ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซาเรฟนาโซฟียา อะเลคเซยีฟนาแห่งรัสเซีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 62:
 
==สิ้นสุดอำนาจ==
[[ไฟล์:Sophia Alekseyevna, by Ilya Repin.jpg|thumb|left|ภาพเขียนของ[[อิลยา รีปิน]] ในปีค.ศ. 1879 เป็นภาพของซาเรฟนาโซฟียาในช่วงสิ้นสุดอำนาจ ประทับในห้องขังที่โนโวเดอวีชีคอนแวนต์ ตรงหน้าต่างมีศพพวกสเตลท์ซีแขวนห้อยอยู่ เป็นชะตากรรมสำหรับผู้ที่จะฟื้นฟูอำนาจของซาเรฟนา]]
ซาเรฟนาโซฟียา อะเลคเซยีฟนาทรงหลงอยู่ในอำนาจของตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และพระเจ้าซาร์ที่แท้จริงก็ทรงเจริญพระชันษาขึ้นรวมถึงทรงมีจุดยืนของพระองค์ในหลายปีผ่านมา พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ทรงมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงเรียกร้องให้โกลิตซินรายงานกิจการบ้านเมืองต่างๆให้พระองค์ได้ฟังทุกเรื่อง และ[[ตระกูลนาริชกิน]]ก็วางแผนมาอย่างเป็นระยะเวลานานเพื่อก้าวขึ้นสู่อำนาจ ในปีค.ศ. 1688 พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ทรงเริ่มสนับสนุนกลุ่มตระกูลของพระองค์ ในขณะที่ซาเรฟนาโซฟียาไม่ทรงมีอำนาจที่จะหยุดยั้งได้ในทันที ทรงทำได้แค่ดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป ในช่วงนี้ผู้สำเร็จราชการโซฟียาไม่ทรงสนพระทัยพระเจ้าซาร์วัยหนุ่ม ทรงปล่อยให้พระเจ้าซาร์ทำการฝึกฝนกองทหารพรีโอบราเซนสกีและเซเมนอฟสกี ณ พรีโอบราเซนสโก แม้นักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่า ซาเรฟนาโซฟียาทรงพยายามอย่างรอบคอบในการต่อต้านพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ และพยายามลบอำนาจของพระเจ้าซาร์ออกจากการเมือง แต่ถึงกระนั้นบทบาทของพระนางในช่วงนี้ยังไม่ชัดเจน ซาเรฟนาโซฟียาและพรรคพวกของพระนางวางแผนที่จะทำให้ซาเรฟนาโซฟียาได้ราชาภิเษกเป็นซารีนา และในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1687 ทรงพยายามชักชวนให้พวกสเตลท์ซียื่นคำร้องแทนพระนาง ซึ่งเป็นคำร้องขอให้พระนางขึ้นครองราชย์ แต่เมื่อไม่ได้รับการสนับสนุน ซาเรฟนาโวฟียาและพรรคพวกของพระนางก็รู้แล้วว่าอำนาจของพระนางกำลังลดน้อยลงในปี 1688 การก่อสงครามไคเมียทำให้เกิดการก่อจลาจลและความไม่สงบในมอสโก สถานการณ์กับแย่ลงมากขึ้นเมื่อพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ทรงอภิเษกสมรสกับ[[เยฟโดกียา โลพูคีนา]] ซึ่งถือว่าพระองค์พร้อมแล้วที่จะปกครองด้วยพระองค์เอง และพระเจ้าซาร์อีวานที่ 5 กลับมีพระราชธิดา ทำให้พระนางทรงหมดโอกาสในการเรียกราชบัลลังก์ให้แก่กลุ่มตระกูลของพระนาง ความตึงเครียดระหว่างสองฝ่ายการเมืองเริ่มทวีมากขึ้น จนกระทั่งพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มีพระชนมายุ 17 พรรษา เมื่อพระญาติวงศ์นาริชกินเรียกร้องให้ซาเรฟนาโซฟียาลงจากอำนาจ ชาโควีตีเสนอให้ซาเรฟนาโซฟียารีบตั้งตนขึ้นเป็น[[ซารีนา]]และพยายามให้พวกสเตลท์ซีก่อการจลาจลใหม่อีกครั้ง แต่พวกสเตลท์ซีส่วนใหญ่ถูกให้ออกไปจากศูนย์กลางมอสโก โดยไปอยู่ที่ชานเมืองคือย่าน[[เขตพรีโอบราเซนสโก]] และจากนั้นไปอยู่ที่[[โบสถ์ทรินิตีลาฟราแห่งเซนต์เซอร์จิอุส|โบสถ์ทรอตซี-เซอกีเยฟวา ลาฟรา]] ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระเจ้าซาร์หนุ่มประทับอยู่ ซาเรฟนาโซฟียาทรงทราบถึงอำนาจที่หลุดออกไปจากพระหัตถ์ พระนางจึงส่งขุนนางโบยาร์และพระอัครบิดรไปเข้าเฝ้าพระเจ้าซาร์ปีเตอร์เพื่อเชิญพระองค์มาพบปะพระนางผู้เป็นพระเชษฐภคินีที่เครมลิน พระเจ้าซาร์ทรงปฏิเสธโดยไม่ไว้พระพักตร์พระเชษฐภคินี พระองค์ยังทรงเรียกร้องให้ประหารชีวิตซาโควีตีและให้เนรเทศโกลิตซิน<ref name="Hughes, Lindsey"/>