ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วลาดที่ 3 นักเสียบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
แก้คำอ่าน
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 25:
วลาด เซเปช มีพระนามอื่น คือ วลาดิสลาฟ ดรากูลา เป็นพระโอรสของ '''วลาด ที่ 2 ดรากูล''' ซึ่งพระราชบิดานั้นได้รับตรากล้าหาญ '''''Order of the Dragon''''' จาก [[สมเด็จพระจักรพรรดิซิจิสมุนด์แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|พระจักรพรรดิซิกิสมุนด์]]
 
ในวัยเยาว์ พระองค์และพระอนุชา '''ราดู ผู้รูปงาม''' (Radu Cel Frumos) ถูกส่งไปเป็นตัวประกันภายใต้จักรวรรดิออตโตมันในฐานะประเทศราช ต่อมาเมื่อพระราชบิดาของพระองค์คือ '''วลาดที่ 2''' และพระเชษฐา '''เมียร์ชาที่มีร์ชาที่ 2''' (Mircea II) ถูกพวกขุนนางภายใต้สังกัดฮังการีปลงพระชนม์ใน [[ค.ศ. 1447]] จักรวรรดิออตโตมันจึงพยายามกำจัดอิทธิพลของฮังการีโดยการส่งกองทัพมายึดวาลาเคีย และตั้งวลาดที่ 3 ในวัย 17 พรรษา เป็นเจ้าชายผู้ครองรัฐภายใต้อาณัติแห่งจักรวรรดิออตโตมัน แต่วลาดที่ 3 ก็ต้องเสียบัลลังก์
 
'''ฮุนยาดี ยานอช''' (Hunyadi János) ผู้สำเร็จราชการของฮังการี นำทัพเข้าพิชิตวาลาเคีย วลาดจึงเสด็จหนีไปประทับอยู่ที่มอลดาเวียกับ '''บ็อกดานที่บกดานที่ 2''' (Bogdan II) เจ้าชายแห่งมอลดาเวีย ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง ภายหลังบ็อกดานถูกลอบสังหารจากสงครามกลางเมือง วลาดจึงเสด็จหนีไปฮังการี ด้วยความที่ฮุนยาดีประทับใจในความรู้ความสามารถของวลาด และรู้ว่าวลาดมีความเกลียดชังต่อสุลต่านพระองค์ใหม่คือ [[สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2]] ฮุนยาดีจึงตั้งวลาดให้เป็นที่ปรึกษา หลังฮุนยาดีถึงแก่อสัญกรรม วลาดได้นำกำลังเข้ายึดวาลาเคียจาก '''วลาดิสลาฟที่ 2''' (Vladislav II) และขึ้นครองบัลลังก์
 
[[ค.ศ. 1459]] สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ได้ส่งทูตมาเรียกร้องบรรณาการจากวาลาเคีย วลาดปฏิเสธจะจ่ายบรรณาการ และสังหารทูตโดยการตอกตะปูกับผ้าโพกหัวให้ติดกับศีรษะ สุลต่านทรงพิโรธ และส่งทหารเข้าโจมตีวาลาเคียในปี [[ค.ศ. 1462]] ซึ่งวลาดได้รบแบบกองโจรและประสบความสำเร็จหลายครั้ง โดยครั้งที่สำคัญที่สุดคือการลอบโจมตีในกลางดึกที่ตรือโกวิชเต้ ซึ่งส่งผลให้ออตโตมานสูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามในภายหลังวลาดต้องพ่ายแพ้เพราะมีขุนนางไส้ศึกแปรพักตร์ ออตโตมานจึงสามารถเข้าพิชิตวาลาเคีย และตั้ง '''ราดู ผู้รูปงาม''' (Radu Cel Frumos) พระอนุชาของวลาด ซึ่งเป็นชาวมุสลิมและมีใจฝักใฝ่ต่อออตโตมัน ขึ้นบัลลังก์เป็นเจ้าชายแห่งวาลาเคีย วลาดเสด็จหนีไปขอความช่วยเหลือจากพันธมิตรของพระองค์คือฮังการี แต่แทนที่จะได้รับความช่วยเหลือ พระองค์กลับถูกจับกุมตัวโดย '''พระเจ้ามะติอัช''' (Corvin Mátyás) ซึ่งเป็นพระโอรสของฮุนยาดี ยานอช และเป็นพระมหากษัตริย์ฮังการี โดยสาเหตุของการจับกุมอาจเป็นไปได้ว่าพระเจ้ามะติอัชทรงไม่ประสงค์จะเปิดศึกกับออตโตมาน เนื่องจากพระองค์ทรงกำลังต้องการที่จะขยายอำนาจในยุโรปกลางมากกว่า จึงทรงแต่งจดหมายปลอมว่าวลาดมีใจฝักใฝ่ต่อออตโตมาน เพื่อแสดงถึงความชอบธรรมในการจับกุมตัววลาด
 
อย่างไรก็ตามในภายหลังพระเจ้ามะติอัชทรงต้องการแผ่ขยายอำนาจสู่ดินแดนวาลาเคีย จึงทรงปล่อยตัววลาดในปี [[ค.ศ. 1474]] และในปี [[ค.ศ. 1476]] พระองค์ได้ตัดสินใจที่จะสนับสนุนวลาดให้กลับไปยึดวาลาเคียอีกครั้ง วลาดสามารถยึดบัลลังก์จาก '''บาซารับ ลาโยตูเตอะ''' (Basarab Laiotă) ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งวาลาเคียพระองค์ใหม่ที่ฝักใฝ่ในออตโตมาน ได้สำเร็จ และปกครองบัลลังก์วาลาเคียเป็นสมัยที่ 3 แต่พระองค์ปกครองได้ไม่นาน ก็ได้ถูกสังหารลงในการรบกับออตโตมัน
 
== อ้างอิง ==