ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34:
===ลาออกจากราชการและผนวช===
[[ไฟล์:Kurt boeck indien nepal 046.jpg|thumb|300px|พระชินวรวงศ์ หรือพระภิกษุพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (ประทับนั่งตรงกลาง) ขณะเสด็จไปจาริกแสวงบุญที่ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2442 ในรูปนี้ทรงฉายพระรูปร่วมกับพันเอก[[เฮนรี สตีล โอลคอตต์]] พุทธศาสนิกชนชาวอเมริกัน (ยืนข้างหลังพระชินวรวงศ์)]]
ในปี พ.ศ. 2434 ขณะมีพระชันษาได้ 40 ชันษา พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ตามเสด็จ[[สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช|สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช]] เสนาบดีกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ไปราชการที่[[ประเทศญี่ปุ่น]] ระหว่างทางเสด็จกลับ ขบวนเสด็จได้แวะที่[[เซี่ยงไฮ้]] [[ราชวงศ์ชิง|ประเทศจีน]] เนื่องจากสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงพระประชวรอย่างกะทันหันและจำเป็นต้องพักรักษาพระองค์ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ตัดสินพระทัยลาออกจากราชการโดยไม่มีการบอกกล่าวและทิ้งจดหมายกราบบังคมทูลลาออกไว้ ก่อนจะเสด็จไปยังเมืองต่าง ๆ ในต่างประเทศ เพื่อหางานทำ ทั้งที่[[ไซ่ง่อน]] ([[โคชินไชนา]]) กรุง[[พนมเปญ]] ([[กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส]])<ref>[https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1333132136750481&id=1174884455908584&__tn__=K-R พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พระประวัติที่ถูกตัดตอน (๑๑) มูลเหตุวิบากหลากหลาย - หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน]</ref> [[รัฐเปรัก]] (อาณานิคมมลายูของอังกฤษ)<ref>[https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1334209869976041&id=1174884455908584&__tn__=K-R พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พระประวัติที่ถูกตัดตอน (๑๒) ร่อนเร่พเนจรร้อนกาย - หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน]</ref> จนกระทั่งได้เสด็จไปที่[[ศรีลังกา]]และทรงผนวชเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. 2439 ขณะมีพระชันษาได้ 45 ชันษา โดยมีพระวัสกะฑุเว ศรีสุภูติ (Waskaḍuwe Śrī Subhūti) เป็นพระอุปัชฌาย์<ref>by Indrajith, Saman “Temple that keeps Thai - Sri Lanka ties strong”, ''The Island'', 16.08.2003. Accessed on 15.2.2018 on http://www.island.lk/2003/08/16//satmag01.html</ref> ทรงได้รับพระฉายาว่า "ชินวรวงฺโส ภิกขุ" หรือ "พระชินวรวงศ์" (ในเอกสารภาษาต่างประเทศ ทรงใช้พระนามว่า Bhikkhu P.C. Jinavaravamsa) ภายหลังได้ทรงเป็นเจ้าอาวาส[[วัดทีปทุตตมาราม]] เป็น[[วัดไทย]]วัดแรกในกรุง[[โคลัมโบ]] ระหว่างปี พ.ศ. 2448 - 2453<ref>[http://www.mfa.go.th/web/224.php?id=14560 ศรีลังกา : กฐินพระราชทาน ณ วัดทีปทุตตมาราม ปฐมฤกษ์ครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ไทย-ศรีลังกา]</ref>
[[ไฟล์:Buddhist Stupa containing relics of Buddha, National Museum, New Delhi.jpg|thumb|left|200px|[[พระบรมสารีริกธาตุ]]ที่ขุดพบจากโบราณสถานกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งรัฐบาล[[บริติชราช]]ในขณะนั้นได้แบ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เป็นพระบรมสารีริกธาตุชุดเดียวกันกับที่รัฐบาลบริติชราชได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2442]]
ในช่วงที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ดำรงสมณเพศเป็นพระภิกษุชินวรวงศ์นั้น ได้มีการค้นพบ[[พระบรมสารีริกธาตุ]]ภายในซากโบราณสถานกรุง[[กบิลพัสดุ์]]ที่ประเทศอินเดียในปี พ.ศ. 2439 เมื่อพระชินวรวงศ์ทรงทราบข่าวดังกล่าวจึงเสด็จไปที่นั่นเพื่อตรวจสอบพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบ<ref>{{cite journal|journal=Life Style กรุงเทพธุรกิจ|author=เพ็ญนภา หงษ์ทอง|volume=|issue=|pages=|title=ตามรอยพิสูจน์พระบรมสารีริกธาตุ จากกบิลพัสดุ์สู่บรมบรรพต|url=https://www.facebook.com/Buddhism2Science/photos/a.206619752807599/330440537092186/?type=1&theater|date=23 พฤศจิกายน 2555|accessdate=17 สิงหาคม 2562|language=ไทย}}</ref> และได้ทรงแนะนำให้รัฐบาลอังกฤษซึ่งปกครองอินเดีย ([[บริติชราช]]) ทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<ref>[https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1326602350736793&id=1174884455908584 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พระประวัติที่ถูกตัดตอน (๔) เคว้งคว้างเวหาคว้าลม - หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน]</ref> เพราะทรงเป็นพระมหากษัตริย์เพียงประเทศเดียวในโลกยุคนั้นที่ทรงเป็นพุทธมามกะ ต่อมาเมื่อทางสยามตอบรับการทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสารีริกธาตุจากรัฐบาลอังกฤษ และมอบหมายให้[[เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)|พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม)]] ข้าหลวง[[มณฑลนครศรีธรรมราช]] เป็นผู้ออกไปรับพระบรมสารีริกธาตุในปี พ.ศ. 2442 ปรากฏว่าพระชินวรวงศ์ได้เกิดความขัดแย้งกับพระยาสุขุมนัยวินิตอย่างรุนแรง เนื่องจากพระองค์ได้บอกกับพระยาสุขุมนัยวินิตว่า ทรงแอบหยิบเอาพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระเศียรที่รัฐบาลอังกฤษรวบรวมไว้จากการค้นพบดังกล่าวมาองค์หนึ่ง เผื่อว่าหากรัฐบาลอังกฤษไม่ยอมทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็จะได้นำพระบรมสารีริกธาตุส่วนนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเสียเอง พระยาสุขุมนัยวินิตซึ่งมีความรู้ทางพระพุทธศาสนาและภาษาบาลีเป็นอย่างดี จึงแจ้งแก่พระชินวรวงศ์ว่าพระองค์ได้ต้อง[[อาบัติ]][[ปาราชิก]]ข้อ "อทินนาทานสิกขาบท" (ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้) ไปแล้ว ขาดจากความเป็นพระภิกษุ ณ นาทีที่กระทำเช่นนั้นแล้ว และได้รายงานเรื่องดังกล่าวไปยังทางกรุงเทพฯ<ref>{{cite journal|journal=|author=[[สุลักษณ์ ศิวรักษ์]]|volume=|issue=|pages=|title=ค้นหาพระพุทธเจ้า|url=http://www.buddhadasa.org/บทความพุทธทาสภิกขุ/ค้นหาพระพุทธเจ้า-สุลักษณ์-ศิวรักษ์.html|date=|accessdate=17 สิงหาคม 2562|language=ไทย}}</ref><ref name="หล่นลงโคลนตมจมดิน">[https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1327478597315835&id=1174884455908584&__tn__=K-R พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พระประวัติที่ถูกตัดตอน (๕) หล่นลงโคลนตมจมดิน - หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน]</ref>