ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
→‎องค์รัชทายาทหญิง: แก้ไขการสะกด
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ช่วงต้นรัชกาล: แก้ไขชื่อสถานที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 52:
จักรพรรดิคาร์ล พระราชบิดามิได้พระราชทานการศึกษาเรื่อง[[รัฐศาสตร์]]ให้แก่เจ้าหญิงมาเรีย ทำให้เจ้าหญิงทรงเรียนรู้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งก่อนสิ้นรัชกาลของพระราชบิดา 2 ปี การทหารและกลาโหมของประเทศได้อ่อนแอลงมาก ซึ่งหลังจากจักรพรรดิเสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าหญิงก็ได้ทรงเข้าพิธีเถลิงวัลย์ราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฮังการี ณ [[มหาวิหารเซนต์ มาร์ติน]] เมืองปอลโซนี (ปัจจุบันคือกรุง[[บราติสลาวา]] เมืองหลวงของ[[ประเทศสโลวาเกีย]]) พิธีเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมีขึ้นเมื่อวันที่ [[25 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2284]]
 
สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียยังคงมีอยู่เรื่อยมา เพราะเนื่องจาก[[พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย]]ได้ทรงนำกองทัพรุกรานหวังจะยึดครอง[[ซิลิไซลีเซีย]] ขณะที่[[ราชอาณาจักรบาวาเรีย|บาวาเรีย]] และ[[ราชอาณาจักรฝรั่งเศสเก่า|ฝรั่งเศส]]ได้ร่วมกันรุกรานดินแดนทางตะวันตกของออสเตรีย เพราะเนื่องจากปรัสเซียได้ให้บาวาเรียกับฝรั่งเศสรุกรานออสเตรีย พระเจ้าฟรีดริชจึงได้พระสมญานามว่า เฟรเดอริกมหาราช (Frederick The Great) พระองค์จึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของจักรพรรดินี อย่างไรก็ตาม พระองค์ก็ทรงเพ่งจุดเด่นไปยังนโยบายทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกเพื่อการต่อสู้กับปรัสเซีย เป็นเหตุให้ออสเตรียชนะสงครามในที่สุด ปรัสเซียก็ได้รับความพ่ายแพ้ไป อีกทั้งกษัตริย์แห่งปรัสเซียก็ทรงยอมรับพระองค์ในฐานะองค์พระประมุขหญิงแห่งอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ทำให้[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ได้แผ่นดินคืน หลังจากที่เคยถูกยึดไป และได้มีการทำ[[สนธิสัญญาอิกส์-ลา-ชาแปลล์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2291]] โดยผลของสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว มีผลให้ฝรั่งเศสได้ให้ดินแดน[[ออสเตรีย-เนเธอร์แลนด์]] และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน จักรพรรดินีทรงยกดินแดน[[แคว้นปาร์มา|ปาร์มา]] [[ปิอาเซนซ่า]] และ[[กูแอสตาลล่า]]ให้กับ[[ดยุกฟิลลิปแห่งปาร์มา|เจ้าฟ้าชายเฟลิปเป้แห่งสเปน]] (ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นองค์พระประมุขแห่งปาร์มา)
 
หลังจากที่พ่ายแพ้จาก[[สงครามซิลิเซีย]]ครั้งที่ 1 และ 2 พระองค์ก็ทรงริเริ่มที่จะปฏิรูปอาณาจักรของพระองค์ให้ทันสมัย โดยทรงได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจาก[[ฟรีดริช วิลเฮล์ม ฟอน ฮอว์กวิทซ์]] สมุหนายกแห่งสภาจักรวรรดิ อย่างไรก็ตาม การพ่ายแพ้สงครามซิลิเซียได้ทำให้พระองค์ทรงมีกำลังพระทัยน้อยลง ที่จะเป็นองค์พระประมุขที่ดีได้ พระองค์ทรงเพิ่มจำนวนกำลังทหารและกองทัพถึง 200 เปอร์เซ็นต์ และทรงเพิ่มค่าภาษีเพื่อที่จะได้สร้างความมั่นใจของระบอบการเมืองการปกครอง และรัฐบาลที่มั่นคงของจักรวรรดิ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงรวมอำนาจของรัฐบาลมายังจุดศูนย์กลาง โดยทรงรวมระบอบสมุหนายกของออสเตรีย และโบฮีเมียซึ่งเคยถูกแบ่งแยก มารวมไว้ที่สำนักบริหารระบอบการปกครอง โดยก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงศาลสูงสุด เพื่อมีหน้าที่ดูแลความยุติธรรมในระบอบเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองของจักรวรรดิ