ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
 
== ประวัติหน่วย ==
โดยมีนามหน่วยว่า กองพันทหารราบที่ 7 นามย่อว่า "ร.พัน.7" ตั้งอยู่ที่ สะพานแดง [[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]] ซึ่งเป็นที่ตั้งของ [[กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์|กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์]] ในปัจจุบัน ขึ้นการบังคับบัญชาโดยตรงกับ มณฑลทหารบกที่ 1 พ.ศ. 2484 กองทัพบกได้จัดตั้งกรมทหารราบที่ 2 ขึ้นใหม่ ได้แบ่งมอบกองพันทหารราบที่ 7 เป็นหน่วยขึ้นตรงของกรมทหารราบที่ 2 แต่ยังคงใช้นามหน่วยเดิม พ.ศ. 2488 กองทัพบกได้แปรสภาพ กรมทหารราบที่ 2 เป็นกรมทหารราบที่ 11 และได้แบ่งมอบให้ กองพันทหารราบที่ 7 เป็นกองพันทหารราบที่ 2 ขึ้นตรงต่อกรมทหารราบที่ 11 พ.ศ. 2492 กรมทหารราบที่ 11 ภายใต้การบังคับบัญชาของ พันเอก [[ถนอม กิตติขจร]] ได้รับการสถาปนาให้เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2492 ดังนั้น กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 จึงได้เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ และใช้นามหน่วยเต็มว่า "กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์" นามย่อว่า "ร.11 พัน.2 รอ." นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน 1 มิถุนายน 2495 ได้ย้ายที่ตั้งหน่วยจากสะพานแดงมาเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันเลขที่ 2 หมู่ที่ 3 [[ถนนพหลโยธิน]] แขวงอนุสาวรีย์ [[เขตบางเขน]] กรุงเทพมหานคร 10220 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประดับธงชัยเฉลิมพลที่ได้รับ คือ [[เหรียญรัตนาภรณ์]] ชั้นที่ 1 ซึ่งได้รับพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนามของทหารรักษาพระองค์
 
นอกจากนี้แล้ว กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ยังเป็นสถานที่ตั้งของ[[ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน]] (ศอฉ.) รวมถึงเป็นที่พักและบัญชาการของนาย[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] นายกรัฐมนตรี และนาย[[สุเทพ เทือกสุบรรณ]] รองนายกรัฐมนตรี ในเหตุการณ์[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553|การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี พ.ศ. 2553]] อีกด้วย <ref>''ลับลวงเลือด'' โดย วาสนา นาน่วม สำนักพิมพ์มติชน: กันยายน พ.ศ. 2553 ISBN 9789740206521</ref>