ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงชาติไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 106:
</center>
 
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนธงชาติสยามจากธงช้างเผือกมาสู่ธงไตรรงค์นั้นมีผู้ที่เสียดายธงช้างเดิมอยู่ไม่น้อย เนื่องจากธงช้างเผือกเป็นธงชาติสยามที่นานาประเทศรู้จักกันทั่วไปมาเป็นเวลานานแล้ว และธงไตรรงค์นั้นก็มีลักษณะที่พ้องกับธงชาติของประเทศอื่นบางประเทศ อาจก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้พบเห็นได้ ในปี พ.ศ. 2470 [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จึงทรงมีพระราชดำริว่า ธงชาติไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งแล้ว ควรหาข้อกำหนดเรื่องธงชาติให้เป็นการถาวร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบรรทึก <!--ชื่อตามเอกสารต้นฉบับ--> พระราชทานไปยัง[[องคมนตรี]] เพื่อให้เสนอความเห็นของคนหมู่มากว่า จะคงใช้ธงไตรรงค์ดังที่ใช้อยู่เป็นธงชาติต่อไป หรือจะกลับไปใช้ธงช้างแทน หรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะธงชาติ กับวิธีใช้ธงไตรรงค์อย่างไร<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/D/273.PDF บรรทึกเรื่องธงชาติ], เล่ม ๔๔, ตอน ง, ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๒๗๓</ref> นอกจากนี้ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมราชเลขาธิการตัดข่าวจากหนังสือพิมพ์เพื่อรวบรวมความเห็นต่างๆ ของสาธารณชนเกี่ยวกับธงชาติเพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัยด้วย ผลปรากฏว่าความเห็นขององคมนตรีแตกต่างกระจายกันมาก จึงมิได้กราบบังคมทูลข้อชี้ขาด ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมราชวินิจฉัยลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ให้คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป<ref name="พระบรมราชวินิจฉัย">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/D/607.PDF พระบรมราชวินิจฉัยเรื่องธงชาติ], เล่ม ๔๔, ตอน ง, ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๖๐๗</ref>
 
หลัง'''[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475]]''' รัฐบาลต่าง ๆ ยังคงรับรองฐานะของธงไตรรงค์ให้เป็นธงชาติของประเทศสยามต่อไป โดยมีการตราพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479 เป็นกฎหมายรับรองฐานะของธงไตรรงค์<ref name="พรบ.ธง 2479">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2479/A/865.PDF พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙], เล่ม ๕๓, ตอน ๐ก, ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙, หน้า ๘๖๕</ref> และหลังจากการเปลี่ยนชื่อประเทศในปี พ.ศ. 2482 ส่งผลให้ซึ่งทำให้ธงชาติสยามถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ธงชาติไทย" ตามไปด้วยในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลต่างๆ ก็ยังคงรับรองให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายรับรองฐานะของธงไตรรงค์ ซึ่งพระราชบัญญัติธงทั้งสองฉบับนี้ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยความบรรยายลักษณะธงชาติในพระราชบัญญัติธงใหม่ให้ชัดเจนขึ้น แต่ยังคงรูปแบบธงตามที่ได้บัญญัติไว้ครั้งแรกในพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2460 ไว้เช่นเดิม<ref name="พรบ.ธง 2522" />
 
วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ประชุมซึ่งนำโดย [[ประวิตร วงษ์สุวรรณ|พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ]] รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงกลาโหม]] รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็น '''[[วันพระราชทานธงชาติไทย]]''' โดยให้เริ่มในปีครบรอบ 100 ปี ธงชาติไทย ในปี พ.ศ. 2560 เป็นปีแรก แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ<ref>{{Cite web|url=https://www.matichon.co.th/news/292540|title=ครม. เห็นชอบ ให้วันที่ 28 ก.ย. เป็นวันพระราชทานธงชาติไทย โดยไม่นับเป็นวันหยุด|publisher=[[มติชน (หนังสือพิมพ์)|มติชน]]|date=20 กันยายน 2559|accessdate=26 มิถุนายน 2560}}</ref>