ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญายูเทรกต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 8:
| type =
| date_drafted =
| date_signed = [[ค.ศ. 1713]]
| location_signed = [[ยูเทรกต์ (เมือง)|ยูเทรกต์]], [[สาธารณรัฐดัตช์]]
| date_sealed =
บรรทัด 16:
| signatories =
1. [[พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส]]<br />[[พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน]]
2. [[สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่]]<br />[[พระเจ้าวิตโตรีโอ อาเมเดโอที่ 2 แห่งซาร์ดิเนีย|ดยุกแห่งซาวอย]]<br />[[สาธารณรัฐดัตช์]]
|Result = End the [[War of the Spanish Succession]]; [[Sovereignty]] of national states established.
| parties =
บรรทัด 24:
| wikisource =
}}
'''สนธิสัญญายูเทรกต์''' หรือ '''สัญญาสันติภาพยูเทรกต์''' ({{lang-de|Friede von Utrecht}}, {{lang-en|Treaty of Utrecht หรือ Peace of Utrecht}}) เป็นเอกสาร[[สนธิสัญญาสันติภาพ]] (peace treaty) หลายฉบับที่ลงนามกันที่เมือง[[ยูเทรกต์ (เมือง)|ยูเทรกต์]]ใน[[สาธารณรัฐดัตช์]]ระหว่างเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนของปี [[ค.ศ. 1713]] เป็นการตกลงระหว่างรัฐต่าง ๆ ในยุโรปและช่วยในการยุติ[[สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน]]
 
สนธิสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างผู้แทนพระองค์[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส]]กับ[[พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน]] ฝ่ายหนึ่ง และผู้แทนพระองค์[[สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่]] [[พระเจ้าวิตโตรีโอ อาเมเดโอที่ 2 แห่งซาร์ดิเนีย|ดยุกแห่งซาวอย]] กับพระเจ้ากรุงโปรตุเกสและ[[สาธารณรัฐดัตช์|สหมณฑล]] อีกฝ่ายหนึ่ง
 
== การต่อรอง ==
ฝรั่งเศสและเกรตบริเตนทำการตกลงกันในเดือนตุลาคม [[ค.ศ. 1711]] เมื่อมีการลงนามในร่างสัญญาในกรุงลอนดอน การตกลงในระยะแรกมีพื้นฐานมาจากการยอมรับการแบ่งดินแดนในการปกครองของสเปนในยุโรป หลังจากนั้นก็ได้มีการประชุมคองเกรสอย่างเป็นทางการที่[[ยูเทรกต์ (เมือง)|ยูเทรกต์]]เมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1712 โดยมี[[จอห์น โรบินสัน (ค.ศ. 1650-1723)|จอห์น โรบินสัน]], บิชอปแห่งบริสตอล และ[[ทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1 (ค.ศ. 1672-1739)|ทอมัส เวนต์เวิร์ธ เอิร์ลที่ 1 แห่งสตราฟฟอร์ด]] เป็นผู้แทนฝ่ายอังกฤษ<ref>The staunch Tory Strafford was haled before a committee of Parliament for his part in the treaty, which the Whigs considered not advantageous enough.</ref> ฝ่าย[[สาธารณรัฐดัตช์]]ยอมรับข้อตกลงครั้งแรกอย่างไม่เต็มใจ และส่งผู้แทนแต่พระจักรพรรดิไม่ทรงยอมจนเมื่อได้รับคำสัญญาว่าข้อตกลงครั้งแรกเป็นแต่เพียงข้อตกลงแต่ยังไม่มีผลในการบังคับ เมื่อได้รับการสัญญาดังว่าแล้วผู้แทนของพระจักรพรรดิจึงปรากฏตัวในที่ประชุมในเดือนกุมภาพันธ์ ในเมื่อขณะนั้น[[พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน|พระเจ้าเฟลีเป]]ยังมิได้รับการอนุมัติให้เป็นกษัตริย์ สเปนจึงมิได้เข้าร่วมในการประชุมใหญ่ของภาคีทั้งหมด แต่ดยุกแห่งซาวอยและโปรตุเกสส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม
 
ปัญหาแรกที่ต่อรองกันคือเนื้อหาการการันตีที่ให้แก่ฝรั่งเศสและสเปนว่าราชบัลลังก์ของทั้งสองราชอาณาจักรเป็นสิ่งที่แยกจากกัน แต่ความก้าวหน้าของการประชุมก็เป็นไปอย่างเชื่องช้าจนกระทั่งหลังวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1712 เมื่อฟิลิปลงนามในการสละสิทธิ์ และเมื่อฝรั่งเศสและบริเตนตกลงกันในการทำสัญญาสงบศึกแล้ว ความก้าวหน้าของการประชุมก็เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น และในที่สุดสนธิสัญญาหลักต่าง ๆ จึงได้รับการลงนามกันเมื่อวันที่ [[11 เมษายน]] [[ค.ศ. 1713]]
 
== อ้างอิง ==