ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 90:
 
=== พระราชบัญญัติสหภาพ ===
เมื่อผ่าน[[พระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701]] รัฐสภาอังกฤษมิได้ปรึกษา[[รัฐสภาสกอตแลนด์]]ที่ส่วนหนึ่งมีความประสงค์ที่จะรักษาราชบัลลังก์ไว้กับราชวงศ์สจวตและรักษาสิทธิในการเลือกผู้สืบราชบัลลังก์<ref>Gregg (2001) , pp. 130-131</ref> ทาง[[ราชอาณาจักรสกอตแลนด์]]จึงตอบโต้กลับด้วยการออก[[พระราชบัญญัติเพื่อความปลอดภัย ค.ศ. 1704]] ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่ระบุว่าเมื่อสิ้นสุดจากพระราชินีนาถแอนน์แล้ว สกอตแลนด์มีอำนาจที่จะเลือกประมุขพระองค์ต่อไปสำหรับราชบัลลังก์สกอตแลนด์จากผู้สืบเชื้อสายของราชวงศ์ของสกอตแลนด์ (ผู้ที่ได้รับเลือกโดยสกอตแลนด์จะไม่เป็นผู้เดียวกับผู้เดียวกับผู้ปกครอง[[ราชอาณาจักรอังกฤษ]] นอกจากว่าถ้าสถานะการณ์ทางศาสนา เศรษฐกิจ และทางการเมืองจะเป็นที่ตกลงกันได้) แต่พระราชบัญญัติฉบับนี้มิได้รับการยอมรับจนเมื่อสกอตแลนด์ขู่ว่าจะถอนตัวจากกองทัพของดยุกแห่งมาร์ลบะระในยุโรปและไม่ยอมเก็บภาษีต่างๆต่าง ๆ ตามที่อังกฤษต้องการ
 
แต่ความที่รัฐสภาอังกฤษเกรงว่าสกอตแลนด์จะหันกลับไปเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสถ้าสกอตแลนด์ได้รับเอกราช ทางการอังกฤษจึงได้ออก[[พระราชบัญญัติต่างด้าว ค.ศ. 1705]] (Alien Act 1705) เป็นการตอบโต้ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่ระบุว่าอังกฤษจะต่อต้านสกอตแลนด์ทางเศรษฐกิจและจะประกาศให้ชาวสกอตแลนด์เป็นคนต่างด้าวทั้งหมด (ซึ่งเป็นการทำให้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิในการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ของชาวสกอตแลนด์ในอังกฤษ) นอกจากว่าสกอตแลนด์จะยกเลิก “พระราชบัญญัติเพื่อความปลอดภัย” และเข้ารวมตัวกับอังกฤษ สกอตแลนด์เลือกประการหลัง ด้วยเหตุนี้สกอตแลนด์จึงส่งผู้แทนมาเจรจาต่อรองในการรวมตัวกับอังกฤษเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1706 ข้อตกลงได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาสกอตแลนด์เมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1707 ภายใต้[[พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707]] อังกฤษและสกอตแลนด์จึงกลายเป็นอาณาจักรเดียวกันในชื่อ '''“บริเตนใหญ่”''' เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 <ref>Benians, pp.90–91</ref>
บรรทัด 115:
 
=== สวรรคต ===
สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์สวรรคตด้วย[[โรคข้อต่ออักเสบ]]เมื่อเวลาประมาณ 7 นาฬิกาของวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1714 พระบรมศพของพระองค์บวมมากจนต้องใส่ในโรงพระศพที่เกือบจะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมที่[[แอบบีเวสต์มินสเตอร์]]<ref>Ward, p. 476</ref> และด้วยเหตุที่[[เจ้าหญิงโซเฟียแห่งฮาโนเวอร์]]ผู้เป็นรัชทายาทตาม[[พระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701]] มาสิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน (8 มิถุนายน ปีเดียวกัน) [[พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่|เจ้าชายจอร์จแห่งฮาโนเวอร์]]ผู้เป็นพระโอรสของเจ้าหญิงโซเฟียจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็น[[พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่]]แทน <ref name="Lodge78"/> โดยการละเว้น[[ผู้อ้างสิทธิ]]ในราชบัลลังก์คนอื่นๆอื่น ๆ เช่น[[เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต]]พระโอรสของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 การขึ้นครองราชย์เป็นไปโดยไม่มีอุปสรรคสำคัญนอกจากการแข็งข้อที่ล้มเหลวของ[[จาโคไบต์]] (Jacobitism) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์สจวตสองครั้งในปี ค.ศ. 1715 และ 1719<ref>Benians (1909) , pp. 97–106</ref>
 
== มรดก ==
บรรทัด 122:
สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์มักจะทรงกังวลกับพระสุขภาพเพราะทรงเป็น[[โรคพอร์ฟิเรีย]] (porphyria) และเพราะความที่ไม่ทรงมีสุขภาพดีนักจึงเป็นการเปิดโอกาสให้เสนาบดีโดยเฉพาะโรเบิร์ต ฮาร์ลีย์ เอิร์ลแห่งอ็อกฟอร์ดและมอร์ติเมอร์ ดยุกและดัชเชสแห่งมาร์ลบะระ และ บารอนเนสอะบิเกล มาแชมเข้ามามีอิทธิพลทางการตัดสินพระทัยทางเมืองของพระราชินีนาถแอนน์<ref name="SJ" />
 
สมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์เป็นสมัยของศิลปะ วรรณกรรม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ทางสถาปัตยกรรม [[จอห์น แวนบรูห์]]สร้างสิ่งก่อสร้างที่เด่น ๆ เช่น[[ว้งเบล็นไฮม์]][http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:Blenheim_Palace_IMG_3672.JPG]ให้แก่ดยุกและดัชเชสแห่งมาร์ลบะระ และ[[คฤหาสน์เฮาวาร์ด]][http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:Castle_Howard.jpg]ให้แก่ชาร์ลส์ เฮาวาร์ด เอิร์ลแห่งคาร์ไลสล์ที่ 3 ถึงแม้ว่าสมัยของพระราชินีนาถแอนน์จะไม่มีลักษณะอะไรทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ที่เด่น แต่ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยของพระองค์ก็มาเป็นที่นิยมกันในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในลักษณะที่ถือกันว่าหรูหราโออ่าและใช้รายละเอียดในการตกแต่งมาก ทางด้านวรรณกรรมสมัยนี้มีนักเขียนสำคัญๆสำคัญ ๆ เช่น[[แดเนียล เดอโฟ]], [[อเล็กซานเดอร์ โพพ]] และ [[โจนาทาน สวิฟท์]]
 
ทางกฎหมาย, พระนามของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์สำคัญฉบับแรกของอังกฤษที่เรียกว่า “[[บทกฎหมายแอนน์]]” (Statute of Anne) ค.ศ. 1709 ซึ่งให้ลิขสิทธิ์งานเขียนต่อผู้ประพันธ์ทั้งหมดแทนที่จะเป็นของสำนักพิมพ์ตามที่เคยเป็นมา<ref>{{cite book | last = Morrissey | first = Lee | title = From the Temple to the Castle: An Architectural History of British Literature, 1660–1760 | publisher = University of Virginia Press | date = 1999 | url = http://books.google.com/books?vid=OCLC02069656&id=klMCAAAAQAAJ&pg=RA2-PA329&lpg=RA2-PA329&dq=%27brandy+nan%27}}</ref>