ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JulladaNARIT (คุย | ส่วนร่วม)
JulladaNARIT (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 92:
'''วันที่ 1 มกราคม 2552''' พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีผลใช้บังคับ ถือวันเป็นสถาปนา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หน่วยงานดาราศาสตร์ของชาติ อย่างเป็นทางการ
 
==* วิสัยทัศน์ ==
 
เป็นองค์กรชั้นนำด้านดาราศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
 
เส้น 109 ⟶ 110:
* '''[[หอดูดาวแห่งชาติ (ไทย)|หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ​7 รอบ พระชนมพรรษา หรือหอดูดาวแห่งชาติ]]''' ตั้งอยู่ที่สถานีทวนสัญญาณทีโอที อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กม. 44.4 อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
* '''[[หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ (ไทย)|หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ]]''' ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์พัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
 
สดร. ขยายการศึกษาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งงานวิจัย เทคโนโลยีและวิศวกรรมด้านดาราศาสตร์วิทยุ ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายดาราศาสตร์วิทยุและยีออเดซี่ มีแผนดำเนินการสร้าง '''“หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ”''' ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถเชิงสังเกตการณ์ด้านคลื่นวิทยุ และกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เมตร เพื่อสร้างงานวิจัยด้านยีออเดซี่และวิทยาศาสตร์บรรยากาศ และยังสามารถเข้าร่วมเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทางไกล (Very Long Baseline Interferometer: VLBI) เพื่อเชื่อมต่อและร่วมสังเกตการณ์กับเครือข่าย VLBI ของโลก ซึ่งเป็นความร่วมมือกับหลายหน่วยงานในต่างประเทศ เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมัน อังกฤษ เป็นต้น
 
=== ต่างจังหวัด - '''[[หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา|หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ภูมิภาค]]''' ===
เส้น 126 ⟶ 129:
* หอดูดาวสปริงบรู๊ค รีเซิร์ช '''ประเทศออสเตรเลีย'''
 
== งานวิจัย ==
สดร. ดำเนินแนวทางการวิจัยใน 4 Key Science Areas ได้แก่ Space Weather and Earth’s Climate, Understanding Physics of the Universe, Exoplanets and Astrobiology, Understanding the Origin of the Cosmos และอื่นๆ ได้แก่ Optics, RF, Data Archive ภายใต้  5 กลุ่มวิจัยหลัก ดังนี้
 
'''2.1 กลุ่มทัศนศาสตร์และเครื่องมือทัศนศาสตร์ขั้นสูง -''' ศึกษาวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ และเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานกล้องโทรทรรศน์ รวมถึงพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์เชิงแสง ที่ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เที่ยงตรงยิ่งขึ้น เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ลดระยะโฟกัส การพัฒนาสเปกโทรกราฟ การสร้างอุปกรณ์ถ่ายภาพดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ และออกแบบพัฒนากล้องโทรทรรศน์ขนาดกลาง เป็นต้น
 
'''2.2  กลุ่มดาราศาสตร์วิทยุ -''' ศึกษาวิจัย และสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นวิทยุ ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุในการสังเกตการณ์และเก็บข้อมูล เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพัลซาร์ หรือดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงมากและแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ
 
'''2.3  กลุ่มวิทยาศาสตร์บรรยากาศ -''' ศึกษาผลกระทบของอวกาศที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเชื่อมโยงระหว่างการเกิดเมฆกับปริมาณรังสีคอสมิกที่วิ่งมาสู่โลก การเกิดละอองลอยปกคลุมท้องฟ้าที่ไม่ได้เกิดจากเผาชีวมวลที่มีผลกระทบต่อการศึกษาดาราศาสตร์ในขณะสังเกตการณ์บนท้องฟ้า  ศึกษาถึงผลของสภาพอากาศและละอองลอยต่อชั้นบรรยากาศโลกและดาวเคราะห์
 
'''2.4   กลุ่มจักรวาลวิทยาและดาราศาสตร์ทฤษฎี -''' ศึกษาวิจัยถึงกำหนดของจักรวาล กำเนิดและวิวัฒนาการของดาวดวงแรก การเกิดและวิวัฒนาการของกาแลกซีในยุคแรกของเอกภพ ทำความเข้าใจธรรมชาติของ สสารและปฏิสสาร หลุมดำ พลังงานมืด สสารมืด พัลซาร์ ดาวแปรแสง เควซาร์ และการปลดปล่อยรังสีแกมมาอย่างรุนแรง
 
'''2.5   กลุ่มดาราศาสตร์แสง -''' ศึกษาวิจัย และสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น ใช้กล้องโทรทรรศน์แสงในการสังเกตการณ์และเก็บข้อมูล เพื่อค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ศึกษาดาวแปรแสง ศึกษาดาวคู่ และวิวัฒนาการของดาว เป็นต้น
 
ปัจจุบัน มีนักวิจัย 19 คน ผู้ช่วยนักวิจัยของโครงการต่างๆ 23 คน รวมทั้งสิ้น 42 คน มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก ค่า Impact Factor เฉลี่ยอยู่ในระดับ 4-5 ในระหว่างปี พ.ศ. 2557-2562 มีนักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ทั้งในและต่างประเทศของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติในการทำวิจัย มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มี Impact factor มากกว่า 4 ทั้งหมด 43 ผลงาน
 
''ตัวอย่าง'' งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ดังกล่าว คือ “การค้นพบการเกิดดาวเคราะห์คล้ายโลกในระบบดาวฤกษ์ที่เพิ่งเกิดใหม่” ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และ ดร.วิภู รุโจปการ อาจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้กล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติซีกฟ้าใต้สังเกตการณ์ระบบดาวฤกษ์เกิดใหม่ NGC2547-ID8 ร่วมกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ของนาซา ศึกษาพบการระเบิดของฝุ่นรอบดาวฤกษ์ดังกล่าว ที่เกิดจากการชนกันของดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่รอบดาวเคราะห์ การชนกันลักษณะนี้จะนำไปสู่การก่อตัวของดาวเคราะห์ดวงใหม่เช่นเดียวกับการเกิดดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราในอดีต งานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ ในวารสาร Science ที่มี Impact Factor สูงถึง 34.66
 
           อีกหนึ่งงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ คือการศึกษาชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์นอกระบบ GJ3470b นำโดย ดร.ศุภชัย อาวิพันธุ์ นักวิจัยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ ทำการสังเกตการณ์การผ่านหน้าของดาวเคราะห์ GJ3470b ด้วยกล้องโทรทรรศน์ 2.4 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา และกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติซีกฟ้าใต้ ผลการศึกษาพบว่าชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ GJ3470b มีสีฟ้า และมีธาตุมีเทนเจือปนในชั้นบรรยากาศ นับเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ค้นพบธาตุมีเทนในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบดังกล่าว งานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Monthly Notices of the Royal Astronomical Society มี Impact factor 4.961 นอกจากนี้ผลของงานวิจัยนี้ ร่วมกับงานวิจัยอื่นด้านดาวเคราะห์นอกระบบในระหว่างศึกษาระดับปริญญาเอก ของ ดร.ศุภชัย อาวิพันธุ์ ได้รับการคัดเลือกให้ตีพิมพ์เป็นหนังสือในโครงการ Springer Theses ของสำนักพิมพ์ Springer
<br />
 
== '''การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง''' ==
สดร. ให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อยกระดับงานวิจัยและวิศวกรรม ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดการสร้างกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรรมขั้นสูงในหลายสาขา ความรู้และความเชี่ยวชาญที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะงานดาราศาสตร์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปต่อยอดประยุกต์สำหรับสาขาวิชาอื่นๆ และภาคอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต
 
ปัจจุบัน สดร. มุ่งเน้นการพัฒนา 5 เทคโนโลยีขั้นสูง ได้แก่ ทัศนศาสตร์และโฟโตนิกส์ เทคโนโลยีด้านคลื่นวิทยุเมคคาทรอนิกส์ การขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง และคอมพิวเตอร์ขีดความสามารถสูงและวิทยาศาสตร์ข้อมูล
 
'''ตัวอย่าง''' ผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ และการประยุกต์
 
'''การออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์''' และเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ ที่บูรณาการร่วมกันระหว่างเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์และทัศนศาสตร์
 
'''การสร้างและพัฒนาระบบเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์''' สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ ใช้ระบบสูญญากาศที่ใช้เทคนิค Sputtering ในการเคลือบผิว สามารถควบคุมความหนาของฟิล์มบาง ให้มีความเรียบสม่ำเสมอ มีความหนาระดับนาโนเมตร ถึงไมโครเมตร มีค่าความเรียบในระดับดีมาก สามารถนำไปประยุกต์ในการเคลือบโลหะอื่นๆ ในงานอุตสาหกรรมได้
 
'''การขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูงสู่การผลิต “ชิ้นส่วนโครงสร้างขาเทียม”'''
 
ทีมวิศวกรจากห้องปฏิบัติการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง ได้วิจัยพัฒนา และออกแบบโครงสร้างชิ้นส่วนขาเทียม ให้มีความแข็งแรงคงทน มีน้ำหนักลดลง ปรับองศาให้เคลื่อนไหวได้อิสระ ตอบสนองการเดินของผู้ป่วยและผู้พิการได้ทุกรูปแบบ ลดปัญหาแรงกดจากการใช้งานจริง มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
 
== '''การเข้าร่วมโครงการวิทยาศาสตร์ระดับโลก''' ==
สดร. ได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมโครงการวิทยาศาสตร์ระดับโลกหลายโครงการ แสดงถึงการยอมรับและศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยในเวทีโลก เข้าร่วมโครงการขนาดใหญ่นี้ของประเทศไทย เป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยได้พัฒนาศักยภาพ และสามารถศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าได้ทัดเทียมกับประเทศที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ระดับโลก และมีโอกาสพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงที่ยังไม่เคยมีในประเทศไทย
 
''ตัวอย่าง'' โครงการวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่ สดร. เข้าร่วม มีดังนี้
 
1)     การเข้าร่วมโครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชเรนคอฟ ('''Cherenkov Telescope Array: CTA)''' เป็นความร่วมมือของ 25 ประเทศ มูลค่ารวม 400 ล้านยูโร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา High Energy Astroparticles จะติดตั้งหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชเรนคอฟ ณ ประเทศสเปน และชิลี สดร. เข้าร่วมโครงการ CTA ในส่วนการพัฒนาเครื่องเคลือบกระจกสะท้อนแสงของกล้องโทรทรรศน์ จำนวน 6,400 บาน โดยความร่วมมือกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
 
2)     การเข้าร่วมโครงการ '''Jiangmen Underground Neutrino Observatory : JUNO''' ภายใต้สถาบันฟิสิกส์พลังงานสูง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสร้างห้องปฏิบัติการศึกษาอนุภาคนิวตริโน มีหน่วยงานร่วมดำเนินการมากกว่า 70 สถาบัน จาก 16 ประเทศทั่วโลก มูลค่ารวม 300 ล้านเหรียญสหรัฐ  ประเทศไทยเข้าร่วมในลักษณะการเป็น Consortium ของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับผิดชอบการออกแบบคอยล์แม่เหล็ก เพื่อป้องกันอุปกรณ์รับสัญญาณจากสนามแม่เหล็กโลก
 
3)     สดร. เข้าร่วมโครงการ '''Gravitational-Wave Optical Transient Observer : GOTO ''' ร่วมกับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย เพื่อติดตั้งกล้องโทรทรรศน์มุมกว้าง ที่สามารถถ่ายภาพวัตถุทั่วท้องฟ้าตลอดเวลาทั้งซีกฟ้าเหนือและซีกฟ้าใต้ เพื่อติดตามวัตถุที่อาจเป็นต้นกำเนิดของคลื่นความโน้มถ่วง เมื่อมีการตรวจวัดเหตุการณ์คลื่นความโน้มถ่วงโดยหอสังเกตการณ์ LIGO  รวมถึงสามารถใช้ในการสำรวจท้องฟ้า เพื่อค้นหาวัตถุในระบบสุริยะที่ยังไม่เคยมีการค้นพบมาก่อน
<br />
 
== '''ความร่วมมือทางดาราศาสตร์กับหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ''' ==
สดร. มีบทบาทสำคัญในระดับนานาชาติที่ใช้ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สร้างความตระหนักและความตื่นตัวทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดโลกการเรียนรู้ให้ประชาชนทุกเพศ ทุกวัยได้รับการยอมรับให้เป็นศูนย์ดาราศาสตร์เพื่อการพัฒนาในระดับนานาชาติ 2 ศูนย์ ได้แก่ International Training Center in Astronomy under the Auspices of UNESCO (ITCA) และ Southeast Asia - Regional Office of Astronomy for Development (SEAROAD)
 
นอกจากนี้ สดร. ยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวม 67 ฉบับ (ในประเทศ  33  ฉบับ และต่างประเทศ 34 ฉบับ)
 
''ตัวอย่าง'' ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เป็นดังนี้
 
•      Max Planck Institute for Radio Astronomy (Germany) ในการสร้างเครื่องรับสัญญาณวิทยุในช่วงคลื่น L-band และ K-band
 
•      Jodrell Bank Center for Astrophysics, University of Manchester (UK) ในการสร้าง Universal backend ซึ่งจะใช้ GPU เป็นตัวประมวลผลแทนแบบเดิม
 
•      Institut d’Optique Graduate School (France) ในการพัฒนาเครื่องมือขั้นสูงทางด้านทัศนศาสตร์
 
•      National Astronomical Observatory of Japan (Japan) ในการทดสอบเพื่อการตรวจรับงานสร้างกล้องโทรทรรศน์วิทยุ
 
•      Polar Research Institute of China, Chinese Academy of Sciences (China) ในการวิจัยดาราศาสตร์ที่ขั้วโลกใต้
 
•      Centre for Astrophysics and Space Science (CASS), CSIRO (Australia) ในความร่วมมือด้านดาราศาสตร์วิทยุ
 
== '''ภาคีความร่วมมือพัฒนาความสามารถเทคโนโลยีอวกาศไทย (Thai Space Consortium)''' ==
           สดร. ริเริ่มและผลักดันให้เกิดความร่วมมือสำคัญของ 3 หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ - สดร. สำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ - สทอภ. และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน- สซ. ในการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อใช้ในการวิจัย ดาวเทียมดังกล่าว จะถูกออกแบบและสร้างโดยทีมวิศวกรและบุคลากรของ 3 หน่วยงาน เป็นการสร้างประสบการณ์การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในประเทศไทย และอนาคตจะเป็นพื้นฐานให้เกิดอุตสาหกรรมอวกาศ คาดว่าจะสามารถส่งขึ้นสู่อวกาศได้ภายในปี 2567 ดาวเทียมดวงนี้ มีน้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม มี Payload หลัก ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 ซม. ซึ่งออกแบบและสร้างโดย สดร. มี Payload รอง ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจวัดที่ศึกษาสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และจะถูกส่งไปที่วงโคจร 500-800 กิโลเมตร
<br />
 
== '''การสร้างความตระหนักและความตื่นตัวด้านดาราศาสตร์สู่สังคมไทย''' ==
สดร. สร้างความตระหนัก และสื่อสารดาราศาสตร์ไปสู่สาธารณชนในหลากหลายรูปแบบ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ ทั้งเด็กและเยาวชน ครูอาจารย์ ประชาชนทั่วไป และนักดาราศาสตร์สมัครเล่น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความสนใจ ยกระดับและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ละกิจกรรมที่จัดขึ้น ได้คำนึงถึงเนื้อหาที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมมากกว่า 200,000 คน ต่อปี
 
นอกจากนี้ ยังดำเนินโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ คัดเลือกโรงเรียนเพื่อรับมอบกล้องโทรทรรศน์ และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์สำหรับจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรมภายในโรงเรียนและชุมชน นับถึงปัจจุบัน มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 360 โรงเรียน ใน 76 จังหวัด ก่อให้เกิดการตื่นตัวทางดาราศาสตร์ในวงกว้างที่ผ่านมาในปี 2558-2561 เกิดกิจกรรมดาราศาสตร์รวมมากกว่า 4,500 กิจกรรม และยังสนับสนุนสื่อเรียนรู้ให้แก่โรงเรียน สถานศึกษา หน่วยงาน หรือชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน ปีละมากกว่า 500 หน่วยงาน
 
สดร. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อ “การสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคมไทย” มีการสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ หลากหลายรูปแบบ เช่น การส่งข่าวแจกเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ แถลงข่าวกรณีมีปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์น่าสนใจ ในแต่ละปีมีการส่งข่าวแจกมากกว่า 90 ครั้ง มีเวปไซต์สำหรับเผยแพร่ข้อมูลและกิจกรรม มีผู้เข้าชมเว็ปไซต์มากกว่า 100,000 คนต่อเดือน มีช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่าง สดร. กับประชาชน มีการอัพเดทข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊คมากกว่า 1,000 ครั้งต่อปี ปัจจุบันมีสมาชิกแฟนเพจที่ติดตาม มากกว่า 250,000 คน ฯลฯ นอกจากนี้ในช่วงต้นปี มีการจัดแถลงข่าว 10 เรื่อง ดาราศาสตร์ที่น่าติดตาม เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลล่วงหน้า
 
ปัจจุบันมีประชาชนให้ความสนใจและเปิดรับข้อมูลข่าวสารดาราศาสตร์เพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าดาราศาสตร์มีส่วนทำให้เกิดกระแสความสนใจ สร้างความตระหนัก ความตื่นตัว สร้างแรงบันดาลใจ สร้างการรับรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างแพร่หลาย สดร. คาดหวังว่าจะใช้ดาราศาสตร์จะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้มีกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุและผลเพื่อเป็นรากฐานการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป<br />
 
== รางวัลที่ได้รับ ==