ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางพิเศษประจิมรัถยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kaokong2542 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
}}
 
'''ทางพิเศษสายศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร''' เป็นทางพิเศษที่เชื่อมระหว่างฝั่งตะวันตกกับฝั่งตะวันออกของ[[กรุงเทพมหานคร]] และบางส่วนของ[[จังหวัดนนทบุรี]] แนวสายทางเริ่มจาก[[ถนนกาญจนาภิเษก]] (บริเวณใกล้โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ของ[[การประปานครหลวง]]) มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกผ่านถนนสวนผัก, [[ถนนราชพฤกษ์]] ข้าม[[คลองบางกอกน้อย]] ไปยัง[[สะพานพระราม 6]] ข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ไปยังบางซื่อ และไปเชื่อมต่อกับ[[ทางพิเศษศรีรัช]]บริเวณ[[สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)]] หรือหมอชิต 2 [[เขตจตุจักร]]<ref name="ศรีรัช-วงแหวน">{{cite web|url=http://new.exat.co.th/index.php/th/?option=com_zoo&task=item&item_id=10678&Itemid=1971 |title=ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร |publisher=[[การทางพิเศษแห่งประเทศไทย]] |date= 2 พฤศจิกายน 2559 |accessdate=24 มีนาคม 2561}}</ref><ref name="โครงข่าย">{{cite web|url=http://new.exat.co.th/index.php/th/โครงการ/โครงข่ายทางพิเศษที่เปิดให้ใช้บริการ.html |title=โครงข่ายทางพิเศษที่เปิดให้ใช้บริการ |publisher=[[การทางพิเศษแห่งประเทศไทย]] |date=26 ตุลาคม 2559 |accessdate=24 มีนาคม 2561}}</ref>
 
== ประวัติ ==
ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครสร้างขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่[[อำเภอบางกรวย]] [[จังหวัดนนทบุรี]] และ[[เขตทวีวัฒนา]] [[เขตตลิ่งชัน]] [[เขตบางพลัด]] [[เขตบางกอกน้อย]] [[เขตบางซื่อ]] และ[[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]] พ.ศ. 2555 โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องก่อสร้าง ทางพิเศษศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตทวีวัฒนา, เขตตลิ่งชัน, เขตบางพลัด, เขตบางกอกน้อย, เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค ในการนี้สมควรกำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจ และเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/016/4.PDF พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน พุทธศักราช 2555],ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 หน้า 4 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555.</ref>
 
== ลักษณะทางด่วน ==
* เขตทางด่วนมีความกว้างประมาณ 30 เมตร แบ่งออกเป็น 6 ช่องจราจร (ไปและไป–กลับอย่างละ 3 ช่องจราจร กว้างช่องละประมาณ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 1.50 เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 0.50 เมตร)
* เขตทางด่วนขึ้น - ลง (Main Line + Ramp) กว้างประมาณ 40-45 เมตร เฉพาะ Ramp กว้างประมาณ 10 เมตร (2 ช่องจราจร) ทางแยกต่างระดับ (Interchange กว้างประมาณ 200-300 เมตร)
* มีทางแยกต่างระดับ 3 บริเวณ ทางขึ้น - ลง 6 บริเวณ ประกอบด้วย