ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Tititham Sukhaya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
}}
 
'''ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค''' เป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบประสมขนาดใหญ่ บนที่ดินขนาด 23 ไร่ 2 งาน 2.72 ตารางวา บริเวณหัวมุม [[ถนนพระราม 4]] ตัด[[ถนนสีลม]] ([[แยกศาลาแดง]]) ตรงข้ามกับ[[สวนลุมพินี]] ในพื้นที่แขวงสีลม [[เขตบางรัก]] กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของ '''โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ''' และ '''บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) สำนักงานสีลม''' บริหารงานโดย บริษัท วิมานสุริยา จำกัด ภายใต้การร่วมทุนของ [[เครือดุสิตธานี|บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน)]] และ [[กลุ่มเซ็นทรัล]] โดย [[เซ็นทรัลพัฒนา|บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)]] ตั้งเป้าขึ้นเป็น[[หลักเขตที่ดิน|แลนด์มาร์ค]]หนึ่งของเส้นขอบฟ้า[[กรุงเทพมหานคร]] ด้วยความสูงสุดของอาคารที่ 69 ชั้น ภายใต้สถาปัตยกรรมแบบไทยโบราณร่วมกับสถาปัตยกรรมแบบไทยร่วมสมัย รองรับกลุ่มลูกค้าทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
 
==ประวัติ==
[[ไฟล์:Dusit Thani.jpg|250px|thumb|left|โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2556]]
พื้นที่ของโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค แต่เดิมแล้วเป็นบ้านศาลาแดง ของ[[เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)]] โดยท่านผู้หญิง[[ชนัตถ์ ปิยะอุย]] ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาคณะกรรมการโรงแรม ปริ๊นเซส ได้ดำเนินการขอเช่าพื้นที่จาก[[สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์]] ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินผืนดังกล่าว เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงแรมระดับห้าดาวที่หรูหราแห่งแรกในกรุงเทพมหานครเมื่อปี [[พ.ศ. 2511]] ภายใต้ชื่อ '''โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ''' โดยตัวอาคารมีความสูง 23 ชั้น นับเป็นอาคารสูงหลังแห่งแรกในประเทศไทย และใช้สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิมร่วมสมัยที่ออกแบบโดยกลุ่ม Kanko Kikaku Sekkeisha ที่นำโดย โยโซะ ชิบาตะ สถาปนิกชาวญี่ปุ่น<ref>[https://readthecloud.co/dusit-thani/ บันทึกหน้าสุดท้ายของโรงแรมดุสิตธานี ตำนานตั้งแต่รุ่นพ่อที่เป็นที่รักของคนไทย]</ref> ในส่วนของชื่อโรงแรมได้ตั้งตามชื่อเมืองจำลองของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] อันแปลว่า "เมืองสวรรค์" ซึ่งแต่เดิมพระองค์เคยมีพระราชประสงค์ที่ต้องการจะสร้างเมืองแห่งประชาธิปไตย และให้ชื่อว่า [[ดุสิตธานี]] นั่นเอง ซึ่งการตั้งชื่อโรงแรมยังเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไปในตัว เนื่องมาจากพื้นที่ตั้งของโรงแรมตั้งอยู่ตรงข้าม[[สวนลุมพินี]] และมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่<ref>[https://becommon.co/world/dusit-thani-bangkok-ending/ ‘ดุสิตธานี’ จุดเริ่มต้น การดิ้นรน และอวสานของโรงแรมไทยที่กำลังจะเป็นตำนาน]</ref>
 
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2560 โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ได้เปิดดำเนินการให้กับชาวไทยและชาวต่างประเทศมาได้กว่า 47 ปี จนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 เครือดุสิตธานีได้ประกาศต่อสัญญาเช่าที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นระยะเวลา 30 ปี พร้อมกับระยะเวลาปลอดหนี้อีก 7 ปี และได้รับสิทธิ์ในการเช่าต่อเนื่องอีก 30 ปี รวมทั้งสิ้น 67 ปี<ref>[https://www.thairath.co.th/content/870950 รร.ดุสิตธานีต่อสัญญาเช่าที่อีก 30 ปี จับมือเซ็นทรัล ผุดมิกซ์ยูส]</ref> เครือดุสิตธานีจึงประกาศแผนพัฒนาและยกระดับโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรงแรมที่เป็นที่นิยมระดับโลก ด้วยการจับมือกับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบผสมขนาดใหญ่ (Mixed-use) ซึ่งประกอบไปด้วย โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่ อาคารที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน พื้นที่ค้าปลีก ขึ้นมาทดแทน<ref>[http://cpn.listedcompany.com/newsroom/010320170838000836T.pdf รายการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ - บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา]</ref>เพื่อตอบรับต่อการพัฒนาเมืองและย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร
บรรทัด 46:
ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค มีพื้นที่ประกอบทั้งหมดสี่ส่วน ประกอบด้วย
 
* ส่วนฐานอาคาร (Bare Shell) เป็นโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัล พาร์ค มีพื้นที่หลักเป็นห้างสรรพสินค้า และร้านค้าเฉพาะทางในกลุ่มเซ็นทรัล จำนวน 8 ชั้น (เหนือพื้นดิน 5 ชั้น ใต้ดิน 2 ชั้น และชั้นสวนสาธารณะ) พื้นที่รวม 80,000 ตารางเมตร โดยทำเป็นศูนย์การค้าลึกไปจนถึง[[สถานีสีลม]]ของ [[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]] มีทางเชื่อมต่อกับทางเดินลอยฟ้าไป[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม]] ที่[[สถานีศาลาแดง]] และชั้นบนสุดของอาคารออกแบบให้เป็นสวนสาธารณะ และลานกีฬากลางแจ้ง เสมือนขยายจากสวนลุมพินีออกมาเพิ่มเติม
* อาคารสำนักงานเซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิศเซส ความสูง 43 ชั้น พื้นที่รวม 90,000 ตารางเมตร ออกแบบในโทนสีเงิน และให้มุมมองโอบล้อมสวนลุมพินีทั้งหมด
* อาคารที่พักอาศัยดุสิต เรสซิเดนเซส และดุสิต พาร์คไซด์ จำนวน 389 ยูนิต สูง 69 ชั้น ออกแบบในโทนสีนาก ให้มุมมองสวนลุมพินีแบบกว้าง 360 องศา ยาวไปจนถึง[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]
* โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่ จำนวน 250 ห้อง สูง 39 ชั้น ออกแบบในโทนสีทองและนำสถาปัตยกรรมของโรงแรมเดิมทั้งหมดมาปรับใช้ใหม่ มีห้องจัดเลี้ยงที่เปิดมุมมองสวนลุมพินีแบบพาโนรามา และมีจุดชมวิวสวนลุมพินีบริเวณชั้นบนสุดของอาคาร