ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สามย่านมิตรทาวน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Samyan Mitrtown (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
}}
 
'''สามย่านมิตรทาวน์ '''({{lang-en|Samyan Mitrtown}}) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมบริเวณหัวมุมตะวันตกเฉียงเหนือของ[[สี่แยกสามย่าน]] ระหว่าง[[ถนนพระรามที่ 4]] และ[[ถนนพญาไท]] โดย[[ยูนิเวนเจอร์บริษัท เกษมทรัพย์ภักดี จำกัด|บริษัท ยูนิเวนเจอร์เกษมทรัพย์ภักดี จำกัด (มหาชน)]] ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจำนวน 13 ไร่จาก[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เป็นระยะเวลา 30 ปี ภายในโครงการประกอบด้วยพื้นที่ค้าปลีก ที่อยู่อาศัย และอาคารสำนักงาน พื้นที่รวม 222,000 ตร.ม. ก่อสร้างตามแนวคิดห้องสมุดแห่งชีวิตของคนเมือง (Urban Life Library) ภายใต้งบลงทุนรวม 9,000 ล้านบาท พัฒนาโครงการโดย บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ และบริหารศูนย์การค้าโดย บริษัท เกษมทรัพย์ภักดี จำกัด ซึ่งเกิดขึ้นจากการร่วมทุนของบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท โกลเด้น พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด
 
== ประวัติ ==
พื้นที่เดิมของโครงการสามย่านมิตรทาวน์ ตั้งอยู่บริเวณหมอน 21-22 เป็นพื้นที่แปลงหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดสรรไว้สำหรับประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกสามย่าน มีเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ 1 งาน 47.5 ตารางวา เดิมทีที่ดินผืนนี้เป็นที่ตั้งของตลาดสามย่าน และอาคารพาณิชย์บริเวณโดยรอบจำนวน 171 คูหา ที่ผ่านมาพื้นที่มีการใช้ประโยชน์หลายลักษณะ เช่น ที่พักอาศัย ร้านค้าสะดวกซื้อ ธนาคาร ร้านอาหาร ร้านค้าทั่วไป ร้านให้บริการหรือรับจ้างรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของตลาดสามย่าน ได้ตั้งอยู่บนที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณจุฬาลงกรณ์ซอย 15 ตรงข้ามโรงภาพยนตร์สามย่านรามา (เดิม) (ช่องต่อหัวมุมถนนพระราม 4 และถนนพญาไท) มีบริเวณที่ดินประมาณ 2.92 ไร่ เป็นอาคารที่ก่อสร้างมาพร้อมการทำสัญญาบูรณะปรับปรุงมีบริษัท วังใหม่ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และเริ่มเป็นกิจการตลาดเอกชน ใช้ชื่อว่า "ตลาดสามย่าน" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508
 
จากการพัฒนาของเมืองที่เกิดขึ้น ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นสมควรที่จะปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการใช้พื้นที่สูงสุด และเมื่อสัญญาเช่ากับผู้เช่ารายเดิมครบอายุสัญญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้รับมอบพื้นที่จากผู้เช่ารายเดิม โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบในลักษณะของการเชิญชวนเอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาและประกอบการเชิงพาณิชย์ โดยทางมหาวิทยาลัยได้มีการทำแผนการพัฒนาเขตพื้นที่พาณิชย์ เพื่อกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้สอดคล้องและกลมกลืนกันในระยะยาว โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้วิธีการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูลการพัฒนาโครงการและมี บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และ [[แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์|บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)]] เป็นผู้เข้ารอบการประมูลในรอบสุดท้าย ก่อนที่ทางแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จะขอถอนตัวออกจากการประมูล ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการเจรจาตรงกับยูนิเวนเจอร์เพื่อยื่นข้อเสนอขอทำสัญญาระยะยาวกับคณะรัฐมนตรี แต่ในท้ายที่สุด บริษัทที่เป็นผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินแปลงนี้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาโครงการ คือ บริษัท เกษมทรัพย์ภักดี จำกัด พร้อมกับมอบหมายให้ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์
 
== การจัดสรรพื้นที่ ==