ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8683247 โดย Magnamonkun: ย้อนรวดเดียวด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 332:
รถไฟฟ้าสายสีชมพูมีแผนต่อขยายสายทางจากสถานีศรีรัช เป็นสายแยกเข้าสู่[[เมืองทองธานี]]ในชื่อ "อิมแพ็คลิงก์" ซึ่งเป็นข้อเสนอพิเศษจากกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ โดยเส้นทางจะเริ่มจากสถานีศรีรัช วิ่งเข้าสู่ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 (ซอยเข้าศูนย์ประชุมอิมแพ็ค) ใต้[[ทางพิเศษอุดรรัถยา]] ไปจนสุดพื้นที่[[ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี]] ระยะทาง 3.7 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น 2 สถานี คือสถานีอิมแพ็คชาเลนเจอร์ และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี
 
นอกจากนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยยังได้ทำการศึกษาเส้นทางเดินรถเพิ่มเติมอีก 2 ส่วนเพื่อเสนอให้[[สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร]] หรือ สนข. บรรจุลงใน[[โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง|แผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2)]] โดยเส้นทางส่วนต่อขยายที่ได้ศึกษาส่วนแรกจะต่อขยายจากปลายสายทางบริเวณสถานีมีนบุรีไปตามแนว[[ถนนร่มเกล้า]] ตัดผ่าน[[ถนนเจ้าคุณทหาร]] [[ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7]] (มอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ - ชลบุรี) [[ถนนลาดกระบัง]] และไปสิ้นสุดที่[[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] เชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน]] [[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] และ[[รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน]] ระยะทาง 8.7 กิโลเมตร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเพื่อให้ผู้โดยสารจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งส่วนมากมาจากต่างจังหวัด สามารถเดินทางเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครตอนเหนือได้อย่างรวดเร็ว และส่วนที่ 2 จะเป็นส่วนต่อขยายของสายแยกอิมแพ็คลิงก์ จากปลายทางบริเวณสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี ไปตามแนวซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 และไปสิ้นสุดที่[[ถนนติวานนท์]] ระยะทาง 2.1 กิโลเมตร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าสู่ถนนติวานนท์ ตลอดจนภายในบริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมชนที่ประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น
 
== อ้างอิง ==