ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทะไลลามะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 11:
'''ประวัติความเป็นมาของ ดาไลลามะองค์ที่ 14'''
 
ดาไลลามะองค์ก่อนหน้านี้คือ สมเด็จพระทุบเท็น กยัตโส ดาไลลามะองค์ที่ 13 ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2419 สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2476 รวมอายุได้ 57 ปี เมื่อครั้งที่พระองค์ยังมีชีวิตอยู่ทรงเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและเป็นผู้นำทางการเมืองที่เปี่ยมด้วยเมตตากรุณายิ่งนัก ทรงเป็นคนเรียบง่ายไม่ถือพระองค์ แต่ทรงเข้มงวดในระเบียบวินัย ทรงเป็นนักวิชาการที่มองการไกล ทรงสนใจในเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประเทศธิเบตในสมัยที่พระองค์ปกครองอยู่นั้น เคยถูกรุกรานจนกระทั่งพระองค์ต้องลี้ภัยไปอยู่ในต่างประเทศถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกประเทศธิเบตถูกอังกฤษรุกรานเมื่อ พ.ศ. 2446 และครั้งที่สองถูกแมนจูรุกรานเมื่อ พ.ศ. 2453 ครั้งแรกนั้นอังกฤษถอยทัพกลับไปเอง ครั้งที่สองกำลังทหารของธิเบตสามารถขับไล่ทหารแมนจูออกไปได้
 
เมื่อครั้งที่ดาไลลามะองค์ที่ 13(สมเด็จพระทุบเท็น กยัตโส) สวรรคตลงเมื่อ พ.ศ. 2476 ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นคือ พระศพซึ่งเดิมหันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ กลับหันไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นไม่นานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งเป็นลามะชั้นสูงได้เห็นภาพจากสมาธิขณะเพ่งลงไปในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ในธิเบตตอนใต้ โดยเห็นเป็นอักษรธิเบต 3 ตัว สมมติให้เป็นตัวอักษร ไทยคือ “ อ,ก และ ม “ และเห็นภาพวัดเป็นตึก 3 ชั้นมีหลังคาสีฟ้าประดับลายทอง จากนั้นก็ปรากฏภาพทางเดินที่ขึ้นไปจากเชิงเขา สุดท้ายปรากฏเป็นภาพบ้านหลังเล็กๆที่มีรางน้ำรูปร่างแปลกๆ หลังจากนั้นรัฐบาลธิเบตได้จัดคณะค้นหาขึ้น เพื่อค้นหาสถานที่และแปลความหมายตัวอักษรทั้ง 3 ตัวที่ปรากฏในสมาธิของลามะชั้นสูง การค้นหาองค์อวตารของดาไลลามะองค์ที่ 13 จึงเริ่มขึ้น
 
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ปรึกษากับคณะค้นหาและลงความเห็นว่า อักษร “อ” น่าจะหมายถึง แคว้นอัมโด ซึ่งเป็นแคว้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของธิเบต ซึ่งเป็นทิศที่พระพักตร์หันไป จึงส่งคณะค้นหาไปตามทิศทางนั้น เมื่อมาถึง วัดกุมบุม ซึ่งตรงกับอักษรตัวที่สองคือ “ก” คณะผู้ค้นหาก็เริ่มมั่นใจว่ามาถูกทาง เมื่อเห็นลักษณะของวัดกุมบุมซึ่งมีลักษณะเป็นตึก 3 ชั้น มีหลังคาสีฟ้าตรงตามที่เห็นในสมาธิ และสิ่งที่พวกเขาต้องค้นหาต่อไปคือบ้านหลังเล็กๆที่มีรางน้ำรูปร่างแปลกๆ ซึ่งน่าจะอยู่ไม่ไกลจากวัดกุมบุมนัก พวกเขาเริ่มค้นหาในหมู่บ้านระแวกใกล้เคียงกับวัดกุมบุม จนกระทั่งมาถึงบ้านหลังเล็กๆหลังหนึ่งมีไม้สนคดงอเป็นรูปร่างแปลกๆใช้ทำเป็นรางน้ำตรงกับที่เห็นในสมาธิ พวกเขาเริ่มมั่นใจยิ่งขึ้นว่า ดาไลลามะองค์ที่ 13 ที่จะอวตารกลับชาติมาเกิดนั้นคงจะอยู่ในบ้านหลังนี้หรือไม่ก็คงจะอยู่ไม่ไกลจากที่นั่นเป็นแน่
บรรทัด 37:
ในครอบครัวของเด็กชายลาโมมี “ตุลกู" อีกคนหนึ่งคือ ทุบเท็น จิกเม นอร์บู ซึ่งได้รับการพิสูจน์และยอมรับว่าเป็น ลามะ ตักเซอร์ ริมโปเช่ ลามะชั้นสูงท่านหนึ่งกลับชาติมาเกิด และต่อมาเขาได้ไปอยู่ที่วัดกุมบุมอันเป็นวัดที่ลามะ ตักเซอร์ ริมโปเช่ เคยอยู่เมื่อในอดีตชาติ
 
มารดาของเด็กชายลาโม(ดาไลลามะองค์ที่ 14) เล่าถึงเรื่องราวการจำอดีตชาติได้ของเด็กชายลาโมว่า เด็กชายลาโมป็นเด็กที่มีความเมตตาสูง ชอบช่วยเหลือผู้คนโดยเฉพาะคนที่อ่อนแอกว่า เขาชอบเก็บข้าวของลงกระเป๋าเดินทางโดยบอกว่า “ฉันจะไปลาซา” เวลาที่กินข้าวกับครอบครัวเขาจะนั่งหัวโต๊ะเสมอและไม่ยอมให้ใครถือชามอาหารนอกจากมารดา สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่แสดงว่า เด็กชายลาโมจำอดีตชาติได้ แต่มารดาของเด็กชายลาโมคิดไม่ถึงว่าเด็กชายลาโมจะเป็น ดาไลลามะองค์ที่ 13 กลับชาติมาเกิด และคิดไม่ถึงว่าในครอบครัวจะมี “ตุลกู” ถึงสองคน (มารดาของ ดาไลลามะองค์ที่ 14 ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2524)
 
ดาไลลามะองค์ที่ 14 ทรงเล่าเรื่องราวการจำอดีตชาติของท่านไว้ในหนังสืออัตชิวประวัติของตัวท่านเองว่า ปัจจุบันนี้ท่านจำเรื่องราวในอดีตไม่ค่อยได้แล้ว เพราะว่าเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นในขณะที่ท่านยังเด็กมาก เท่าที่พอจำได้ก็เป็นเรื่องราวที่มารดาของท่านเล่าให้ท่านฟังเมื่อตอนที่ท่านโตแล้วเท่านั้น เมื่อกล่าวถึงการที่ท่านลืมเรื่องราวในอดีตชาตินั้น ท่านเองคิดว่าอาจมีสาเหตุมาจากการที่ท่านแอบกินกินไข่ ซึ่งโบราณเชื่อว่าคนที่จำอดีตชาติได้ถ้ากินไข่แล้ว จะทำให้ลืมเรื่องราวในอดีตชาติ ซึ่งท่านได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “อาตมาถูกห้ามไม่ให้รัปทานอาหารบางชนิดเช่น ไข่ และ หมู จำได้ว่าครั้งหนึ่ง ยอปเค็นโป ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จับได้ว่าอาตมาเสวยไข เขาตกใจมากพอๆกับอาตมา” โดยส่วนตัวของท่านเอง ท่านไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องราวในอดีตชาติมากนัก เพราะท่านลืมไปมากแล้ว แต่เรื่องราวในช่วงที่ท่านจำความได้นั้น มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ท่านรู้สึก มีความผูกพันกับอดีตชาติของท่านดังเช่น