ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชีอะฮ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชีอะห์
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 2:
{{รีไรต์}}
{{โปร}}
'''ชีอะฮ์''' (บ้างสะกด ชีอะห์) เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งนับถือพระเจ้าพระองค์เดียว และท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นนบีคนสุดท้าย หากแต่มีความแตกต่างกับ[[ซุนนีย์]]ในเรื่องของผู้นำศาสนาต่อจากท่านนบี[[มุฮัมมัด]] ว่ามาจากการแต่งตั้งของ[[อัลลอฮ์]]และท่านนบี[[มุฮัมมัด]]เท่านั้น หากผู้ใดได้ศึกษาประวัติของวันอีดฆอดีรคุมแล้ว จะพบว่าวันนั้นเป็นวันที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งอะลีให้เป็นอิมามหรือผู้นำศาสนาคนต่อไปโดยผ่านท่านนบี(ศ็อลฯ) นั้นคือ[[อิมามสิบสอง]]คน อันได้แก่อิมาม[[อะลีย์]]และบุตรหลานของอิมามอะลีกับท่านหญิงฟาติมะห์(บุตรีของท่านนบี(ศ็อลฯ)อีก 11 คน
'''ชีอะฮ์'''
 
ชีอะฮ์ ตามความหมายของปทานุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะฮ์หมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ผู้นำศาสนาหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เสียชีวิตแล้ว เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งชีอะฮ์จึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد
 
ชีอะฮ์มีความเชื่อว่า พระองค์อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน คือพระผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ศาสนาของพระองค์ก็เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศาสนทูตของพระองค์ก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดาของพระองค์ก็จำเป็นจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น
คำว่า อัช-ชีอะฮฺ (اَلشِّيْعَةُ) ตามหลักภาษาหมายถึงบรรดาผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือและปฏิบัติตามบุคคลนั้นๆ และทุกๆ กลุ่มคนที่รวมกันบนเรื่องราวของพวกเขาเรียกว่า “ชีอะฮฺ” (ตะฮฺซีบฺ อัล-ลุเฆาะฮฺ ; อัล-อัซฮะรียฺ 3/61) เช่น ชีอะฮฺของอิหม่ามอะลี (ร.ฎ.) ก็หมายถึงบรรดาผู้ที่เห็นชอบและเข้าร่วมเป็นฝ่ายของอิมามอะลี (ร.ฎ.) และให้การสนับสนุนต่อท่าน
และเมื่อศาสนทูตของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงแต่งตั้ง ดังนั้นตัวแทนของศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกัน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์
 
ชีอะฮฺของท่านมุอาวียะฮฺ อิบนุ อบีสุฟยาน (ร.ฎ.) ก็หมายถึงบรรดาผู้ที่เห็นชอบและเข้าร่วมเป็นฝ่ายของท่านมุอาวียะฮฺ (ร.ฎ.) และให้การสนับสนุนต่อท่าน เป็นต้น ดังปรากฏคำว่า “ชีอะฮฺ” ในข้อตกลงอัต-ตะหฺกีมระหว่างท่านอะลียฺ (ร.ฎ.) และท่านมุอาวียะฮฺ (ร.ฎ.) ว่า : “นี่คือสิ่งที่อะลี  อิบนุ อบีฏอลิบและมุอาวียะฮฺ อิบนุ อบีสุฟยานตลอดจนชีอะฮฺของทั้งสองได้ร่วมกันตัดสินใจชำระความ...” (อัด-ดัยนูรียฺ ; อัล-อัคบาร อัฏ-ฏิวาล หน้า 194 , ตารีค อัฏ-ฎาะบะรียฺ 5/53)
 
คำว่า ชีอะฮฺ ที่ปรากฏในข้อตกลงอัต-ตะหฺกีมจึงหมายถึง พรรคพวก ผู้ให้การสนับสนุนและฝ่ายที่ร่วมด้วย ซึ่งจะเห็นว่า ฝ่ายของท่านอะลี (ร.ฎ.) ก็เรียกว่า ชีอะฮฺ ฝ่ายของท่านมุอาวียะฮฺ (ร.ฎ.) ก็เรียกว่าชีอะฮฺ ไม่ได้เจาะจงว่าเฉพาะผู้ที่ให้การสนับสนุนอะลี (ร.ฎ.) เพียงแต่ฝ่ายเดียวที่ถูกเรียกว่า ชีอะฮฺ เพราะคำว่าชีอะฮฺ  ตามหลักภาษาก็คือ พรรคพวกที่เข้าร่วมสนับสนุนและเห็นชอบกับบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดนั่นเอง
 
ส่วนความหมายของคำว่า ชีอะฮฺ ตามคำนิยามในเชิงวิชาการ (อิศฏิลาหิยฺ) นั้นโดยรวมหมายถึงกลุ่มชนที่มีความเชื่อและปฏิบัติตนตามแนวทางของลัทธิชีอะฮฺ ซึ่งเราจะนำคำนิยามของนักวิชาการฝ่ายชีอะฮฺมาอธิบายความหมายของคำว่า อัช-ชีอะฮฺ (الشيعة) เองดังนี้
 
1.สะอฺด์ อิบนุ อับดิลลาฮฺ อัล-กุมมียฺ เจ้าของตำรา อัฎ-ฎิยาอฺ ฟิลฺ อิมามะฮฺ และ มะกอลาตฺ อัล-อิมามียะฮฺ (เสียชีวิต ฮ.ศ. 301 / ฮ.ศ. 299) ให้คำนิยามว่า : อัช-ชีอะฮฺ คือกลุ่มชนของ  อะลี อิบนุ อบีฏอลิบ อันถูกเรียกขานว่า “ชีอะฮฺของอะลี” ในสมัยของท่านนบี (ศ็อลลัลลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) และสมัยต่อมา อันเป็นที่รู้จักกันดีถึงการมุ่งหมายของพวกเขาไปยังท่านอะลีแต่ผู้เดียว และกล่าวถึงการเป็นอิมามของท่าน” (อัล-มะกอลาต วัล-ฟิร็อก , อัล-กุมมียฺ (เตหะราน ค.ศ. 1963) สำนักพิมพ์ หัยดะรียฺ หน้า 15)    ชัยคฺ อัน-นูบัคตียฺ ก็มีความเห็นสอดคล้องกับอัล-กุมมียฺในคำนิยามข้างต้น (ฟิรอก อัช-ชีอะฮฺ ; อัน-นูบัคตียฺ ; สำนักพิมพ์ อัล-อัฎวาอฺ เบรุต (ฮ.ศ. 1404) หน้า 2 , 17)
 
'''โปรดสังเกตว่า'''  อัล-กุมมียฺ ระบุว่าชีอะฮฺของท่านอาลี (ร.ฎ.) มีมานับแต่สมัยของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) โดยระบุไว้ในอัล-มะกอลาต วัล-ฟิร็อก หน้า 15 นั้นว่า ส่วนหนึ่งจากบรรดาเศาะหะบะฮฺที่เป็นชีอะฮฺของท่านอะลี (ร.ฎ.) รุ่นแรกคือ อัล-มิกดาด , สัลมาน อัล-ฟาริสียฺ , อบูซัรริน และอัมมารฺ อิบนุ ยาสิร (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม) เป็นต้น
 
ซึ่ง อิบนุ อัล- มุรตะฎอ ซึ่งเป็นชีอะฮฺ ซัยดียะฮฺหักล้างว่า การกล่าวอ้างว่ากลุ่มเศาะหาบะฮฺที่ออกชื่อไว้เป็นชีอะฮฺรุ่นแรกของพวกเขานั้นทำให้คำกล่าวอ้างนั้นเป็นเรื่องโกหกไปเพราะเศาะหะบะฮฺเหล่านั้นไม่เคยแสดงการตัดความเกี่ยวข้อง (บะรออะฮฺ) และด่าทอต่อท่านอบูบักร และท่านอุมัร (ร.ฎ.) มิหนำซ้ำท่านอัมมาร (ร.ฎ.) ก็ปกครองเมืองกูฟะฮฺ และท่านสัลมาน อัล-ฟาริสียฺ (ร.ฎ.) ก็ปกครองเมือง อัล-มะดาอิน โดยได้รับการแต่งตั้งจากท่านอุมัร (ร.ฎ.) (ดู อัล-มะนียะฮฺ วัล-อะมัล หน้า 124, 125 )
 
และข้อเท็จจริงก็คือในสมัยที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) มีชีวิตอยู่นั้นบรรดาเศาะหาบะฮฺเป็นกลุ่มชนเดียวกันไม่ได้แตกออกเป็นพรรคเป็นพวกและไม่ปรากฏว่าเบื้องหน้าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) มีชีอะฮฺหรือสุนนะฮฺหรือกลุ่มชีอะฮฺ-สุนนียฺแต่อย่างใด มีแต่บรรดาผู้ศรัทธาตามแนวทางของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) และศาสนาของท่าน คือ อัล-อิสลามเท่านั้น
 
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) มิได้ถูกส่งมาเพื่อเรียกร้องสู่แนวทางของชีอะฮฺหรือทำสงครามกับพวกปฏิเสธเพื่อให้พวกนั้นยอมรับในการเป็นอิมามของท่านอะลี (ร.ฎ.) แต่อย่างใดเลย และในสมัยของคอลีฟะฮฺอบูบักร (ร.ฎ.) และอุมัร (ร.ฎ.) ก็ไม่ปรากฏว่ามีกลุ่มของเศาะหาบะฮฺที่เป็นชีอะฮฺของท่านอะลี (ร.ฎ.) และกล่าวถึงการเป็นอิมามของท่านอะลี (ร.ฎ.)
 
ซึ่งนักวิชาการคนสำคัญของชีอะฮฺเองก็ยอมรับในข้อเท็จจริงนี้ เช่น มูฮัมมัด หุสัยนฺ อาลฺกาชิฟ อัล-ฆิฎอ กล่าวว่า : ไม่ปรากฏว่าสำหรับชีอะฮฺและการตะชัยยุอฺ (การเป็นชีอะฮฺ) ในช่วงเวลานั้น (ในสมัยคอลีฟะฮฺอบูบักร (ร.ฎ.) และอุมัร (ร.ฎ.) มีประเด็นให้ปรากฏขึ้น เพราะศาสนาอิสลามได้ดำเนินไปบนบรรดาวิถีทางอันเที่ยงตรง...” (อัศลุตตะชัยยุอฺ หน้า 48)
 
และมุฮัมมัด หุสัยน์ อัล-อามิลียฺ ก็กล่าวว่า : แท้จริงคำว่า อัช-ชีอะฮฺได้ถูกเลิกร้างไปภายหลังการเป็นคอลีฟะฮฺอย่างสมบูรณ์สำหรับอบูบักร และบรรดามุสลิมก็กลายเป็นกลุ่มเดียวกันจวบจนช่วงปลายในสมัยของคอลีฟะฮฺที่สาม...” (อัช-ชีอะฮฺ ฟี อัต-ตารีค หน้า 39-40)  
 
ซึ่งในการที่คำว่า อัช-ชีอะฮฺ ถูกเลิกร้างไปนั้น จริงๆแล้วก็คือ มันไม่เคยปรากฏมีมาก่อนนั่นเอง เพราะมันจะถูกเลิกร้างไปได้อย่างไรหรือไม่ปรากฏขึ้นได้อย่างไรในเมื่อรัฐบาลของคอลีฟะฮฺที่มีมาก่อนท่านอะลี (ร.ฎ.) ต่อจากท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) โดยตรงในความเชื่อของพวกชีอะฮฺเองเป็นรัฐบาลของผู้ปฏิเสธ และเป็นไปได้อย่างไรที่มุสลิมเคยแบ่งเป็นกลุ่มและพรรคพวกในสมัยท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) แล้วกลายมาเป็นกลุ่มชนที่มีเอกภาพ และเป็นหนึ่งเดียวในสมัยคอลีฟะฮฺทั้งสามนั้น อย่างที่ อัล-อามิลียฺ ได้กล่าวไว้
 
 
<nowiki>*</nowiki>ชัยคฺ อัล-มุฟีด (เสียชีวิต ฮ.ศ. 413)  ให้คำนิยามว่า : คำว่า อัช-ชีอะฮฺถูกเรียกถึงบรรดาผู้ปฏิบัติตามอะมีรุลมุอฺมินีน เศาะละวาตุลลอฮฺอะลัยฮิบนแนวทางของการเป็นมิตร (อัล-วะลาอฺ) และความเชื่อต่อการเป็นอิมามของท่านภายหลังท่าน รสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) โดยไม่มีการคั่น และการปฏิเสธการเป็นอิมามจากบุคคลที่มาก่อนท่านในตำแหน่งคอลีฟะฮฺ และกำหนดว่าท่านอมีรุลมุอฺมินีนเป็นผู้ถูกปฏิบัติตามสำหรับพวกเขาในความเชื่อมิใช่ผู้ปฏิบัติตามคนหนึ่งคนใดจากพวกเขาในเชิงของการถือตาม” (อะวาอิลุล มะกอลาต ; ชัยคฺ อัล-มุฟีด ; สำนักพิมพ์อัด-ดาวิรียฺ กุม-อิหร่าน หน้า 39)
 
ชัยคฺ มุฟีด ได้อธิบายไว้ในตำราอัล-อิรฺชาด หน้า 12 ว่า : การเป็น อิมามของอมีรุลมุอฺมินีนภายหลังท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้นคือเวลา 30 ปี โดย 24 ปี กับอีก 6 เดือน จากช่วงเวลานั้นท่านถูกห้ามจากการดำเนินการในบรรดาหลักของการเป็นผู้นำโดยใช้การอำพราง (ตะกียะฮฺ) และอีก 5 ปี กับอีก 6 เดือน ท่านได้รับการทดสอบด้วยการญิฮาดกับพวกมุนาฟิกจากบรรดาผู้ผิดคำสัญญา ผู้ละเมิด และบรรดาผู้ออกนอกศาสนา ตลอดจนเป็นผู้ที่ถูกกดขี่ด้วยการสร้างความวุ่นวายของบรรดาผู้หลงผิด..”
 
ซึ่งจะสังเกตได้จากคำนิยามของชัยคฺ มุฟีด นี้ว่า บรรดาเศาะหาบะฮฺและเหล่าคอลีฟะฮฺทั้งสามท่านตลอดจนบรรดามุสลิมในเวลานั้นถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กลับกลอก หน้าไหว้หลังหลอก ไม่ยอมรับการเป็นอิมามของท่าน   อะลี (ร.ฎ.) และกดดันท่านไม่ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอิมามได้ตลอดช่วงการปกครองของคอลีฟะฮฺทั้งสาม โดยท่านอะลี (ร.ฎ.) ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางบุคคลเหล่านั้นด้วยการอำพรางตน
 
ซึ่งแน่นอนความเชื่อและการอธิบายของกลุ่มชีอะฮฺในทำนองนี้เป็นการกระจาบจ้วงต่อท่านอะลี (ร.ฎ.) เองว่าไม่ยืนยันในสิทธิแห่งความเป็นอิมามที่ได้รับการแต่งตั้งจากท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) โดยตรง และเป็นการดูแคลนความกล้าหาญของท่านอะลี (ร.ฎ.) ที่ใช้ชีวิตในท่ามกลางบุคคลเหล่านั้นด้วยการอำพราง และที่สำคัญยังเป็นการโจมตีต่อศาสนาอิสลามและภาระกิจของท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ในการประกาศศาสนาและนำผู้คนออกจากความหลงผิดสู่สัจธรรมอีกด้วย
 
<nowiki>*</nowiki>ชัยคฺ อัฏฏูสียฺ (เสียชีวิต ฮ.ศ. 460) ได้ให้คำนิยามอัช-ชีอะฮฺโดยผูกพันลักษณะการเป็นชีอะฮฺ (ตะชัยยุอฺ) กับความเชื่อต่อสถานะของท่านอะลี (ร.ฎ.) ว่าเป็นอิมามสำหรับชาวมุสลิมด้วยการวะศียะฮฺ (สั่งเสีย) ของท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) และด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) (ตัลคีศุชชาฟียฺ 2/56)
 
และชัยคฺ มุฮัมมัด เญาวฺว๊าด มุฆนียะฮิ ระบุว่า คำว่าชีอะฮฺ เป็นนามชื่อเรียกบุคคลผู้ศรัทธาว่าแท้จริงท่านอะลี (ร.ฎ.) นั้นคือคอลีฟะฮฺด้วยการกำหนดเป็นตัวบทของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) (อัช-ชีอะฮฺ ฟิล มีซาน หน้า 15) นอกจากนี้ยังคงมีนิยามอื่นๆ ที่นักวิชาการฝ่ายชีอะฮฺได้ระบุเอาไว้ สรุปก็คือ ชีอะฮฺคือกลุ่มชนที่มีหลักความเชื่อแตกต่างจากกลุ่มของอะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ
 
โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงชีอะฮฺส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็จะหมายถึง กลุ่มชีอะฮฺ อิมามียะฮฺ อิษนาอะชะรียะฮฺ (ชีอะฮฺอิมามสิบสอง) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่หลักความเชื่อของพวกตนในบ้านเรา เฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านของอายาตุลลอฮฺ โคมัยนียฺ และการประกาศตั้งสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านในปี ค.ศ. 1979 เป็นต้นมา
 
เดิมทีเดียวชีอะฮฺกลุ่มนี้มีมาในบ้านเรานับแต่สมัยอยุธยา เป็นกลุ่มพ่อค้าชาวเปอร์เซียและขุนนางในราชสำนักแต่ชีอะฮฺกลุ่มนี้ก็ยังอยู่ร่วมกับชาวสุนนีย์มาอย่างปกติและไม่มีปัญหากระทบกระทั่งกันระหว่างพวกเขาและชาวสุนนียฺ แม้กระทั่งสุสานยังเคยใช้ฝังร่วมกัน (เช่นที่มัสยิดต้นสน คลองบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี) มีการแต่งงานระหว่างกันและอยู่ร่วมกันด้วยสายสัมพันธ์อันดี
 
แต่เมื่อมีการปฏิวัติอิสลามเกิดขึ้นในอิหร่านเป็นต้นมา การเคลื่อนไหวของกลุ่มชีอะฮฺและท่าทีของพวกเขาก็เปลี่ยนไป ในการเผยแพร่ลัทธิชีอะฮฺในหมู่พี่น้องชาวสุนนียฺ การกระทบกระทั่งและการขัดแย้งทางความเชื่อจึงเกิดขึ้นตามมา ในปัจจุบันพวกชีอะฮฺมีการจัดตั้งองค์กรและสร้างบุคคลากรเพื่อการเผยแพร่ลัทธิชีอะฮฺในทุกระดับตั้งแต่ในหมู่ปัญญาชน นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ตลอดจนชาวบ้านทั่วไปซึ่งแต่เดิมก็คือชาวสุนนียฺนั่นเอง
 
สำหรับหลักความเชื่อที่สำคัญที่สุดของกลุ่มชีอะฮฺ อิมามียะฮฺนั้น ได้แก่ เรื่องอิมามะฮฺหรือวิลายะฮฺของท่านอะลี อิบนุ อบีฏอลิบ (ร.ฎ.) ภายหลังท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) โดยตรง อาจกล่าวได้ว่า หลักความเชื่อของกลุ่มชีอะฮฺ อิมามียะฮฺมีเรื่องสถานภาพของท่านอะลี (ร.ฎ.) เป็นแกนหลัก เพราะไม่ว่าจะเป็นการเชื่อว่ามีตัวบทในอัล-กุรอาน และหะดีษกำหนดถึงการเป็นวะศียฺ (ผู้รับสืบทอด)
 
การเป็นอิมามมะอฺศูม (ผู้บริสุทธิ์จากมลทิน) ของท่านอะลี (ร.ฎ.) และอิมามอีก 11 ท่าน การแสดงความเป็นมิตร (อัล-วะลาอฺ) และการแสดงความไม่เกี่ยวข้อง (อัล-บะรออฺ) การอำพรางตน (อัต-ตะกียฺ) สถานภาพของเหล่าเศาะหาบะฮฺภายหลังจากท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) การเชื่อในอิมามมะฮฺดียฺที่หายตัวไป
 
ทั้งหมดเป็นผลมาจากการอธิบายและการมีความเชื่อในสถานภาพของท่านอะลี (ร.ฎ.) ทั้งสิ้น แต่โดยหลักความเชื่อพื้นฐานของชีอะฮฺ อิมามียะฮฺก็จะมี 5 ประการ คือ 1) อัต-เตาหีด  2) อัน-นุบูวะฮฺ  3) อัล-มะอาด 4)  อัดลุลลอฮฺ และการเป็นอิมามของอิมามสิบสองท่าน (ดิรอสาต ฟี – อะกออิด อัช-ชีอะฮฺ อัล-อิมามียะฮฺ  อัส-สัยยิด มุฮัมมัด อะลี อัล-หะสะนียฺ หน้า 68)
 
ส่วนที่ถามว่า ชีอะฮฺกับวะฮฺฮาบียฺใครแรงกว่ากัน ก็คงตอบได้เพียงว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของคนซึ่งมีความหลากหลาย ชีอะฮฺบางคนก็ใช้ปัญญามากกว่าความรุนแรง วะฮฺฮาบียฺที่ใช้ปัญญาและเหตุผลมากกว่าการใช้ความรุนแรงก็มี พวกหลังนี้เข้าทำนองขิงก็รา ข่าก็แรงอะไรประมาณนั้น จึงต้องว่าเป็นคนๆ ไปครับ
 
والله أعلم بالصواب
 
== ประวัติ ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ชีอะฮ์"