ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Firstmeowwhite (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 251:
เมื่อ พล.ต.อ.เผ่า  ศรียานนท์  ได้ก่อสร้างโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ที่ อ.สามพราน  จว.นครปฐม  ได้ให้ พ.ต.อ.วิจิตร  สุกโชติรัตน์ ทำหน้าที่เป็นอนุศาสนาจารย์ และสอนวิชาจริยธรรมแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ  (พ.ต.อ.วิจิตร สุกโชติรัตน์  นั้นขณะครองสมณเพศ มีสมณศักดิ์ทางสงฆ์เป็นพระมหา)
 
ขณะก่อสร้างอาคารต่างๆภายในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ต.อ.วิจิตรฯ ได้ขอคำแนะนำจากพระเถระผู้ใหญ่ขอตั้งคำขวัญประจำชั้นปีของนักเรียนนายร้อยตำรวจ  เพื่อเป็นกุศโลบายและแนวทางในการอบรมปลูกฝัง นรต.   ซึ่งเมื่อก่อสร้างอาคารต่างๆเสร็จใน พ.ศ. 2497 ( นรต.รุ่นที่ 9,10,11)  ก็ได้ตั้งคำขวัญประจำชั้นปีของนักเรียนนายร้อยตำรวจติดไว้ประจำอาคารนอนของ นรต.ทั้ง 4 อาคาร   ดังนี้
 
นรต.ชั้นปีที่ 1 คำขวัญคือ '''“ขันตีอุตสาหะ”'''  หมายความว่า ให้ นรต.ชั้นปีที่ 1  ต้องมีขันติ คือความอดทน  และอุตสาหะ คือพากเพียรรับการฝึกหนัก   ต้องมุมานะอดทนในการเปลี่ยนชีวิตจากคนธรรมดาให้เป็นผู้ที่รับการฝึก
นรต.ชั้นปีที่ 2 คำขวัญคือ '''“วิจัยกรณี”''' หมายความว่า  จะต้องแยกแยะวิจัยกรณีต่างๆ เพื่อก้าวไปสู่ความก้าวหน้าในขั้นต่อๆไป
นรต.ชั้นปีที่ 3 คำขวัญคือ '''“รักษ์วินัย”'''  หมายความว่า  จะต้องรักษาระเบียบวินัยและขนบธรรมเนียมอันดีงามต่างๆ
นรต.ชั้นปีที่ 4 คำขวัญคือ '''“เกียรติศักดิ์”'''  หมายความว่า  จะต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติยศ ศักดิ์ศรี  รักษาเกียรติของตำรวจและสถาบันให้ดีที่สุด
 
คำขวัญของ[[นักเรียนนายร้อยตำรวจ]]นั้น เป็นกุศโลบายที่จะฝึกให้ นรต.มีคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่จะเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และกำลังจะสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งจะฝึกให้ นรต.รู้จักความเป็น "ผู้ใต้บังคับบัญชา"ที่ดีในชั้นปีที่ 1-2 และเป็น "ผู้บังคับบัญชา" ที่ดีในชั้นปีที่ 3-4 คำขวัญดังกล่าวมักจะถูกเรียกให้คล้องจองคือ '''"เกียรติศักดิ์ รักษ์วินัย วิจัยกรณี ขันตีอุตสาหะ"'''