ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมชาย แสวงการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hakim dorloh (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41:
หลังเกิดการปฏิวัติรัฐประหาร ในปี พ.ศ. 2549 สมชายได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จากสายวิชาชีพสื่อมวลชนในปี พ.ศ. 2549 หลังได้รับการแต่งตั้งเป็น สนช. สมชายจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เพื่อเป็นการรักษาระยะห่างระหว่างการทำหน้าที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและการทำงานของสมาคมฯ ในฐานะองค์กรวิชาชีพสื่อวิทยุโทรทัศน์ที่จะต้องติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและฝ่ายต่าง ๆ ในสังคม
 
ในปี พ.ศ. 2551 สมชายได้รับการสรรหาให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาสรรหา ภาควิชาชีพ โดยมีมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิดเป็นผู้ส่งเข้ารับการสรรหา ในช่วงที่ทำหน้าที่ ได้ผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชนหลายฉบับ อาทิ พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ซึ่งก่อให้เกิดสถานีโทรทัศน์สาธารณะเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เป็นสถานีโทรทัศน์ "ไทยพีบีเอส" ในปัจจุบัน,พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550, พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551, พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553, พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ประธานคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงและติดตามความคืบหน้าทางคดีของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ทางการเมือง กรณีการเสียชีวิต พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.21 รอ.) และเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง 10 เม.ย. 2553
 
ในปี พ.ศ. 2554 สมชายยังได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาอีกครั้ง เป็นสมัยที่ 2 เป็นการต่อเนื่อง โดยมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์เป็นผู้เสนอชื่อเข้ารับการสรรหา รับหน้าที่สำคัญ ๆ ทั้งการกลั่นกรองกฎหมาย และการตรวจสอบ อาทิ โฆษกกรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา 2551-2557 ,กรรมาธิการคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา 2554-2557255 ,กรรมการคณะกรรมการพัฒนาระบบงานกฎหมาย วุฒิสภา 2556 ประธานคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิทางการเมือง 2555-2556 เป็นต้น ช่วงปลายปี 2556 ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองและการใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม มีปัญหาทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ต่อมารัฐบาลจะประกาศยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 แต่ด้วยความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างนำไปสู่การคัดค้านการเลือกตั้ง ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เป็นโมฆะ สมชายได้ร่วมกับ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา และสมาชิกวุฒิสภา ร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศ  โดยได้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากหลายองค์กร และมีความเห็นตรงกันให้วุฒิสภาทำการแก้ไขวิกฤติชาติ เพื่อยับยั้งความเสียหาย ด้วยการเรียกร้องไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ
 
1.ให้มีการแก้ไขวิกฤติชาติ โดยคืนความสงบสุข ความสมานฉันท์ของคนในชาติ ด้วยการจัดให้มีปฏิรูปประเทศทุกด้าน ซึ่งต้องมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีอำนาจเต็มเพื่อดำเนินการ
บรรทัด 68:
== ประสบการณ์การทำงาน ==
*สมาชิกวุฒิสภา 2562- ปัจจุบัน
*[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557|สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]
 
* สมาชิกวุฒิสภา 2554-2557