ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏวังหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
San5512041 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8548200 สร้างโดย 171.96.191.22 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 45:
หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ รัฐบาลได้แถลงเป็นเชิงไม่กล่าวโทษฝ่ายทหารเรือ แต่ประกาศออกไปว่า "เป็นการเข้าใจผิดกันระหว่างทหารบกและทหารเรือ" และอธิบายว่า "เป็นบุคคลแต่งตัวปลอมเป็นทหารเรือ มาร่วมก่อการจลาจลที่พระบรมมหาราชวัง"<ref name=sohk/>
 
ในส่วนของนายปรีดีที่หลบหนีไปได้นั้น ท่านผู้หญิง[[พูนศุข พนมยงค์]] ภริยา ได้ขอความช่วยเหลือจากนายสุธิ โอบอ้อม ปลัด[[อำเภอพระโขนง]] และได้ปรึกษากับนายอุดร รักษ์มณี ทั้งหมดได้ให้นายปรีดีหลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านร้างหลังหนึ่งซึ่งเป็นเคยฉางเกลือเก่าของบริษัท เกลือไทย เป็นบ้านร้างบนเนื้อที่กว่า 20 ไร่ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณเชิง[[สะพานสาทร]]ในปัจจุบัน โดยนายปรีดีหลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านร้างหลังนี้นานถึง 5 เดือนเต็ม<ref name=sohk>หน้า 15, ''สนามรบ ณ แยกราชประสงค์ เมื่อ พ.ศ. 2492'', "ภาพเก่าเล่าตำนาน" โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก. '''มติชน'''ปีที่ 42 ฉบับที่ 15149: วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562</ref> และมีเศร้าโศกเสียใจมากกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ถึงขนาดจะ[[ฆ่าตัวตาย|ยิงตัวตาย]] เพราะที่ผ่านมานับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมา ไม่เคยมีกบฏหรือรัฐประหารครั้งไหนที่มีผู้บาดเจ็บล้มตายมากและพ่ายแพ้ ทำให้ไม่สามารถกลับคืนสู่อำนาจอันหอมหวานได้อีกครั้งขนาดนี้ แต่ได้ถูกท่านผู้หญิงพูนศุขห้ามไว้<ref name="กบฏ">''26 กุมภาพันธ์ 2492 กบฏวังหลวง'', "ย้อนรอยประวัติศาสตร์รัฐประหารไทย". สารคดีทางดีเอ็นเอ็น: 20 พฤศจิกายน 2554</ref> งดงานรื่นเริง และต้องให้หลบหนีออกนอกประเทศไปเสวยสุขอีกครั้ง โดยกลับไปตั้งหลักยังประเทศจีน ในวันที่ 6 สิงหาคม ปีเดียวกัน
 
ซึ่งหลังจากเหตุการณ์กบฏเกิดขึ้นและจบลงได้ไม่นาน ก็ได้มีการสังหารบุคคลสำคัญทางการเมืองลงหลายคน เช่น [[บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข|พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข]] อดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลและ [[โผน อินทรทัต|พ.ต.โผน อินทรทัต]] ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบและอดีตเสรีไทย รวมทั้ง[[คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี พ.ศ. 2492|การสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี]]ที่[[ถนนพหลโยธิน]] กิโลเมตรที่ 11 คือ นาย[[ทองอินทร์ ภูริพัฒน์]], นาย[[ถวิล อุดล]], นาย[[จำลอง ดาวเรือง]] และนาย[[ทองเปลว ชลภูมิ]] ซึ่งเป็นนักการเมืองในสายของนายปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น รัฐบาลได้ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2492<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/A/027/1.PDF</ref> <ref name="ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน">{{อ้างหนังสือ