ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระทรวงยุติธรรม (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 177:
[[หมวดหมู่:กฎหมายไทย]]
 
กระทรวงยุติธรรม (ประเทศไทย) - วิกิพีเดีย
กระทรวงยุติธรรม (อังกฤษ: Ministry of Justice) เป็นกระทรวงหนึ่งในประเทศไทยก่อตั้งเมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 เดิมใช้ชื่อว่ากระทรวงยุตติธรรม[3]และมีการเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงยุติธรรมในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495[4]มี พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ (ปิ่ณฑ์ ปัทมสถาน)เป็น ปลัดกระทรวงยุตติธรรมคนสุดท้ายดำรงตำแหน่งวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2492 ถึง 11 มีนาคม พ.ศ. 2495 และเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมคนแรกดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 ถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2496[5] และในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2496[6] ได้มีการโปรดเกล้า สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นปลัดกระทรวงคนที่สอง มีภารกิจเป็นหน่วยงานหลักของกระบวนการยุติธรรม ในการดำเนินการเพื่อพัฒนากฎหมาย และระบบบริหารจัดการของ กระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นเอกภาพ โปร่งใส คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ช่วยเหลือและให้ความรู้แก่ประชาชนทางกฎหมาย ป้องกัน ปราบปราม แก้ไข ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รวมทั้งป้องกัน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมในสังคมและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การบังคับคดีแพ่ง บังคับคดีล้มละลาย บังคับคดีทางอาญา บำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด
 
ราชอาณาจักรไทย
กระทรวงยุติธรรม
ตรากระทรวงยุติธรรม1.png
ตราพระดุลพ่าห์
ที่ทำการ
ไทยศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ภาพรวม
วันก่อตั้ง 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 (128 ปี)
สืบทอดจาก กระทรวงยุตติธรรม 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 ถึง 11 มีนาคม พ.ศ. 2495
เขตอำนาจ ทั่วราชอาณาจักร
งบประมาณ 23,163.2447 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
รัฐมนตรี ดร.อนุชล กลยนี, รัฐมนเอกประจำกระทรวง
สมศักดิ์ เทพสุทิน, รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ผู้บริหารหลัก ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ, ปลัดกระทรวงยุติธรรม
พันตำรวจเอก ดุษฎี อารยวุฒิ, รองปลัดกระทรวง(1)
วิทยา สุริยะวงค์[2], รองปลัดกระทรวง(2)
พันตำรวจโท พงษ์ธร ธัญญสิริ, รองปลัดกระทรวง(3)
ประสาร มหาลี้ตระกูล, รองปลัดกระทรวง(4)
ลูกสังกัด ดูในบทความ
เว็บไซต์
MOJ.go.th
ต่อมาในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มีผลใช้บังคับ ส่งผลให้รัฐมนเอกเป็นผู้บริหารสูงสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานคณะกรรมการคุมประพฤติ ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธานกรรมการคุมประพฤติ[7]
 
รายนามปลัดกระทรวงยุตติธรรม
พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ (เชิญ ปริชญานนท์) พ.ศ. 2470 ถึง 1 มกราคม พ.ศ. 2478[8]
พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ (สุดใจ ไกรจิตติ) 1 เมษายน พ.ศ. 2479 ถึง 1 มีนาคม พ.ศ. 2481[9]
พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงษ์ ลัดพลี) 1 เมษายน พ.ศ. 2482 ถึง 16 มกราคม พ.ศ. 2484[10]
พระยารักตประจิตธรรมจำรัส (เขียน รักตประจิต) 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ถึง 7 สิงหาคม พ.ศ. 2492
พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ (ปิ่ณฑ์ ปัทมสถาน) 8 สิงหาคม พ.ศ. 2492 ถึง 11 มีนาคม พ.ศ. 2495[11]
รายนามปลัดกระทรวง
1.พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ (ปิ่ณฑ์ ปัทมสถาน) 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2496[12]
2.ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ 23 มีนาคม พ.ศ. 2496 [13]ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2501
3.ศาสตราจารย์ กำธร พันธุลาภ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2501[14] - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2510
4.บรรจบ เสาวรรณ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2510[15] - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514[16]
5.ศาสตราจารย์พิเศษ บัญญัติ สุชีวะ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2514[17]ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[18]
6.ศาสตราจารย์ ประภาศน์ อวยชัย 1 ธันวาคม พ.ศ. 2517[19]ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2519
7.ศิริ อติโพธิ 1 มกราคม พ.ศ. 2519[20] ถึง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2525[21]
8.ศาสตราจารย์พิเศษ โสภณ รัตนากร 1 มิถุนายน พ.ศ. 2525[22] - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527[23]
9.เธียร เจริญวัฒนา 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2527[24] ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2528
10.สวัสดิ์ โชติพานิช 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528[25] ถึง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533[26]
11.ประมาณ ชันซื่อ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2533 ถึง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534[27]
12.ประเสริฐ บุญศรี 2 ตุลาคม พ.ศ. 2534[28] ถึง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2535
13.จรัญ หัตถกรรม 7 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ถึง 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535(รักษาราชการแทน)
14.สุประดิษฐ์ หุตะสิงห์ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2535[29] - 24 เมษายน พ.ศ. 2537[30]
15.กู้เกียรติ สุนทรบุระ 25 เมษายน พ.ศ. 2537[31]ถึง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540[32]
14.สุประดิษฐ์ หุตะสิงห์ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540[33]ถึง 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
16.สมชาย วงศ์สวัสดิ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2548[34]
17.จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548[35] ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2549
18.ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549[36]ถึง 1พฤษภาคม พ.ศ. 2551
19.ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[37] ถึง 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
20.พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557[38] ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2558
21.ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[39] ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (รักษาราชการแทน)
21.ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 [40]ถึง 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560[41]
22.ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึง ปัจจุบัน[42]
วิกฤตตุลาการ พ.ศ. 2535
เมื่อปี พ.ศ. 2535 ไดเกิดวิกฤตตุลาการ โดย วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ชุมนุมประท้วงที่เป็นตุลาการให้เป็น โฆษกฝ่ายกบฏตุลาการ[43]สืบเนื่องจากวันที่ 2 กันยายน คณะกรรมการตุลาการมีมติให้นาย ประวิทย์ ขัมภรัตน์ เป็นประธานศาลฎีกา ในการนี้ ประภาสน์ อวยชัย ได้ระงับมติดังกล่าวให้เหตุผลว่าเนื่องจากมีผู้เข้าประชุมไม่ครบองค์ประชุม ซึ่งนาย ประวิทย์ ขัมภรัตน์ ได้รับการสนับสนุนจาก โสภณ รัตนากร
 
และในวันที่ 3 ตุลาคม คณะกรรมการตุลาการ ได้มีมติ ให้ นาย ประเสริฐ บุญศรี เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม และ สวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานศาลฎีกา ต่อมาวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2536 คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีมติไม่เห็นด้วยกับการแต่งตั้ง ปลัดกระทรวงยุติธรรมและประธานศาลฎีกา ของ ประภาสน์ อวยชัย นำมาสู่การชุมนุมครั้งใหญ่ของผู้พิพากษาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ที่แยกราชประสงค์[44] ก่อนเลิกชุมนุมและรับมติคณะกรรมการตุลาการ[45]
{{Coord|13|52|52.92|N|100|33|53.89|E|type:landmark|display=title}}