ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชอาณาจักรแห่งชนลอมบาร์ด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 49:
 
'''ราชอาณาจักรแห่งชนลอมบาร์ด''' หรือ '''ราชอาณาจักรแห่งชนลอมบาร์ด''' ({{lang-la|Regnum Langobardorum}}, {{lang-en|Kingdom of the Lombards หรือ Lombard Kingdom}}, ภาษาเยอรมันเก่า Langbardland) เป็น[[ราชอาณาจักร]]ใน[[ยุคกลางตอนต้น]]ที่ก่อตั้งโดยชน[[ลอมบาร์ด]]ที่ตั้งอยู่ใน[[คาบสมุทรอิตาลี]] ราชอาณาจักรแห่งชนลอมบาร์ดรุ่งเรืองระหว่างปี [[ค.ศ. 568]] และสิ้นสุดลงในปี [[ค.ศ. 774]] มีเมืองหลวงอยู่ที่[[Pavia|ปาเวีย]] (ต่อมา: [[มิลาน]] และ [[Monza|มอนซา]])
 
== ยุคเริ่มต้น ==
สามปีหลังการสวรรคตของ[[จักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1|จักรพรรดิจัสติเนียน]] อำนาจในการปกครองตอนเหนือของอิตาลีของ[[จักรวรรดิไบแซนไทน์]]สิ้นสุดเมื่อถูกชาวลอมบาร์ดรุกราน
 
ชื่อเรียกชาวลอมบาร์ด หรือ ''ลองกอบาร์ดี'' มีที่มามาจากการไว้เครายาว (ลองเบียร์ด) ชาวลอมบาร์ดเชื่อว่าตนเองมีจุดกำเนิดอยู่ใน[[สแกนดิเนเวีย]] ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 ชาวลอมบาร์ดอาศัยอยู่บริเวณตอนล่างของ[[แม่น้ำเอ็ลเบอ]] ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถิ่นอาศัยของชาวลอมบาร์ด คือ บริเวณ[[แม่น้ำดานูบ]] ในปี ค.ศ. 568 ชาวลอมบาร์ด 130,000 คน ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก ถูก[[ชาวอาวาร์]]ผลักดันทั้งจากทางเหนือและทางตะวันออกจนต้องเดินทางข้าม[[เทือกเขาแอลป์]]มาอาศัยอยู่ใน “[[แคว้นลอมบาร์เดีย|ล็อมบาร์เดีย]]”
 
ในตอนนั้นจักรวรรดิไบแซนไทน์กำลังติดพันอยู่กับชาวอาวาร์และ[[ชาวเปอร์เซีย]] ส่วนอิตาลีก็บอบช้ำจาก[[สงครามกอธิค (ค.ศ. 376-382)|สงครามกอทิค]] ไม่มีทั้งอาหารและเงินทุนในการต่อสู้ ในปี ค.ศ. 573 ชาวลอมบาร์ดเข้ายึดนคร[[เวโรนา]], นคร[[มิลาน|มิลาโน]], นคร[[ฟลอเรนซ์|ฟิเรนเซ]] และเมือง[[ปาวีอา]] โดยได้ตั้งเมืองปาวีอาเป็นเมืองหลวง จากนั้นเข้ายึดนคร[[ปาโดวา]]ในปี ค.ศ. 601, นคร[[เครโมนา]]และนคร[[มันโตวา]]ในปี ค.ศ. 603 ต่อด้วยนคร[[เจนัว|เจโนวา]]ในปี ค.ศ. 640
 
== ยุครุ่งเรือง ==
[[ไฟล์:Liutprand's Italy.svg|left|thumb|อาณาเขตของราชอาณาจักรลอมบาร์ดในปลายรัชสมัยของพระเจ้าลิวปรันด์ (ค.ศ. 744)]]
กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของความลอมบาร์ด คือ พระเจ้าลิวต์ปรันด์ (ค.ศ. 712-744) พระองค์ยึดนคร[[ราเวนนา]], นคร[[สโปเลโต]] และนคร[[เบเนเวนโต]] ทางตะวันออก ตอนกลาง และตอนใต้ของอิตาลีตามลำดับ ทรงหมายมั่นที่จะรวมอิตาลีทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียว แต่[[สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 3]] ไม่ต้องการให้ตำแหน่งพระสันตะปาปากลายเป็นเพียงตำแหน่งบิชอปของชาวลอมบาร์ดจึงส่งสาส์นถึงชาวเวนิซ เพื่อให้มายึดนครราเวนนาคืนให้ราชอาณาจักรไบแซนไทน์ พระเจ้าลิวต์ปรันด์เป็นกษัตริย์ที่ดีที่สุดที่เคยปกครองตอนเหนือและตอนกลางของอิตาลีนับตั้งแต่[[พระเจ้าธีโอดอริคมหาราช|พระเจ้าทีโอโดริกผู้เป็นชาวกอท]]สวรรคต แม้ว่าทั้งพระองค์และพระเจ้าทีโอโดริกต่างไม่รู้หนังสือทั้งคู่
 
ชาวลอมบาร์ดพัฒนาอารยธรรมของตนเอง กษัตริย์มาจากการคัดเลือกและมีสภาขุนนางคอยให้คำปรึกษา พระเจ้าราทารี (ค.ศ. 643) ออกประมวลกฎหมาย เพื่อปกป้องคนจนจากคนรวย, ดูหมิ่นความเชื่อเรื่องไสยเวทย์ และให้อิสรภาพในการประกอบพิธีกรรมแบบ[[โรมันคาทอลิก|คาทอลิก]], [[ลัทธิเอเรียส|เอเรียส]] และ[[ลัทธินอกศาสนา|เพแกน]] [[ชาวเจอร์แมนิก]]ผู้รุกรานใช้การแต่งงานกลืนสายเลือดและภาษาละตินของชาวอิตาลี ชาวลอมบาร์ดมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว คือ ตาสีฟ้า, ผมสีทอง, พูดภาษาอิตาลีปนศัพท์ติวโตนิก ในช่วงปลายยุคลอมบาร์ด นครทางตอนเหนือของอิตาลีมั่งคั่งและแข็งแกร่ง รุ่งเรืองทั้งด้านศิลปะและการสงคราม งานวรรณกรรมชะลอตัว แต่ชาวลอมบาร์ดเก่งด้านสถาปัตยกรรมและการเงิน สถาปัตยกรรมลอมบาร์ดต่อมาจะพัฒนาเป็น[[สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์]]
 
== ยุคสิ้นสุด ==
ในปี ค.ศ. 751 พระเจ้าไอส์เทิล์ฟแย่งชิงนครราเวนนามาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์และอ้างว่านคร[[โรม|โรมา]]เป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรของพระองค์ [[สมเด็จพระสันตะปาปาสตีเฟนที่ 2]] จึงร้องขอความช่วยเหลือจาก[[จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5|จักรพรรดิคอนสแตนตินอช โคปรอนนิมอช]] แต่จักรพรรดิกรีกไม่ได้แสดงท่าทีตอบโต้ใดๆ พระสันตะปาปาสตีเฟนจึงส่งคำร้องใหม่ไปถึง[[พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย|พระเจ้าเปแป็งผู้เตี้ยสั้น]] กษัตริย์แห่ง[[ชาวแฟรงก์]] พระเจ้าเปแป็งยกทัพข้ามเทือกเขาแอลป์และเอาชนะพระเจ้าไอส์เทิล์ฟได้อย่างท่วมท้น ลอมบาร์ดีกลายสภาพเป็นดินแดนศักดินาของชาวแฟรงก์ พระเจ้าเปแป็งได้ยกพื้นที่ตอนกลางของอิตาลีทั้งหมดให้สมเด็จพระสันตะปาปา แม้จะยังคงได้รับการรับรองจากพระสันตะปาปา แต่อำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในตอนเหนือของอิตาลีได้สิ้นสุดลง ในปี ค.ศ. 774 พระเจ้าเดซิเดริอุสพยายามกอบกู้อิสระภาพและพิชิตลอมบาร์เดียกลับคืนมา [[สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 1]] จึงเชิญจักรพรรดิ[[ชาร์เลอมาญ]]มาปราบเมืองปาวีอา พระเจ้าเดซิเดริอุสถูกจับโกนหัวส่งเข้าอาราม ราชอาณาจักรลอมบาร์ดจึงสิ้นสุดลงนับตั้งแต่นั้น และกลายสภาพเป็นมณฑลหนึ่งของชาวแฟรงก์อย่างสมบูรณ์
 
== อ้างอิง ==
 
* Durant, Will (1992). ''The Age of Faith: A History of Medieval Civilization''. MJF Books.
{{รายการอ้างอิง}}