ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Richard lawrinton (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Richard lawrinton (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39:
ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2443 พระองค์ดิลกนพรัฐได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ เพราะเจ้าจอมมารดาทิพเกษรป่วยหนักและถึงแก่อนิจกรรม คราวนั้น พระองค์ได้ประทับอยู่ในเมืองไทยนานถึง 8 เดือน จนกระทั่งเสร็จสิ้นงานปลงพระศพของพระมารดา จึงทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่อังกฤษในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2444
 
การว่างเว้นการเรียนไปนานหลายเดือนทำให้พระองค์ทรงเรียนตามพระสหายในชั้นเรียนไม่ทัน จึงต้องทรงย้ายไปเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมของเอกชนที่แครมเมอร์ และได้ทรงย้ายไปศึกษาที่เยอรมนีในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2444 ในระหว่าง พ.ศ. 2444-2446 พระองค์ได้ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมที่เมืองฮาลเล ภายใต้การควบคุมดูแลของ ดร.ตริน ศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน พระองค์ทรงมีความขยันหมั่นเพียรเป็นอย่างสูง จนสามารถเรียนรู้ภาษาเยอรมันได้อย่างแตกฉาน และสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาภายในเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น
 
ใน พ.ศ. 2446 เมื่อมีพระชันษา 19 ปีบริบูรณ์ และได้ประทับอยู่ในยุโรปมาแล้วกว่า 6 ปี พระองค์ได้ทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมิวนิกในหลักสูตรวิชา[[เศรษฐศาสตร์การเมือง]] หรือที่รู้จักกันในสมัยนี้ว่าวิชา[[เศรษฐศาสตร์]] พระองค์ทรงเลือกศึกษาวิชาที่เน้นในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม, ลัทธิเศรษฐกิจ, เศรษฐศาสตร์แรงงาน ตลอดจนวิชารัฐศาสตร์ คือวิชาที่เกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง พระองค์ทรงเริ่มการค้นคว้าเพื่อเรียบเรียงวิทยานิพนธ์เรื่อง "เกษตรกรรมในสยาม : บทวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยาม" ({{lang-de|Die Landwirtschaft in Siam: Ein Beitrag Zur Wirtschaftsgeschichte Des Konigreichs Siam}}) ใน พ.ศ. 2447 โดยทรงขอข้อมูลจากเมืองไทย ซึ่งกระทรวงเกษตราธิการได้รวบรวมส่งไปถวาย นอกจากนั้นก็ยังทรงค้นคว้าจากหนังสือและเอกสารอีกมากมายที่มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ทั้งที่เป็นภาษาเยอรมัน, ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส รายชื่อหนังสือและเอกสารเหล่านี้ปรากฏในบรรณานุกรมต่อท้ายพระวิทยานิพนธ์ของพระองค์ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ถือเป็นเอกสารสำคัญสำหรับนักเศรษฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจโลกที่สนใจประเทศไทย
 
ภายหลังที่ได้ทรงศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยมิวนิกเป็นเวลา 2 ปี พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐก็ได้ทรงย้ายไปศึกษาในแขนงวิชาเดียวกัน ณ [[มหาวิทยาลัยทือบิงเงิน]] (University of Tübingen) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงของเยอรมนีตอนใต้อีกแห่งหนึ่ง (เมืองทือบิงเงินอันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ใกล้กับเมืองชตุทท์การ์ท และอยู่ไปทางทิศตะวันตกของเมืองมิวนิก) ณ มหาวิทยาลัยแห่งใหม่นี้ พระองค์ได้ทรงสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า "ดอกเตอร์วิทสตาตส์วิสเซนชัฟท์" ({{lang-de|Doktor der StaatswissenschaftenWirtschafts-wissenschaften}}) ใน พ.ศ. 2450 ขณะทรงมีชันษาได้ 23 ปี ภายหลังที่ได้ทรงพิมพ์พระวิทยานิพนธ์เป็นหนังสือขนาดกะทัดรัดฉบับภาษาเยอรมันในชื่อว่า "เกษตรกรรมในสยาม : บทวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยาม" (ภาษาเยอรมัน : Die Landwirtschaft in Siam) โดย ปรินซดิลก ฟอน สิอาม ({{lang-de|Dilock Prinz Von Siam}}) พระนามเรียกในภาษาเยอรมันของพระองค์ ผลงานของพระองค์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และถือเป็นเอกสารสำคัญสำหรับนักเศรษฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของโลกที่สนใจประเทศไทยจักต้องค้นหามาศึกษา
 
ในพระอัจฉริยภาพด้านการศึกษานั้น กล่าวสรุปได้ว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ