ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เงือกน้ำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไตรศิระ (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: เงือกน้ำ เป็น๑ในเงือกชนิดเกาแก่ของไทย(สยาม) มีการบันทึกกล่า...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:23, 18 ธันวาคม 2562

เงือกน้ำ เป็น๑ในเงือกชนิดเกาแก่ของไทย(สยาม) มีการบันทึกกล่าวถึงไว้ในงานเขียนนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดี มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังทีปรากฏในเรื่อง โสวัตกลอนสวด[1] และยังปรากฏตัวในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดีเรื่องอื่น เช่น พระอภัยมณี[2] สุวรรณหงส์ และ ดาราวงศ์[3]

ลักษณะ

 
เงือกน้ำ[4]

เงือกน้ำของไทย(สยาม) มีลักษณะแตกต่างจากเงือกของยุโรปอย่างชัดเจน คือ นอกจากมีหางอย่างปลา ซึ่งบางกลุ่มให้ความเห็นว่าหางของเงือกนั้นควรมีลักษณะเหมือนหางของสิ่งมีชีวิตที่คล้ายปลา เช่น วาฬ โลมา รึ พยูน ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในน้ำแล้ว เงือกน้ำยังมีขาเหมือนมนุษย์ด้วย จึงทำให้แตกต่างจากเงือกของทางยุโรปอย่างชัดเจน


เงือกน้ำไม่ได้อาศัยอยู่ใต้น้ำ แต่จะอาศัยอยู่ตามถ้ำคูหาบนเกาะแก่งกลางมหาสมุทรและแหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นอีกข้อที่ทำให้เงือกน้ำแตกต่างจากเงือกของทางยุโรปที่อาศัยอยู่ใต้มหาสมุทร

อ้างอิง

รหัสลับสุนทรภู่: ไขปริศนา ‘ขา’ นางเงือก

สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา – ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม ๑ (ภาพที่ ๕๖) แผนที่โบราณ : แสดงภาพเขาไกรลาส

บทละครเรื่องดาราวงศ์

พระอภัยมณี

โสวัตกลอนสวด

  1. โสวัตกลอนสวด
  2. พระอภัยมณี
  3. บทละครเรื่องดาราวงศ์
  4. ที่มา ภาพจิตรกรรมเรื่อง สุวรรณหงส์ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่