ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาหารเสริม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เคาะ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Teamswu327 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
 
ควรหลีกเลี่ยงอาหารเสริมส่วนใหญ่ และปกติบุคคลไม่ควรกิน[[สารอาหารรอง]]ยกเว้นบุคคลที่มีการขาดแสดงชัดเจน<ref name=enough>{{cite journal |author=Guallar E, Stranges S, Mulrow C, Appel LJ, Miller ER |title=Enough is enough: Stop wasting money on vitamin and mineral supplements |journal=Ann. Intern. Med. |volume=159 |issue=12 |pages=850–1 |date=December 2013 |pmid=24490268 |type=Editorial |doi=10.7326/0003-4819-159-12-201312170-00011}}</ref> บุคคลควรปรึกษาแพทย์ก่อน<ref>[http://www.nutrition.gov/dietary-supplements/questions-ask-taking-vitamin-and-mineral-supplements Questions To Ask Before Taking Vitamin and Mineral Supplements], Nutrition.gov, accessed 2013-12-22.</ref> มีข้อยกเว้นคือ [[วิตามินดี]] ซึ่งมีการแนะนำในประเทศ[[นอร์ดิก]]<ref>[http://www.norden.org/fi/ajankohtaista/uutiset/new-nordic-nutrition-recommendations-focus-on-quality-and-the-whole-diet New Nordic Nutrition Recommendations: Focus on quality and the whole diet], Norden.org 03.10.2013.</ref> เนื่องจากมีแสงแดดน้อย
 
== อาหารเสริม หมายถึงอะไร ? ==
'''อาหารเสริม (Complementary foods)''' ทางเภสัชกรรมหมายถึง อาหารที่ให้รับประทานเพิ่มเติมนอกเหนือจากอาหารหลัก (อาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ ที่ได้รับ 3 มื้อต่อวัน) โดยการให้อาหารเสริมมีวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพื่อช่วยให้สุขภาพแข็งแรง เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย หรือเพื่อช่วยให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตที่ดี เป็นต้น
 
อนึ่ง ในบทความนี้ จะกล่าวถึง อาหารเสริม “เฉพาะในคนทั่วไปเท่านั้น” ที่ไม่ใช่คนเจ็บป่วย/ผู้ป่วย ด้วยอาหารเสริมของผู้ป่วยแต่ละคน จะขึ้นกับแต่ละโรคของผู้ป่วยที่รวมถึงสุขภาพร่างกายด้วย ดังนั้นจึงแตกต่างกันในแต่ละกรณีโดยจะขึ้นกับคำแนะนำของ แพทย์ และพยาบาล ของผู้ป่วยที่จะแตกต่างกันเป็นรายผู้ป่วยไป
 
หมายเหตุ: ทางเภสัชกรรม “อาหารเสริม”จะแตกต่างกับ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary supplement)”โดยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ โดยจะมีส่วนประกอบของสารอาหาร และอาจมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น เอนไซม์ต่างๆ และ ใยอาหาร เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการดูแลสุขภาพ ไม่ใช่ผู้ป่วย แต่อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปมักเข้าใจว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และอาหารเสริม คืออย่างเดียวกัน และมักเรียกรวมๆว่า “อาหารเสริม”
 
== ประเภทของอาหารเสริม ==
อาหารเสริม แบ่งเป็นกี่ประเภท?
 
1. '''อาหารเสริม สำหรับทารก''' และเด็กเล็ก : เช่น ข้าวบด, ผักสุกบด เช่น ฟักทอง , ผลไม้สุก เช่น มะละกอสุก กล้วยน้ำว้าสุก, ตับบด
 
2. '''อาหารเสริม สำหรับหญิงตั้งครรภ์''' : เช่น ข้าว, นม, เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อปลา, ผักและผลไม้ที่หลากหลาย
 
3. '''อาหารเสริม สำหรับผู้สูงอายุ''' : เช่น ข้าวที่ผ่านการขัดสีน้อย ได้แก่ ข้าวกล้อง, นมเสริมแคลเซียม, ปลาเล็กปลาน้อย, ผักผลไม้ที่มีปริมาณกากใยอาหารสูง เช่น ผักบุ้ง สะเดา ผักคะน้า, เนื้อปลา
 
สำหรับเด็กโต และผู้ใหญ่ปกติ ซึ่งเป็นวัยที่สามารถกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ได้ครบในทุกมื้ออาหาร หรืออย่างน้อยในทุกวัน เป็นวัยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับอาหารเสริม เพราะสมารถกินอาหารได้ครบถ้วนทุกหมู่อาหารซึ่ง อาหารเสริมก็รวมอยู่ในอาหารหลักแต่ละมื้อแล้ว
 
== เลือกอย่างไรให้ปลอดภัย ? ==
วิธีสังเกต อาหารเสริม อย่างแรกต้องดูก่อนว่ามี อย.หรือเปล่า ถ้าไม่มีให้ทิ้งไปเลย เพราะของที่ถือว่าเป็นอาหารทุกชนิด ต้องมีอย.รับรอง อย.จะรับรองว่าอาหารตัวนี้ปลอดภัย ซึ่งอย.จะรับรองแค่ว่าอาหารตัวนี้ปลอดภัยนะครับ ไม่ได้รับรองสรรพคุณอะไร แต่ถ้าเป็นยาจะไม่มีอย. จะเขียนบนฉลากว่าเป็นตำรับยา มีเลขตำรับยา
 
อย่างที่สองให้ดูที่ฉลากว่าอาหารเสริมนั้นมีสรรพคุณว่าอย่างไร ส่วนใหญ่จะมีสรรพคุณทั่วไปว่าใช้บำรุงร่างกาย จะเขียนแค่นั้น แต่เวลาโฆษณาจะเป็นอีกแบบหนึ่ง มีการโม้ขึ้นมา กินแล้วขาว กินแล้วผอม จะสังเกตได้ง่ายๆ ว่าของไหนที่ไม่ได้มีสรรพคุณนั้นจริง จะจดทะเบียนเป็นอาหารเสริมแล้วอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง โดยไม่ได้ระบุในฉลากของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งจริงๆ ผิดตามพระราชบัญญัติโฆษณา
 
การที่อวดอ้างว่ากินแล้วทำให้หายโรค กินแล้วตื่นมากระปรี้กระเปร่า มีสุขภาพดี กินแล้วฉลาด ต้องดูด้วย อย่างบางบริษัทที่ใหญ่ระดับโลก เขาคงไม่กล้าโฆษณาเกินจริง เพราะเรื่องราวพวกนี้มันค่อนข้างรุนแรง ต้องมีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก พวกนี้จะไม่ค่อยโฆษณาเกินจริงเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเอง ส่วนมากจะเกินจริง ที่สำคัญเลยให้ดูที่ฉลากว่ามีสรรพคุณอะไร มีอย.รับรองหรือไม่
 
== เราจำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมหรือไม่ ? ==
ตอบเลยว่าไม่จำเป็น แต่ถ้าอยากกินก็กินได้ อย่างเช่นถามว่าคนเราต้องดื่มเหล้าหรือเปล่า แล้วแต่คน ถ้าอยากกินก็กินได้ แต่ไม่ใช่ว่ากินอาหารเสริมแล้วมันจะมีประโยชน์อะไรต่อร่างกาย ถ้าถามว่าควรกินเพื่อรักษาโรคอะไรบ้างอย่าง หรือเพื่อให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
 
== ข้อควรระวัง ==
เรื่องของการส่งผลเสียต่อร่างกาย อย่างแรกต้องดูว่าที่เรากินคืออะไร อย่างที่สองคือต้องดูปริมาณที่กินเข้าไป
 
ยกตัวอย่างเช่น วิตามินที่กินเข้าไป ถ้าเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำจะไม่ค่อยมีปัญหาในการกินเกิน เช่น วิตามินซี วันนี้กิน 100 มิลลิกรัม วันต่อมากิน 3000 มิลลิกรัม กินติดต่อกันไปสามเดือน ก็ไม่เป็นไร เพราะมันถูกขับออกทางปัสสาวะหมด ถ้าร่างกายนำไปใช้อย่างเพียงพอแล้ว ร่างกายมันไม่เก็บไว้ มันทิ้งหมด ถ้าเรากินเกินก็ไม่มีปัญหาเรื่องการสะสม ก็เหมือนเราไม่ได้กินอะไรไป
 
ส่วนวิตามินเอ ดี อี เค เป็นวิตามินชนิดที่ไม่ละลายในน้ำ ละลายในไขมันเท่านั้น แล้วร่างกายไม่ได้ขับไขมันออก น้ำร่างกายเราขับออกทางปัสสาวะ เหงื่อ ลมหายใจ แต่ไขมันไม่ได้ถูกขับออก เลยต้องถูกเผาผลาญออกเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้ากินวิตามินเอ ดี อี เคไปเรื่อยๆ มันสะสม และก่อให้เกิดโรคที่ผิดปกติ ไม่ควรกินเกินที่ควรจะกิน
 
== อ้างอิง ==
https://www.seedoctornow.com/all-you-need-to-know-about-supplement-supplement/
 
https://www.seedoctornow.com/all-you-need-to-know-about-supplement-supplement/
 
== อ้างอิง ==