ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตลาดนัดจตุจักร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TroylegaEA (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มวิธีก่อสร้างและผู้ก่อสร้าง
บรรทัด 5:
[[ไฟล์:SUC50093.JPG|right|200px|thumb|คนหนาแน่นในช่วงเย็น บริเวณโครงการ 1 และ โครงการ 26]]
 
'''ตลาดนัดจตุจักร''' เป็นตลาดนัดในกรุงเทพมหานคร มีจำนวนแผงค้าทั้งหมดมากกว่า 8,000 แผงค้า แบ่งเป็น 27 โครงการ มีสินค้า 8 ประเภท ได้แก่ ผักและผลไม้ เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ อาหารปรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารสด และเบ็ดเตล็ด
 
ตลาดนัดจตุจักรถูกสร้างขึ้นโดย พลเอก[[เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์]] ชมะนันท์ ในสมัยปี พ.ศ. 2521 เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งในขณะนั้น พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นประธานกรรมการรถไฟ โดยการเอากองขยะที่ดินแดง มาถม ที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย แล้วย้ายตลาดนัดสนามหลวงมาที่นี่ โดยใช้ทหารช่างมาทำการสร้างขึ้น<ref name=":0" />
 
== ความเป็นมาของตลาดนัดจตุจักร ==
ปี [[พ.ศ. 2491]] จอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] อดีต[[รายนามนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรี]] มีนโยบายให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นในทุกจังหวัด สำหรับ[[กรุงเทพมหานคร]]นั้นได้เลือก[[สนามหลวง]]เป็นสถานที่จัดตลาดนัด แต่เพียงไม่ถึงปีรัฐบาลก็ย้ายตลาดนัด ไปอยู่ใน[[พระราชอุทยานสราญรมย์]]แล้วจึงย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณ[[สนามไชย]] และย้ายตลาดนัดกลับไปอยู่ที่สนามหลวงในปี [[พ.ศ. 2501]]
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2521]] พลเอก[[เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์]] อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายใช้สนามหลวงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี [[การรถไฟแห่งประเทศไทย]]จึงได้มอบที่ดินย่านพหลโยธิน โดยการดำเนินการโดยนาย[[เชาวน์วัศ สุดลาภา]] อดีต[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] จึงจัดที่ดิน[[สวนจตุจักร]]ด้านทิศใต้ให้แก่ [[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]]เพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ และกรุงเทพมหานครได้ปรับพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและขณะเดียวกันก็พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วย จนกระทั่งดำเนินการสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธิน ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ให้สอดคล้องกับ[[สวนจตุจักร|สวนสาธารณะจตุจักร]]ในบริเวณใกล้เคียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน<ref name=":0">{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
|ชื่อหนังสือ=กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554