ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาปัตยกรรมร่วมสมัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chanathip Phothikaew (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Chanathip Phothikaew (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
สถาปัตยกรรมร่วมสมัยเน้นการใช้วัสดุและเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด เช่น ระบบโครงสร้าง Tube ซึ่งช่วยให้สามารถก่อสร้างอาคารที่มีความสูงและแข็งแรงกว่าอาคารส่วนใหญ่ที่สร้างในยุคก่อนหน้า อีกทั้ง[[การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย|การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ]] (Computer Aided Design: CAD) และการสร้างแบบจำลองสามมิติด้วยคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความแม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น
 
สถาปัตยกรรมร่วมสมัยตระหนักถึงการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านการออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงาน และใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนใหญ่ในกระบวนการก่อสร้าง อาคารร่วมสมัยส่วนมากมักใช้หน้าต่างขนาดใหญ่เพื่อรับแสงธรรมชาติแทนการใช้หลอดไฟ อาคารบางแห่งใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งติดตั้งอยู่เหนือหลังคาหรือดาดฟ้า
รูปแบบของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมีปรากฏให้เห็นทั่วโลก จึงอาจกล่าวได้ว่าสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมีความเป็นสากล ต่างจากสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่กระจุกอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบทวีปยุโรป อาคารร่วมสมัยที่มีชื่อเสียง ได้แก่ [[เซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์|เซี่ยงไฮ้ ทาวเวอร์]] (Shanghai Tower) ประเทศจีน, [[บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์]] (Burj Khalifa) ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, [[โรงอุปรากรซิดนีย์]] (Sydney Opera House) ประเทศออสเตรเลีย, [[ซีเอ็นทาวเวอร์|ซีเอ็น ทาวเวอร์]] (CN Tower) ประเทศแคนาดา
 
รูปแบบของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมีปรากฏให้เห็นทั่วโลก จึงอาจกล่าวได้ว่าสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมีความเป็นสากล ต่างจากกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่กระจุกอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบทวีปยุโรป อาคารร่วมสมัยที่มีชื่อเสียง ได้แก่ [[เซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์|เซี่ยงไฮ้ ทาวเวอร์]] (Shanghai Tower) ประเทศจีน, [[บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์]] (Burj Khalifa) ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, [[โรงอุปรากรซิดนีย์]] (Sydney Opera House) ประเทศออสเตรเลีย, [[ซีเอ็นทาวเวอร์|ซีเอ็น ทาวเวอร์]] (CN Tower) ประเทศแคนาดา
 
[[พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอ|พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลเบา]] (Guggenheim Bilbao Museum) ในประเทศสเปน เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนของสถาปัตยกรรมร่วมสมัย [[แฟรงก์ เกห์รี|แฟรงก์ โอเวน เกห์รี]] (Frank Owen Gehry) เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารแห่งนี้ ด้วยการใช้เส้นโค้งจำนวนมาก เพื่อสร้างความรู้สึกแก่ผู้พบเห็นถึงความเคลื่อนไหวและลื่นไหล มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการออกแบบและการก่อสร้าง วัสดุหลักอย่างไทเทเนียม หินปูน และกระจก ถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมความโดดเด่นของอาคาร รวมถึงมีการใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม