน เมืองพิมายได้ปรากฏชื่ออยู่ในจารึกของเขมรมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1159 ถึงราว พ.ศ. 1180) ว่า ภีมปุระ (Bhimapura) ประกอบกับการพบจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมัน (ราว พ.ศ. 1150 ถึง พ.ศ. 1159) ที่อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ และที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจำนวนหลายหลัก แสดงให้เห็นว่า อารยธรรมเขมรได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้ามามีบทบาทในเขตลุ่มแม่น้ำมูลตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 12 (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 6) แล้ว โดยปรากฏชุมชนในวัฒนธรรมเขมรหลายแห่งในบริเวณนี้ เช่น บริเวณแก่งสะพือ อำเภอพิบูล มังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณบ้านดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
 
เมืองพิมายเมื่อราชวงศ์มหิธรปุระได้เจริญขึ้นมามีบทบาทสำคัญเป็นครองจักรวรรดิเขมรเมืองวิมายประทวีความสำคัญขึ้นในฐานะศูนย์กลางขนาดใหญ่การปกครองของอารยธรรมเขมรขอมโบราณในเขตลุ่มแม่น้ำมูลในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ตอนบนและศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนาวัชรยาน 1654 (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 11) เมื่อมีการสถาปนาราชวงศ์มหิธรปุระ (Mahidrapura) ขึ้นในเขตที่ราบสูงโคราช และเจริญรุ่งเรืองสุดในสมัยของ[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] (พ.ศ. 1724 ถึงราวบูรณะปราสาทพิมายเนื่องจากเป็นเมืองเกิดของพระมารดา จากที่ปรากฎใน[[จารึกปราสาทพระขรรค์]]พ.ศ. 1763)1734 เพราะมีชื่อเมืองพิมายปรากฏที่[[นครธม]]ซึ่งกล่าวถึงเส้นทางการคมนาคมในจารึกปราสาทพระขรรค์56สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ กล่าวว่า7 กล่าวว่า“จากเมืองหลวงไปยังเมืองวิมาย (มี) ที่พักพร้อมด้วยไฟ 17 แห่ง” และมีแสดงให้เห็นว่าเมืองวิมายเป็นเมืองจุดหมายปลายทางที่สำคัญ พบรูปฉลององค์ประติมากรรมเหมือนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพระชายาอยู่ที่ปราสาทหินพิมายด้วยพิมาย ต่อมาเมื่อจักรวรรดิเขมรเสื่อมอำนาจลงและ[[อาณาจักรอยุธยา]]แผ่ขยายอำนาจเข้ามาเมืองพิมายจึงลดความสำคัญลง
 
จารึกปราสาทหินพิมาย
 
        จารึกที่พบที่ปราสาทหินพิมายมีทั้งหมด 6 หลัก คือ
 
        -     จารึกปราสาทหินพิมาย 1 อักษรขอม ภาษาสันสกฤต ศิลาทราย กว้าง 57 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร หนา 12เซนติเมตร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพบในส่วนใดของปราสาท
 
        -    จารึกปราสาทหินพิมาย 2 อักษรขอม ภาษาสันสกฤตและเขมร ศิลารูปใบเสมา กว้าง 23 เซนติเมตร สูง 18 เซนติเมตรหนา 5.5 เซนติเมตร พบที่มุมตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน
 
        -    จารึกปราสาหินพิมาย 3 อักษรขอม ภาษาเขมร พบที่กรอบประตูซุ้มระเบียงคดด้านทิศใต้
 
        -    จารึกปราสาทหินพิมาย 4 อักษรขอม ภาษาเขมร พบที่ระเบียงคดด้านใต้ซีกตะวันออก เป็นจารึกฐานประติมากรรม
 
        -    จารึกปราสาทหินพิมาย 5 อักษรขอม ภาษาบาลี กว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 32เซนติเมตร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพบในส่วนใดของปราสาท
 
        -    จารึกปราสาทหินพิมาย 6 อักษรขอม ภาษาเขมร แตกชำรุดเป็น 5 ชิ้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพบส่วนใดของปราสาท
 
        จารึกที่มีข้อความพอที่จะศึกษาได้ คือ จารึกปราสาทหินพิมาย 2 จารึกปราสาทหินพิมาย 3 และจารึกปราสาทหินพิมาย 4
 
โดยเนื้อหาสาระของจารึกมีประเด็นที่สำคัญ คือ
 
        1.     การบูชาและถวายของแด่พระพุทธเจ้า
 
        2.     การกล่าวสรรเสริญพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545 – 1593 / ค.ศ. 1002 –1050)
 
        3.     การทำนุบำรุงศาสนสถานโดยการสร้างรูปเคารพ การทำพิธีต่างๆ และการถวายที่ดิน ข้าทาส สิ่งของแก่ศาสนสถานเพื่ออุทิศบุญกุศลแก่บรรพบุรุษ
 
        4.     การสร้างเมืองและศาสนสถาน
 
        จากจารึกปราสาทหินพิมาย 2 มีการกล่าวถึง มหาศักราช 95858 เทียบได้กับ พ.ศ. 1579 (ค.ศ. 1036) และพระนาม“ศรีสูรยวรมะ” ซึ่งหมายถึง พระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 ทำให้นักวิชาการมีความเห็นว่า ปราสาทหินพิมายคงจะสร้างขึ้นในรัชสมัยนี้โดยปามังติเอร์ (H.Parmentier) ให้ความเห็นว่า รูปแบบศิลปะของซุ้มและมุขหน้าปราสาทประธาน น่าจะเป็นฝีมือช่างในสมัยพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 ซึ่งเทียบได้กับศิลปะที่ปราสาทวัดเอกและวัดบาเสตในเมืองพระตะบองซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลนี้แต่จารึกหลักนี้มีปัญหาที่ว่าไม่ได้เป็นจารึกที่อยู่ติดกับตัวปราสาทหินพิมาย จึงไม่อาจสรุปลงไปได้อย่างชัดเจนว่า ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นในรัชสมัย พระเจ้าสูรยวรมันที่ 1อย่างไรก็ตาม จารึกปราสาทหินพิมาย 3 ซึ่งเป็นจารึกที่ติดกับศาสนสถานได้กล่าวถึงมหาศักราช1030 หรือ พ.ศ. 1651 (ค.ศ. 1108) ซึ่งตรงกับรัชกาลพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1650 – 1656 หรือ ค.ศ. 1107 – 1113) “...กมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะเมืองโฉกวะกุลสถาปนากมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย ซึ่งเป็นเสนาบดีแห่งกมรเตงชคต-วิมายะฯ...” ได้แสดงให้เห็นว่าในปี พ.ศ. 1651 (ค.ศ. 1108) ต้องมีศาสนสถานปราสาทหิน พิมายอยู่แล้ว เพราะมีรูปเคารพกมรเตงชคตวิมายะ ซึ่งเป็นประธานของปราสาทหินพิมายแล้ว โดยนักวิชาการแสดงความเห็นว่ากมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะนั้นน่าจะหมายถึง เจ้าเมืองหรือขุนนางของพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 ที่ครองเมืองพิมายอยู่ในขณะนั้น เพราะชื่อ ศรีวิเรนทราธิบดีวรมะเป็นชื่อตามปราสาทหินพิมายที่ปรากฏในจารึก คือ ศรีวิเรนทราศรม ซึ่งหมายถึง อาศรมของศรีวิเรนทราธิบดี และไซเดนฟาเดน (E. Seidenfaden) ได้แสดงความเห็นว่า กมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะ ต่อมาก็ได้เป็นพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656ถึงหลัง พ.ศ. 1688 หรือ ค.ศ.1113 ถึงหลัง ค.ศ. 1145)
 
        นอกจากนี้ ในตอนท้ายจารึกปราสาทหินพิมาย 3 ยังได้กล่าวถึงศักราช 1031 (พ.ศ. 1652 / ค.ศ. 1109) กมรเตงอัญศรีวีรวรมะได้ถวายของและข้าพระแด่กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกวิชัย เพื่อถวายผลนั้นแด่พระบาทกมรเตงอัญศรีธรณีนทรวรมเทวะฯ ซึ่งหมายถึง พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 ที่ครองราชย์อยู่ที่เมืองพระนครขณะนั้น
 
        จากจารึกทั้งสองหลักพอจะสันนิษฐานได้ว่า ปราสาทหินพิมายคงจะสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 1651 (ค.ศ. 1108) ซึ่งกรอสลิเย่ (Bernard Philippe Groslier) กล่าวว่า คงเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (พ.ศ. 1623 – 1650 / ค.ศ. 1080 – 1107) เนื่องจากเมืองพิมายเป็นราชธานีของพระองค์มาก่อน โดยพระองค์โปรดให้สร้างปราสาทหินพิมายขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่บรรพบุรุษในราชวงศ์มหิธรปุระ
 
พุทธศาสนาที่ปราสาทหินพิมาย
 
        เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในคติพุทธศาสนา เพราะประธานเป็นรูปพระพุทธรูปนาคปรกศิลามีพระนาม กมรเตงชคตวิมายะ แต่การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้นักวิชาการส่วนมากเข้าใจว่าพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานหรือตันตระยาน เป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งเมื่อศึกษาถึงปรัชญาและจุดมุ่งหมายของวัชรยานและมหายานแล้ว จะเห็นได้ว่าทั้งวัชรยานและมหายานต่างก็มีปรัชญาที่ต่างกัน ดังนั้นวัชรยานและมหายานจึงเป็นลัทธิที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาจากหลักฐานที่ปรากฏที่ปราสาทหินพิมายทั้งจากตัวศิลปะและจารึกกล่าวได้ว่า ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน เนื่องจากด้านหน้าทางเข้าปราสาทประธาน ปรากฏรูปพระวัชรสัตวพุทธะ คือ พระชินพุทธะองค์ที่ 6 ของลัทธิวัชรยานแสดงรูปโดยทรงถือวัชระในพระหัตถ์ขวา และทรงถือกระดิ่งในพระหัตถ์ซ้าย และจากการศึกษาประติมากรรมเครื่องใช้สัมฤทธิ์ที่บริเวณเมืองพิมายและบริเวณใกล้เคียง พบวัชระและกระดิ่งที่ภิกษุในลัทธิวัชรยานใช้ในการประกอบพิธีกรรมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้รูปเคารพที่ปรากฏอยู่บนทับหลังประดับประตูด้านในวิมานของปราสาทประธาน ยังแสดงถึงรูปเทพเจ้าในลัทธิวัชรยานด้วย คือทับหลังประดับทิศใต้ แสดงภาพกมรเตงชคตวิมายะอยู่ตรงกลาง ตอนบนของทับหลัง คือ พระชินพุทธะ 6 พระองค์ ด้านละ 3 พระองค์ ทับหลังประดับทิศตะวันตก ตอนบนแสดงภาพพระอมิตาภพุทธะ พระชินพุทธะ ประจำทิศตะวันตกส่วนตอนล่างแสดงภาพความรื่นรมย์บนสวรรค์สุขาวดี ทับหลังประดับทิศเหนือ ตรงกลางเป็นรูปเทพเจ้า 3 พักตร์ 6 กร โดยพระหัตถ์ล่างอยู่ในท่าปางสมาธิ พระหัตถ์ขวากลางถือลูกประคำ และพระหัตถ์ซ้ายกลางถือกระดิ่ง ซึ่งก็คือเหวัชระ หรือพระวัชรินตามชื่อที่ปรากฏในจารึกของกัมพูชาทับหลังประดับทิศตะวันออก แสดงภาพเทพเจ้า 4 พักตร์ 8 กร โดยพระพักตร์ที่ 4อยู่ด้านหลังสองกรล่างอยู่ในท่าแสดงธรรม ร่ายรำอยู่ในท่าอรรธปรยังกะ บนพระไภรวะและนางกาลราตรี และทรงถือหนังช้าง เทพเจ้าองค์นี้คือ สังวร ซึ่งอยู่ในสกุลพระอักโษภยะพระชินพุทธะประจำทิศตะวันออกนอกจากนี้ ยังปรากฏทับหลังประดับประตูชิ้นหนึ่งไม่ทราบตำแหน่งเดิมจากปราสาทหินพิมาย คือ ทับหลังภาพเจ้าเมืองทำอัษฎางคประดิษฐ์ ในพระหัตถ์มีหม้อน้ำที่รองรับน้ำมนตร์จากพระกมรเตงชคตวิมายะ ที่แสดงภาพอยู่ตอนกลางด้านบนของทับหลัง  การถวายอัษฎางคประดิษฐ์เป็นการถวายความเคารพในลัทธิวัชรยาน ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ในประเทศธิเบตและเนปาลปัจจุบัน
 
ลัทธิวัชรยานเริ่มปรากฏในเขมรมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าราเชนทรวรมัน (พ.ศ. 1474 –1511 หรือ ค.ศ. 935 – 968) เพราะจารึกปราสาทเบ็งเวียนได้กล่าวถึงพระโลเกศวรและนางปรัชญาปารมิตา ผู้ประทานกำเนิดพระชินพุทธะและธาตุทั้ง 5 (มูลปฺรกฤติ)ในไตรโลก นอกจากนี้จารึกบ้านสับบาก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ใน พ.ศ. 1609 (ค.ศ. 1066) ได้กล่าวถึงพระปาญจสุคต ซึ่งคือ พระชินพุทธะในลัทธิวัชรยาน และยังกล่าวถึงคัมภีร์ศรีสมาจะ ซึ่งเป็นชื่อย่อของคัมภีร์ศรีคุหยสมาจตันตระ(การสนทนาที่เป็นความลับ) เป็นคัมภีร์เก่าสุดที่พระพุทธเจ้าพระนามว่า สรรว-ตถาคต-กาย-วาก-จิตต์ ประทานให้กับพุทธสมาคมและเป็นต้นตำรับของวัชรยาน ทั้งยังเป็น 1 ใน 9 คัมภีร์หลักของเนปาลจารึกทั้งสองหลักแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานได้มีการวางรากฐานในอารยธรรมเขมรมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 15 (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10) และคงแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในเขตที่ราบสูงโคราชช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 11) จากนั้นก็เจริญรุ่งเรืองสุดในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7โดยมีศูนย์กลางของลัทธิวัชรยานในประเทศไทยที่เมืองพิมาย และมีปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานที่สำคัญของลัทธินี้
 
บทบาทและหน้าที่ของปราสาทหินพิมาย
 
ปราสาทหินพิมายเป็นปราสาทในอารยธรรมเขมรแบบ “ที่มีระเบียงคดล้อมรอบปรางค์ประธาน” และเป็นศูนย์กลางลัทธิวัชรยานจากกัมพูชาที่สำคัญในประเทศไทย อีกทั้งในจารึกปราสาทพระขรรค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยังกล่าวถึงเมืองพิมายในฐานะที่เป็นเมืองปลายทางของเส้นทางหลักสายหนึ่งในจำนวน 6 เส้นทางจากเมืองพระนคร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเมืองพิมายในช่วงระยะเวลานี้ได้อย่างดี ประกอบกับภายนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลงเหลืออยู่ คือ อโรคยศาลที่พระองค์โปรดให้สร้างขึ้นทั่วพระราชอาณาจักรของพระองค์ เพราะทรงมีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือราษฎรให้พ้นจากความทุกข์กายอันได้แก่ความไม่มีโรค จากลักษณะดังกล่าวต่างเป็นสิ่งแสดงถึงฐานะของเมืองพิมายที่มิใช่เป็นเพียง “ดินแดนนอกกัมพุชเทศ” เท่านั้น แต่มีความสำคัญในฐานะที่เป็นดินแดนปิตุภูมิของกษัตริย์เขมรในราชวงศ์มหิธรปุระอีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพิมายที่จัดอยู่ในศิลปะเขมรแบบนครวัดตอนต้นนี้ ยังส่งอิทธิพลกลับคืนไปยังศูนย์กลางที่เมืองพระนครด้วยความเป็นศูนย์กลางของพิมายในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนเช่นนี้ ทำให้ปราสาทหินพิมายไม่ได้เป็นเพียงปราสาทของราชวงศ์มหิธรปุระเท่านั้น หากยังเป็นศาสนสถานที่รับใช้ชุมชนพิมายเองด้วย ดังปรากฏในจารึกปราสาทหินพิมาย 2 ที่กล่าวถึงการทำบุญในวันสำคัญต่างๆ และการไปนมัสการพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดความเจริญในชีวิต อีกทั้งภายในบริเวณเมืองพิมายเองก็มีการขุดสระหรือบารายขนาดใหญ่ คือ สระแก้ว สระพรุ่ง (สระศรี) และสระขวัญ และภายนอกกำแพงเมืองด้านตะวันออก คือ สระเพลง นอกกำแพงด้านทิศใต้ คือ สระช่องแมว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระบบการชลประทานขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้ชุมชนที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้นปราสาทหินพิมายจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นปราสาทประจำราชวงศ์มหิธรปุระ และเป็นศาสนสถานในลัทธิวัชรยานของชุมชนแม่น้ำมูลตอนบน
 
=== สมัยอยุธยา ===