ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อมเรศ ศิลาอ่อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sangtaksina (คุย | ส่วนร่วม)
Sangtaksina (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 86:
ภายหลังจากฝึกกรรมฐานไปได้ระยะหนึ่ง นายอมเรศเกิดคำถามทางธรรมหลายประการที่ไม่สามารถหาคำตอบได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยเฉพาะเรื่องพระอภิธรรม ซึ่งเป็นเรื่องของหลักคำสอน อันเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎกจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์นั้น เป็นส่วนที่เป็นพระอภิธรรมถึง 42,000 พระธรรมขันธ์ โดยเนื้อหาของพระอภิธรรมสอนอยู่ 4 อย่าง ได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งมาก<ref>'''อมเรศ ศิลาอ่อน นักธุรกิจผู้ขยันหาอาหารทางใจ''' <nowiki>https://mgronline.com/dhamma/detail/9500000135837</nowiki></ref>
 
นายอมเรศสมัครเข้าเรียนหลักสูตรการเรียนการสอนพระอภิธรรม ของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย 9 ชั้นได้แก่ ชั้นที่ 1 จูฬอาภิธรรมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)ชั้นที่ 2 จูฬอาภิธรรมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)ชั้นที่ 3 จูฬอาภิธรรมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)ชั้นที่ 4 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)ชั้นที่ 5 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)ชั้นที่ 6 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)ชั้นที่ 7 มหาอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)ชั้นที่ 8 มหาอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน) ชั้นที่ 9 มหาอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)จนจบหลักสูตร รวมใช้เวลาในการศึกษาจนจบหลักสูตรทั้ง 9 ชั้น 7 ปี 6 เดือนได้รับประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต (ป.อบ.) เทียบเท่าระดับปริญญาตรี เมื่อ พ.ศ.2555 และศึกษาพระไตรปิฏกต่อกับอาจารย์พรชัย เจริญดำรงเกียรติ (อาจารย์ดิษกฤต สาสนเวชช์) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน<ref>'''อภิธรรมโชติกะวิทยาลัยสอนอภิธรรมระดับปริญญาตรี เรียนฟรีจนจบ'''<nowiki>https://www.posttoday.com/dhamma/107556</nowiki></ref>
 
== คดีความ ==