ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มส่วนนำ
บรรทัด 47:
}}
 
'''สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม''' ({{lang-en|Mammal}}; จาก[[ภาษาละติน]] ''mamma'' "หน้าอก") เป็นกลุ่ม[[สัตว์]][[สัตว์มีกระดูกสันหลัง|มีกระดูกสันหลัง]]ที่ประกอบขึ้นเป็นชั้น '''Mammalia''' สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีลักษณะเด่น ได้แก่ มี[[ต่อมน้ำนม]]ที่พบในเพศเมีย (หรือพบได้ในเพศผู้เป็นบางครั้ง<ref>{{cite web|last1=Swaminathan|first1=Nikhil | name-list-format = vanc |title=Strange but True: Males Can Lactate|url=https://www.scientificamerican.com/article/strange-but-true-males-can-lactate/|website=Scientific American|language=en}}</ref>) ทำหน้าที่ผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน<ref>[http://www.dlf.ac.th/dltv/dltv-uploads/libs/html/161/animal/mama.html ลักษณะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]</ref> มี[[คอร์เทกซ์ใหม่]] (บริเวณหนึ่งของสมอง) มี[[ขนสัตว์]]หรือ[[เส้นผม]] และมี[[กระดูกหู]]ชั้นกลางสามชิ้น ลักษณะเด่นดังกล่าวจำแนกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมออกจาก[[สัตว์เลื้อยคลาน]]และ[[สัตว์ปีก]] ซึ่งสัตว์ทั้งสามกลุ่มนั้นเบนออกจากกันเมื่อ 201–227 ล้านปีก่อน ในช่วงปลายยุคไทรแอสซิก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีอยู่ประมาณ 5,450 [[สปีชีส์|ชนิด]] [[อันดับ (ชีววิทยา)|อันดับ]]ที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ [[อันดับสัตว์ฟันแทะ]], [[อันดับค้างคาว]] และ[[อันดับตุ่น]] สามอันดับขนาดรองลงมาได้แก่ [[อันดับวานร]] ([[เอป]], [[ลิง]] และอื่น ๆ), [[อันดับสัตว์กีบคู่]] ([[อันดับวาฬและโลมา|วาฬ–โลมา]] และสัตว์กีบคู่อย่าง[[ยีราฟ]]) และ[[อันดับสัตว์กินเนื้อ]] ([[แมว]], [[หมา]], [[แมวน้ำ]] และอื่น ๆ)
'''สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม''' ({{lang-en|Mammalia}}) จัดอยู่ใน[[ไฟลัม]][[สัตว์มีแกนสันหลัง]] โดยคำว่า ''Mammalia'' มาจากคำว่า ''Mamma'' ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมี[[ระบบประสาท]]ที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อม<ref name="สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม">สัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]], 2547, หน้า 411</ref> มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมี[[ต่อมน้ำนม]]ที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด<ref>[http://www.dlf.ac.th/dltv/dltv-uploads/libs/html/161/animal/mama.html ลักษณะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]</ref> เป็น[[สัตว์เลือดอุ่น]] มีขนเป็นเส้น ๆ '' (hair) '' หรือขนอ่อน '' (fur) '' ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้น[[สัตว์น้ำ]]ที่ไม่มีขน
 
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเป็น[[สัตว์เลือดอุ่น]]เช่นเดียวกับ[[สัตว์ปีก]] ลักษณะนี้วิวัฒนาการอย่างเป็นอิสระจากกันระหว่าง[[ชั้น (ชีววิทยา)|ชั้น]]ทั้งสอง และเป็นตัวอย่างหนึ่งของ[[วิวัฒนาการเบนเข้า]] สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อม<ref name="สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม">สัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]], 2547, หน้า 411</ref>
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับ[[นก]] ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และ[[ปลา]]อีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้ง[[แมลง]]อีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น [[สุนัข]] [[ช้าง]] [[ลิง]] [[เสือ]] [[สิงโต]] [[จิงโจ้]] [[เม่น]] [[หนู]] ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ [[โลมา]] [[วาฬ]] [[มานาที]]และ[[พะยูน]] ซึ่ง[[กระรอกบิน]]และ[[บ่าง]]นั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้น[[ตุ่นปากเป็ด]]และ[[อีคิดนา]]เท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่
 
ในทาง[[แคลดิสติกส์]] ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติวิวัฒนาการ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเป็นสมาชิกเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ของเคลด[[ไซแนปซิดา]] เคลดนี้และ[[เซารอปซิดา]]รวมกันเป็นเคลด[[แอมนิโอตา]]ที่ใหญ่กว่า บรรพบุรุษไซแนปซิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเป็น[[เพลิโคซอร์]]จากเคลด[[สเฟนาโคดอนเทีย]] อันเป็นกลุ่มที่รวมถึง''[[ไดมีเทรอดอน]]''ที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เมื่อสิ้นสุด[[ยุคคาร์บอนิเฟอรัส]]ประมาณ 300 ล้านปีก่อน กลุ่มนี้เบนออกจากสาย[[เซารอปซิดา]]ที่นำไปสู่สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีกในปัจจุบัน สายนี้ตามกลุ่มสเตมสเฟนาโคดอนเทียได้แยกออกเป็นกลุ่มที่หลากหลายของไซแนปสิดที่ไม่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (บางครั้งอ้างอิงอย่างผิด ๆ ว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม) ก่อนที่จะเกิดสัตว์กลุ่ม[[เธอแรปซิด]]ใน[[ยุคไซซูราเลียน|ยุคเพอร์เมียนตอนต้น]] อันดับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในปัจจุบันกำเนิดขึ้นใน[[ยุคพาลิโอจีน]]และ[[ยุคนีโอจีน|นีโอจีน]]แห่ง[[มหายุคซีโนโซอิก]] หลัง[[เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลิโอจีน|การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ที่ไม่ใช่สัตว์ปีก]] และกลายเป็นกลุ่มสัตว์บกที่ครองพื้นที่มาตั้งแต่ 66 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน
 
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีรูปร่างพื้นฐานเป็น[[การเดินด้วยสี่เท้า|สัตว์สี่เท้า]] (Quadruped) และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนมากใช้ส่วนปลายทั้งสี่นี้ใน[[การเคลื่อนที่บนบก]] แต่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด ส่วนปลายดังกล่าวปรับตัวใช้[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล|ในทะเล]] [[สัตว์บินและร่อน|บนอากาศ]] [[การเคลื่อนที่บนต้นไม้|บนต้นไม้]] [[ฟอสซอเรียล|ใต้ดิน]] หรือ[[การเดินด้วยสองเท้า|ด้วยสองขา]] สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีขนาดตั้งแต่[[ค้างคาวคุณกิตติ]]ขนาด 30–40 มิลลิเมตร (1.2–1.6 นิ้ว) จนถึงวาฬสีน้ำเงินขนาด 30 เมตร (98 ฟุต) ซึ่งอาจเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีชีวิตมา ช่วงชีวิตสูงสุดแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2 ปีของ[[หนูผี]]จนถึง 211 ปีของ[[วาฬหัวคันศร]] สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั้งหมดในปัจจุบันออกลูกเป็นตัว ยกเว้น[[โมโนทรีม]]ห้า[[ชนิด]]ที่ออกลูกเป็นไข่ กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีสปีชีส์มากที่สุด คือ [[พลาเซนทาเรีย]] ซึ่งมี[[รก]]ที่ทำหน้าที่เลี้ยงตัวอ่อนระหว่าง[[ระยะมีครรภ์|ที่อยู่ในครรภ์]]
 
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนมาก[[การรับรู้ในสัตว์|ฉลาด]] โดยมีสมองขนาดใหญ่ มี[[การรับรู้ตนเอง]] และสามารถ[[การใช้อุปกรณ์ในสัตว์|ใช้อุปกรณ์]]ได้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสามารถสื่อสารและส่งเสียงได้ด้วยหลายวิธีการ รวมถึงการปล่อย[[คลื่นเสียงความถี่สูง]] [[อาณาเขต (สัตว์)|การสร้างอาณาเขตด้วยการปล่อยกลิ่นตัว]] [[การส่งสัญญาณเตือน]] [[การร้องเพลง]] และ[[การกำหนดวัตถุที่ตั้งด้วยเสียงสะท้อนในสัตว์|การกำหนดวัตถุที่ตั้งด้วยเสียงสะท้อน]] สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสามารถจัดระเบียบตัวเองให้เป็น[[สังคมฟิซชัน–ฟิวชัน]], [[ฮาเร็ม (สัตววิทยา)|ฮาเร็ม]] และ[[ลำดับขั้น]] แต่ก็สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวและครองอาณาเขต สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนมาก[[การมีตัวเมียหลายตัว|มีตัวเมียหลายตัว]] แต่บางชนิดอาจ[[การมีคู่ผสมพันธุ์ตัวเดียว|มีคู่เพียงตัวเดียวทั้งชีวิต]] หรือ[[การมีตัวผู้หลายตัว|มีตัวผู้หลายตัว]]
 
[[การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง|การปรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดให้เป็นสัตว์เลี้ยง]]โดยมนุษย์นั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญใน[[การปฏิวัติยุคหินใหม่]] และทำให้[[เกษตรกรรม]]เป็นแหล่งอาหารหลักของมนุษย์แทนที่[[คนเก็บของป่าล่าสัตว์|การเก็บของป่าล่าสัตว์]] เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในสังคมมนุษย์จากการเร่ร่อนเป็นการตั้งหลักปักฐาน ณ ที่ใดที่หนึ่ง และด้วยความร่วมมือระหว่างกลุ่มที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในท้ายที่สุดก็พัฒนาเป็น[[อารยธรรม]]แรก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เลี้ยงนั้นเป็นแรงงานสำหรับการขนส่งและเกษตรกรรม เป็นอาหารให้กับมนุษย์ (เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม) และเป็นผู้ให้ขนและหนังสัตว์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมยัง[[การล่าสัตว์|ถูกล่า]]และถูกจับมาแข่งขันเป็นกีฬา และยังใช้เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแบบในทางวิทยาศาสตร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมยังได้รับการพรรณนาใน[[ศิลปะ]]ตั้งแต่[[ยุคหินเก่า]] และยังปรากฏในวรรณกรรม, ภาพยนตร์, เรื่องปรัมปรา และศาสนา จำนวนสัตว์ที่ลดลงและการสูญพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจำนวนมากเป็นผลมาจาก[[การบุกรุกเข้าไปล่าสัตว์]]ของมนุษย์และ[[การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ]]ด้วย[[การทำลายป่า]]เป็นส่วนใหญ่
 
== วิวัฒนาการ ==