ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงแรมนรก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 45:
 
==เรื่องย่อ==
โรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่งในต่างจังหวัดที่ชื่อว่า '''''โรงแรมสวรรค์''''' ที่มีลุงและหลานสองคนดูแลกิจการร่วมกัน ฝ่ายหลานชายนั้นนักแสวงโชคที่หวังจะหาเงินเล็กๆน้อยๆเล็ก ๆ น้อย ๆ เข้ากระเป๋าจากการรับพนันงัดข้อกับ '''น้อย''' ([[ประจวบ ฤกษ์ยามดี]]) หลานชายคนดูแลกิจการโรงแรมที่อ้างว่าเป็นนักเลงงัดข้อแชมเปี้ยนโลก นอกจากเป็นบริกรของโรงแรมแล้ว ห้องพักเพียงห้องเดียวของโรงแรมแห่งนี้ถูกจับจอง โดยชายหนุ่มที่ชื่อว่า '''ชนะ''' ([[ชนะ ศรีอุบล]]) ซึ่งไม่ยอมเปิดเผยว่า เขาเลือกแวะพัก ณ โรงแรมแห่งนี้ด้วยจุดประสงค์อันใด โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ เจ้าของห้องพักเพียงห้องเดียวในโรงแรมผู้ที่ไม่ยอมเปิดเผยวัตถุประสงค์ของการมาเยือนโรงแรมแห่งนี้ ซึ่งมีพฤติกรรมแปลกๆแปลก ๆ ของแขกมากหน้าหลายตา ที่มาเยือน
แต่อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ เขาไม่ค่อยพอใจกับสภาพอันวุ่นวายโกลาหลภายในโรงแรม ซึ่งมีคนพลุกพล่านและส่งเสียงอึกทึกครึกโครมตลอดเวลา ส่วนหนึ่งเป็นพวกนักดนตรีที่มาขออาศัยห้องโถงของโรงแรมฝึกซ้อมเพลง, '''ศาสตราจารย์สมพงษ์''' ([[สมพงษ์ พงษ์มิตร]]) พูดถึงวงการศิลปินเมืองไทยในเชิงเหยียดหยาม แต่ตัวเขากลับเบี้ยวไม่ยอมจ่ายค่าเหล้าที่ติดค้างโรงแรมเป็นเวลานาน-ก็ดูเหมือนจะเป็นการเหน็บแนมบรรดาคนหัวสูงที่เห็นของนอกดีกว่าของไทย หรือในช่วงถัดมา โรงแรมสวรรค์ของน้อยก็ได้ต้อนรับชายหญิงคู่หนึ่งที่ล่ามโซ่ตัวเองไว้ที่ข้อมือ ฝ่ายหญิงบอกว่าเธอชื่อ '''ยุพดี''' ([[ชูศรี โรจนประดิษฐ์]]) เพิ่งแต่งงานกับสามีที่ชื่อ '''หม่องส่าง''' และสาเหตุที่ต้องล่ามโซ่ ก็เพราะพ่อของฝ่ายชายกลัวเธอจะหนีไปมีชู้
 
'''เรียม''' ([[ศรินทิพย์ ศิริวรรณ]]) สาวลึกลับที่บอกว่ามี อายุ 65 ปี มีลูก 12 คน อาชีพค้าฝิ่นเถือน เป็นม่าย ผู้ที่แสดงตัวว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามกับชนะอย่างโจ่งแจ้งแต่ต้องกลับกลายมาเป็นคู่รักกันในยามคับขัน เมื่อชนะไม่ยินยอมให้ตัวเองตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ และอาศัยความเหนือกว่าด้านพละกำลังบังคับให้ฝ่ายหลังต้องใช้เก้าอี้ยาวในห้องโถงเป็นเตียงนอน คนหนึ่งเถรตรงและแข็งกระด้าง ส่วนอีกคนเอาแต่ใจ และชอบอาศัยความเป็นผู้หญิงหว่านล้อมเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ หรือยั่วโทสะให้อีกฝ่ายโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ แต่ความขัดแย้งของคนทั้งสองก็เป็นแค่เรื่อง '' “พ่อแง่แม่งอน” ''
 
ภายหลังการมาถึงของแขกไม่ได้รับเชิญสามคน คือ '''เสือสิทธิ์''' ([[สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์]]) ซึ่งเป็นหัวโจก สมุนคนรอง ชื่อว่า '''ไกร''' ([[ไกร ภูตโยธิน]]) และคนสุดท้าย '''เชียร''' ([[วิเชียร ภู่โชติ]]) ทั้งสามล่วงรู้ว่า ชนะ เป็นสมุห์บัญชีของบริษัทปรีดาไทย เขาแวะพัก ณ โรงแรมแห่งนี้เพื่อรอรับเงิน 6 แสนบาทที่จะนำไปแจกจ่ายให้คนงาน แต่ไม่มีใครอาจรู้ได้ว่า เงินจำนวนมหาศาลนั้นจะมาถึงตอนไหน และใครเป็นคุมมา เงื่อนไขที่ทำให้เรื่องยิ่งยุ่งเหยิงมากขึ้นไปอีกก็คือ เสือสิทธิ์กับพวกไม่ใช่กลุ่มเดียวที่หวังจะเป็นเศรษฐีชั่วข้ามคืน แต่ยังมี '''เสือดิน''' ([[ทัต เอกทัต]]) จอมโจรที่ได้ชื่อว่าโหดเหี้ยมทารุณอีกคนที่ต้องการได้ครอบครองเงินก้อนเดียวกัน และปริศนาทั้งหมดถูกคลี่คลายโดยตำรวจที่มาเยือนในท้ายเรื่อง
บรรทัด 77:
ภาพยนตร์เรื่อง โรงแรมนรก ภาพยนตร์ที่[[รัตน์ เปสตันยี]] รับหน้าที่กำกับและเขียนบทเองเพื่อทดลองว่าการถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 มม. ขาวดำนั้นมีการลงทุนที่ต่ำกว่าหนังที่ถ่ายทำด้วยฟิล์มสี อีกทั้งยังสามารถล้างและพิมพ์ฟิล์มได้ภายในประเทศไม่จำเป็นต้องส่งไปยังแล็ปในต่างประเทศ เป็นเสมือนการเชิญชวนให้คนทำหนังในเวลานั้นหันมาสนใจสร้างภาพยนตร์ด้วยฟิล์ม 35 มม. กันมากขึ้นเพื่อช่วยกันยกระดับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศ โรงแรมนรก เป็นภาพยนตร์ไทยที่ล้ำหน้ามากในปี [[พ.ศ. 2500]] และจนถึง พ.ศ.นี้
 
โรงแรมนรก เป็นผลงานกำกับการแสดงเรื่องที่สองของ [[รัตน์ เปสตันยี]] ต่อจากภาพยนตร์เรื่อง [[ตุ๊กตาจ๋า]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2494]] ซึ่งเป็นหนังในระบบ 16 มิลลิเมตร และเป็นเรื่องที่ห้าของการเข้าสู่อุตสาหกรรมหนังในตำแหน่งต่างๆต่าง ๆ กัน ตรวจสอบจากเครดิตงานสร้างแล้วก็จะพบว่า ความแตกต่างของรัตน์ เปสตันยีจากคนในวงการหนังรุ่นราวคราวเดียวกันก็คือ เขาไม่ได้เติบโตมาจากแวดวงละครเวที แต่เริ่มต้นจากงานด้านกำกับภาพ ผลงานในการถ่ายภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ ล้วนแล้วเป็นหนังเรื่องสำคัญทั้งสิ้น อันได้แก่ [[พันท้ายนรสิงห์ (ภาพยนตร์)|พันท้ายนรสิงห์]] , [[สันติ-วีณา]] และ [[ชั่วฟ้าดินสลาย]] ทั้งสามเรื่อง เป็นงานกำกับการแสดงของ[[ครูมารุต]]
 
จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้ อยู่ที่การวางโครงเรื่องที่แยบยล ว่าเรื่องเกิดขึ้นในเวลาต่อเนื่องเพียงข้ามคืน และเกิดอยู่ภายในสถานที่ฉากเดียว โรงแรมนรกสามารถสร้างความสนุกอย่างไม่คาดคิดและดึงความสนใจของผู้ชมได้ตลอดประกอบด้วยการแสดงที่โดดเด่นของนักแสดงนำ ซึ่งดูกลมกลืนและลื่นไหลไปกับเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ ทั้งที่เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นที่ฉากเดียวเท่านั้น
 
หลายฉากในภาพยนตร์ ยังแสดงถึงอารมณ์ขันของผู้สร้าง ที่มีการล้อเลียนภาพยนตร์เรื่องอื่นๆอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงเรื่อง ''[[สุภาพบุรุษเสือไทย]]'' หรือแม้แต่ ''[[ชั่วฟ้าดินสลาย]]'' ของตัวผู้กำกับเอง และเสียดสีวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น
 
ในปีที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากความล้ำสมัยของเนื้อหา และการนำเสนอตัวละครที่ฉีกแนว ตัวพระ-นาง มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ไม่ซ้ำซากจำเจเหมือนเรื่องอื่น และบทภาพยนตร์ที่ใช้สร้าง เขียนขึ้นมาสำหรับภาพยนตร์โดยเฉพาะ ไม่ได้นำเนื้อเรื่องมาจาก[[นวนิยาย]]ที่มีความนิยมอยู่ก่อนแล้ว
บรรทัด 88:
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับ[[รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2502]] พิธีประกาศผลอย่างเป็นทางการ จัด ณ เวทีลีลาศ [[สวนลุมพินี]] เมื่อวันที่ [[4 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2502]] ซึ่งได้รับรางวัล 3 สาขา ได้แก่
 
* สาขา '''[[ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม]]''' (รัตน์ เปสตันยี)
* สาขา '''[[รายชื่อผู้ได้รับรางวัลการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย|บันทึกเสียงยอดเยี่ยม]]''' (ปง อัศวินิกุล)
* สาขา '''[[รายชื่อผู้ได้รับรางวัลการกำกับภาพยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย|ถ่ายภาพยอดเยี่ยม]]''' ประเภทฟิล์ม 35 ม.ม. (ประสาท สุขุม)