ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 183.88.176.34 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Dejkung
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
change cats
บรรทัด 24:
== พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลไทย ==
สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้จารึกคำว่าสังฆราชไว้ด้วย
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นตำแหน่งสมณะศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ราชอาณาไทย ทรงเป็นองค์ประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งนี้น่าจะมีที่มาจากคณะสงฆ์ไทย นำแบบอย่างมาจาก ลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงอัญเชิญพระเถระผู้ใหญ่ของลังกา ที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย
 
ในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]] ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็น'''สกลมหาสังฆปริณายก''' มีอำนาจว่ากล่าวออกไปถึงหัวเมือง โดยมี[[สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์]] เจ้าคณะใหญ่ฝ่าย[[คามวาสี]] เป็นพระสังฆราชขวา [[สมเด็จพระวันรัต]]เจ้าคณะใหญ่ฝ่าย[[อรัญวาสี]] เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่า ก็ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในปลาย[[สมัยกรุงศรีอยุธยา]] พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่[[ประเทศศรีลังกา|ลังกาทวีป]] มีความชอบมาก เมื่อกลับมาได้รับ[[สมณศักดิ์]]สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช [[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์]]มีพระราชดำริให้คง[[ราชทินนาม]]นี้ไว้ จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี และมาเป็น '''สมเด็จพระอริยวงษญาณ''' ใน[[สมัยกรุงธนบุรี]] และได้ใช้ต่อมาจนถึง รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จึงได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น "[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ]]" ซึ่งได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
 
ตามทำเนียบสมณศักดิ์ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่มีตำแหน่งสังฆปริณายก 2 องค์ ที่เรียกว่า พระสังฆราชซ้าย/ขวา ดังกล่าวแล้ว ยังมีคำอธิบายอีกประการหนึ่งว่า '''สมเด็จพระอริยวงศ์''' เป็นพระสังฆราชฝ่ายขวาว่า คณะเหนือ '''พระพนรัตน์'''เป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้ายว่า คณะใต้ มี'''พระสุพรรณบัฏ'''จารึกพระนามเมื่อทรงตั้งทั้ง 2 พระองค์ แต่ที่สมเด็จพระพนรัตน์ โดยปกติไม่ได้เป็นสมเด็จ ส่วนพระสังฆราชฝ่ายขวานั้นเป็นสมเด็จทุกพระองค์ จึงเรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นมหาสังฆปริณายก มีศักดิ์สูงกว่าพระสังฆราชฝ่ายซ้าย ที่พระพนรัตน์แต่เดิม ทรงยกพระเกียรติยศเป็นสมเด็จแต่บางองค์ มาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] จึงเป็นสมเด็จทุกพระองค์
 
เมื่อครั้ง[[กรุงสุโขทัย]]เป็นราชธานี วิธีการปกครองพระราชอาณาจักรในครั้งนั้น หัวเมืองใหญ่ที่ห่างไกลจากราชธานี เป็นเมืองประเทศราชโดยมาก แม้เมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ราชธานี ก็ตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์เสด็จออกไปครองเมือง ทำนองเจ้าประเทศราช เมืองใหญ่แต่ละเมือง จึงน่าจะมีพระสังฆราชพระองค์หนึ่ง เป็นสังฆปรินายกของสังฆบริษัทในเมืองนั้น ดังปรากฏเค้าเงื่อนในทำเนียบชั้นหลัง ยังเรียกเจ้าคณะเมืองว่าพระสังฆราชอยู่หลายเมือง จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงเปลี่ยนมาเป็น[[สังฆปาโมกข์]]
 
พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คือฝ่ายที่พำนักอยู่ใกล้เมืองเพื่อศึกษา[[พระธรรมวินัย]] เรียกว่าคามวาสี อีกฝ่ายหนึ่งบำเพ็ญสมณธรรมในที่สงบเงียบตามป่าเขา ห่างไกลจากบ้านเมืองเรียกว่าอรัญวาสี [[ภิกษุ]]แต่ละฝ่ายยังแบ่งออกเป็นคณะ แต่ละคณะจะมี[[พระราชาคณะ]]ปกครอง หัวหน้าพระราชาคณะเรียกว่า[[สมเด็จพระราชาคณะ]]
 
[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนพระอิสริยยศสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เป็น '''[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า]]'''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/A/10.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า], เล่ม ๓๘, ตอน ๐ ก ,๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔, หน้า ๑๐ </ref> ทรงเศวตฉัตร 5 ชั้น พระราชวงศ์ชั้นรองลงมา เท่าที่ปรากฏ มีชั้นหม่อมเจ้าผู้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีคำนำหน้า พระนามว่า '''สมเด็จพระสังฆราชเจ้า''' ทรงฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชหนึ่งพระองค์ ตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ในการนี้ นายกรัฐมนตรีจะเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ แต่ถ้าสมเด็จพระราชาคณะดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ จะเสนอสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นตามลำดับสมณศักดิ์และความสามารถในการทำหน้าที่แทน
บรรทัด 102:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{wikisource|1=ลักษณะการปกครองประเทศไทยแต่โบราณ|2=การปกครองคณะสงฆ์ไทยแต่โบราณ|3=โดย กรมพระยาดำรงราชานุภาพ}}
 
 
{{สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์}}
{{สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย}}
 
[[หมวดหมู่:สมเด็จพระสังฆราชไทย| ]]
[[หมวดหมู่:อภิธานคำศัพท์ศาสนาพุทธ]]