ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซุนนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ris24 (คุย | ส่วนร่วม)
สำนักหรือทัศนะเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา)
Ris24 (คุย | ส่วนร่วม)
สำนักหรือทัศนะเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา)
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 305:
* '''มัซฮับชาฟิอีย์''' เป็นที่นิยมของพลเมืองมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เยเมน และอียิปต์ เป็นต้น
* '''มัซฮับฮัมบะลีย์'''  นั้นถือเป็นมัซฮับอย่างเป็นทางการในประเทศซาอุดิอาระเบียและมีผู้นิยมน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับมัซฮับอื่น ๆ
*4 สำนักคิด(มัซฮับ) 1. มัซฮับหะนะฟีย์ ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดนี้ คืออิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺ[9] ซึ่งท่านดำรงชีวิตอยู่ใน 2 ยุค สมัยของราชวงค์อุมะวียะฮฺและสมัยราชวงค์อับบาสียะฮฺ ในสมัยของราชวงค์อุมะวียะฮฺ เขาถูกเสนอให้ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาแห่งนครกูฟะฮฺ แต่เขาปฏิเสธที่จะรับข้อเสนอดังกล่าว อันเนื่องมาจากท่านไม่พอใจต่อการปกครองของราชวงค์นี้ ผลการปฏิเสธดังกล่าวทำให้เขาถูกลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีด้วยแซ่วันละ 10 ครั้ง จนครบ 110 ครั้ง ถึงแม้ว่าอบู หะนีฟะฮฺถูกเฆี่ยนตี แต่เขาก็ยังปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งดังกล่าว จนกระทั่งในเวลาต่อมาได้รับการปล่อยตัว หลังจากนั้นไม่นาน อบู หะนีฟะฮฺ ถูกเสนอให้ท่านรับตำแหน่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบกองทุนทรัพย์สิน แต่เขาก็ปฏิเสธอีก และเขาเห็นว่าหากท่านดำรงชีวิตอยู่ในอิรักต่อไป คงไม่มีความปลอดภัย ก็เลยตัดสินใจอพยพไปสู่นครมักกะฮฺ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในอิรัก อำนาจการปกครองได้เปลี่ยนจากราชวงค์อุมะวียะฮฺเป็นราชวงค์อับบาสียะฮฺ คอลีฟะฮฺคนที่สองแห่งราชวงศ์นี้คือ อบู ญะฟัร อัล-มันซูร ได้ให้อบู หะนีฟะฮฺแสดงความเห็นต่อการปกครอง เขาจึงได้วิพากษ์วิจารณ์งานบริหารด้านต่าง ๆ การแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา จนสร้างความไม่พอใจแก่คอลีฟะฮฺอบู ญะฟัร อัล-มันศูร เป็นอย่างมาก ในที่สุดอบู ญะฟัร ก็ได้ใช้วิธีเดียวกันกับคอลีฟะฮฺในราชวงค์ก่อน โดยได้นําตัวอบู หะนีฟะฮฺจากนครกูฟะฮฺไปยังนครแบกแดดแล้วเสนอตำแหน่งผู้พิพากษาให้แต่เขา ปฏิเสธ ด้วยเหตุดังกล่าวอบู ญะฟัรได้สั่งให้ลงโทษอบู หะนีฟะฮฺด้วยการคุมขังท่านไว้โดยไม่มีกำหนด จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 767( ฮ . ศ . 150) มีอายุได้ 70 ปี กล่าวกันว่า เขาถูกวางยาพิษที่ละเล็กที่ละน้อยจนจบชีวิตในท้ายที่สุด อบู หะนีฟะฮฺเป็นปราชญ์ที่เคร่งครัด และเลือกปฏิบัติในสิ่งที่มีหลักฐานที่ชัดเจน เนื่องด้วยผู้ปกครองยุคนั้นต่างแสดงอำนาจบาตรใหญ่ แต่อบู หะนีฟะฮฺกลับปฏิบัติโดยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น ความรู้และความเข้าใจในกฎหมายอิสลามของอบู หะนีฟะฮฺ ได้รับความนิยมมากจนก่อตัวเป็นสำนักกฎหมายอิสลามขึ้นมาภายหลัง เรียกว่า มัซฮับหะนะฟียฺ สำนักคิดนี้ได้วางหลักเกณฑ์การวินิฉัยกฎหมายอิสลามโดยการพิจารณาแหล่งที่มาดังนี้ 1.อัลกุรอ่าน 2.วัจนะศาสดา 3.มตินักปราชญ์ 4.การเทียบเคียง 5.อิสเตียะซาน ผู้สืบทอดสำนักคิดของท่านสำคัญๆได้แก่ อบูยูซุฟ ยะอ์กูบ บิน อิบรอฮีม, มุฮัมมัด บิน อัลหะสัน อัชชัยบานีย์, ซุฟัร บิน ฮุซัยน์ บิน ก๊อยส์และ อัลหะสัน บินซิยาด อัลลุลุอีย์ เป็นต้น ตำราอ้างอิงสำคัญในสำนักคิดนี้เช่น อัลครอจ และ อิคติลาฟ อบีหะนีฟะฮ์ วะ อิบนุ อบีลัยลา เขียนโดย อบูยูซุฟ ตำรา อัล รอด อลา อะหลีมาดีนะฮ์ เขียนโดยมุฮัมมัด บิน อัลหะสัน อัชชัยบานีย์ ตำรา อัลกาฟีย์ เขียนโดยอบู อัลฟัคล์ เป็นต้น 2. มัซฮับมาลิกีย์ ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดนี้ อิหม่ามมาลิก[10] ท่านเริ่มการศึกษาด้วยการท่องจำอัลกุรอาน หลังจากนั้นก็เริ่มท่องจำหะดีษ ท่านได้ให้ความสำคัญกับหะดีษและวิชากฎหมายอิสลาม มาลิกได้ศึกษากับอาจารย์รวมทั้งสิ้น 900 คน อาจารย์ที่อิหม่ามมาลิกได้ศึกษาอยู่กับท่านนานที่สุดคือ อับดุร เราะหฺมาน อิบนฺ หุรมุก อัลอะอฺรอจ ซึ่งอิหม่ามาลิกใช้เวลาในการศึกษานานถึง 7 ปี มาลิกได้ใช้ชีวิตที่นครมาดีนะฮฺเป็นเวลานานพอสมควรและได้ทำการสอนหนังสือที่ นั้น ดังนั้นเขาจึงมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก และศิษย์ของมาลิกที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คืออัลชาฟีอียฺ มาลิกได้รับถูกทรมานอย่างหนักในสมัยของคอลีฟะฮอบูญะฟัร อัล-มันซูรแห่งราชวงค์อับบาสียะฮฺ สาเหตุที่ท่านถูกทรมานนั้นมีหลายบันทึกด้วยกัน บันทึกหนึ่งรายงานรว่ามาลิกได้บันทึกหะดีษที่ว่า “ผู้ถูกบังคับนั้นไม่ทำให้การกล่าวหาอย่าร้างภรรยาของเขามีผล” แต่ อบู ญะอฺฟัรอัลมันศูรไม่ต้องการให้หะดีษนั้นถูกบันทึกไว้เนื่องจากเกรงว่า ประชาชนจะไม่ให้การสนับสนุนคอลีฟะฮฺ หากประชาชนได้รับหะดีษบทนี้ เพราะหะดีษดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้ในการอ้างอิงอาจจะทำให้คอลีฟะฮมีผู้สนับสนุนน้อยลง มาลิกเป็นปราชญ์ที่ตรงไปตรงมา เขาไม่ยินยอมและยืนยันที่จะให้หะดีษนี้ถูกบันทึกไว้ ทำให้คอลีฟะฮฺไม่พอใจจึงต้องตัดสินลงโทษเขา ด้วยการเฆี่ยนตี มาลิกเสียชีวิตเมื่อปีค.ศ. 796 (ฮ.ศ .179) มีอายุได้ 83 ปี หลังการจากไปของเขาได้มีผู้สืบทอดสำนักคิดด้านกฎหมายที่เขาได้วางรากฐานไว้ จนก่อตัวเป็นสำนักใหญ่เรียกว่า มัซฮับ มาลิกีย์ สำนักคิดนี้ได้วางหลักเกณฑ์การวินิฉัยกฎหมายอิสลามโดยการพิจารณาแหล่งที่มาดังนี้ 1.อัลกุรอ่าน 2.วัจนะศาสดา 3.มตินักปราชญ์ 4.การเทียบเคียง 5.ข้อปฎิบัติชาวมดีนะห์ ผู้สืบทอดสำนักคิดของท่านสำคัญๆได้แก่ อับดุรรอมาน บิน อัลกอเส็ม อัลอะตีกีย์, อับดุลลอฮฺ บินวาฮับ บินมุสลิม , อัชฮับ บินอับดุลอาซิซ, อับดุลลอฮฺ บินอัลหะกัม และ มุฮัมมัด บินอับดุลลอฮฺ บินอัลหะกัม เป็นต้น ตำราอ้างอิงสำคัญๆในสำนักคิดนี้ได้แก่ อัลมุเดาวินะฮ์ อัลกุบรอ ของอิหม่ามมาลิก อัลมุนตะกอ ชัรฮ์ อัลมุวัฎเฎาะ โดยอิหม่ามอัลบาญี ชาวสเปน อัลมุก๊อดดีมาต โดยอิบนุรุชดี อัลกุรตูบีย์ บิดายะห์ อัลมุจตาฮิด ดดยอิหม่ามอิบนุรุชดี อัลฮาฟีด เป็นต้น 3. มัซฮับชาฟิอีย์ ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดนี้ คืออิหม่ามชาฟิอีย์ ท่านเกิดในครอบครัวที่มีฐานะยากจนแต่ท่านเป็นคนที่มีความมั่นใจสูงมากถึง แม้จะเติบโตในครอบครัวที่ยากจน ท่านต้องเป็นกำพร้านับตั้งแต่วัยเยาว์ เขาจึงได้เติบโตขึ้นท่ามกลางความแร้นแค้นแม้แต่ในวัยศึกษา เขาเป็นผู้มีความสามารถและมีมันสมองที่ดีเฉลียวฉลาด เขาสามารถท่องจำอัลกุรอ่านตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากนี้ยังได้ท่องจำหะดีษและจดบันทึกหะดีษไว้เป็นจำนวนมาก และมีความชำนาญด้านภาษาอาหรับ ต่อ มาก็มีผู้ชักชวนท่านให้ไปศึกษาวิชาการอิสลามโดยเฉพาะอย่างยิ่งทาง ด้านกฎหมายอิสลาม ท่านจึงได้เริ่มศึกษาด้านนี้ที่นครมักกะฮจนได้รับความรู้อย่างมากมาย จนกระทั่งมุสลิม อิบนฺ คอลิด มุฟตียฺ(ผู้พิพากษา)แห่งนครมักกะฮได้อนุญาตให้ท่านออกฟัตวา(ข้อชี้ขาดทางศาสนา)ได้แต่ท่านยังไม่พอใจในความรู้ของท่าน เขาจึงได้พยายามมุ่งมั่น ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป และเขาได้เดินทางไปศึกษาจากอิหม่ามมาลิกที่นครมะดีนะฮฺ จนกระทั่งอิหม่ามมาลิกเสียชีวิตไป นอกจากนี้เขายังได้ศึกษาจากครูอาจารย์อีกจำนวนมาก ท่านมีลูกศิษย์มากมาย ศิษย์คนสำคัญของท่านที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ อิหม่ามอะหฺมัด อิบนฺ หันบัล ท่านสิ้นชีวิตในปี ค.ศ. 820 (ฮ.ศ . 204 ) รวมอายุได้ 54 ปี แนวคิดด้านกฎหมายอิสลามของท่านมีผู้ดำเนินตามเป็นจำนวนมาก จนก่อตัวเป็นสำนักกฎหมายสำคัญ เรียกว่า มัซฮับ ชาฟิอีย์ สำนักคิดนี้ได้วางหลักเกณฑ์การวินิฉัยกฎหมายอิสลามโดยการพิจารณาแหล่งที่มาดังนี้ 1.อัลกุรอ่าน 2.วัจนะศาสดา 3.มตินักปราชญ์ 4.การเทียบเคียง ผู้สืบทอดสำนักคิดของท่านสำคัญๆได้แก่ ยูซุฟ บิน ยะหยา อัลบุวัยตีย์, อิสมาอีล บิน ยะหหยา อัลมุซะนีย์ และ อัรรอเบียะ บินสุไลหมาน อัลมุรอดีย์ชฮับ เป็นต้น ตำราอ้างอิงสำคัญๆในสำนักคิดนี้นอกจาก อัลอุม และอัรริซาละห์ของอิหม่ามชาฟิอีย์ได้แก่ อัลมุฮัซซับ ของอิหม่ามอัชไชรอซีย์ มุฆนีย์ อัลมุหตาจ ของอัชชัรบีนีย์ อัลคอเตบ หนังสือ นีฮายาตุลมุหตาจ ของชัยค์รอมลี เป็นต้น 4. มัซฮับฮัมบาลีย์ ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดนี้อิหม่ามชาฟิอีย์อิหม่าม อะหฺมัด อิบนุฮัมบัล[12] ท่าน เกิดในกรุงแบกแดด ในวันที่ 20 เดือนเราะบิอุล เอาวัล ฮ.ศ. 164 (ธันวาคม ค.ศ. 780) ชีวิตของท่าน ได้เติบโตขึ้นในแวดวงวิชาการ โดยท่องจำอัลกุรอานได้ทั้งเล่มตั้งแต่เยาว์วัย และศึกษากฎหมายอิสลาม หะดีษ และไวยากรณ์อาหรับในนครแบกแดด จากนั้นเข้าร่วมกลุ่มศึกษาของอบู ยูสุฟ สหายคนสำคัญของอบู หะนีฟะฮฺ ตั้งแต่อายุ 15 ปี เป็นต้นมา เขาได้อุทิศตัวให้กับการศึกษาหะดีษ ทำให้เขาต้องออกเดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าอิหร่าน คอรอซาน หิญาซ เยเมน ซีเรีย อิรัก และแม้แต่มัฆริบ(โมร็อคโคปัจจุบัน) เพื่อเสาะหาความถูกต้องของหะดีษ และท่านยังได้ไปทำฮัจญ์ที่มักกะฮฺ 5 ครั้งด้วยกัน อาจารย์ของท่าน ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ อิหม่ามชาฟิอีย์ ซึ่งท่านได้ศึกษากับอิหม่ามซาฟีอีเป็นครั้งแรกที่นครมักกะฮฺ เมื่ออิบนฺ ฮัมบัล ไปบำเพ็ญฮัจญ์ที่นั้นซึ่งในขณะนั้นอิหม่ามซาฟีอีกำลังสอนอยู่ในมัสยิดฮะรอม และท่าน ยังได้ไปศึกษากับอิบรอฮีม อิบนฺ ซะอด์ ยะฮยา อัลก็อฏฏอน บทบาทสำคัญอันโดดเด่นของท่าน คือการยืนหยัดเพื่อสัจธรรมและการฟื้นฟูอิสลาม การยืนหยัดของท่านนำไปสู่การถูกทดสอบอย่างมากมาย โดยเฉพาะเมื่อท่านขัดแย้งกับเคาะลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ ตั้งแต่สมัยของเคาะลีฟะฮฺมะมูนจนถึงสมัยเคาะลีฟะฮฺอัลวาษิก ท่านเป็นปราชญ์ผู้นำด้านกฎหมายอิสลามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง สำหรับแนวกฎหมายอิสลามของท่านมีผู้ปฏิบัติตามน้อยกว่าสามสำนักใหญ่ แต่ก็มีผู้ปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องมาตลอดประวัติศาสตร์ เรียกสำนักนิติศาสตร์ของเขาว่า มัซฮับ ฮัมบะลีย์ สำนักคิดนี้ได้วางหลักเกณฑ์การวินิฉัยกฎหมายอิสลามโดยการพิจารณา 5 แหล่งที่มาดังนี้คือ 1.นัศศ์ หมายถึงตัวบทของอัลกุรอ่านและวัจนะศาสดา 2.ฟัตวาของศอฮาบะฮ์ หมายถึงคำวินิจฉัยที่เกิดจากสหายของท่านศาสดา 3. หากศอฮาบะฮ์มีหลายทัศนะต่อปัญหาเดียว ท่านก็จะเลือกทัศนะที่ใกล้เคียงกับนัศศ์มากที่สุด 4. หะดิษมุรสัล หมายถึงวัจนะศาสดาที่ผู้รายงานมิใช่สหายของศาสดากล่าวคือ ผู้ที่อ้างว่าเป็นคำพูดของศาสดา แต่บุคคลผู้อ้างไม่ได้เป็นคนที่เห็นท่านศาสดานั้นเอง
 
<br />
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ซุนนี"