ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 22:
| religion = [[แองกลิคัน]]
}}
'''สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ''' ({{lang-en|Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess}} -- 7 กันยายน [[.ศ. 20761533]] -- [[24 มีนาคม]] [[.ศ. 21461603]]) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่ง[[อังกฤษ]] และสมเด็จพระราชินีนาถแห่ง[[ไอร์แลนด์]] ตั้งแต่ วันที่ [[17 พฤศจิกายน]] [[.ศ. 21011558]] จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของ[[ราชวงศ์ทิวดอร์]]
 
สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่[[พระราชวังกรีนิช]] เป็นพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8]] กับ[[แอนน์ บุลิน พระราชินีแห่งอังกฤษ|สมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน]] พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย
บรรทัด 28:
เมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8]] สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของ[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ|สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6]] พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและ[[สมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์]] พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่[[เลดีเจน เกรย์]]ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ|สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1]] ผู้ทรงเป็น[[โรมันคาทอลิก]] ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการ[[โปรเตสแตนต์]]
 
หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินี[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ|สมเด็จพระราชินีนาถแมรี]] เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม<ref>"I mean to direct all my actions by good advice and counsel." Elizabeth's first speech as queen, Hatfield House, 20 November 1558. Loades, 35.</ref> พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดย[[William Cecil, 1st Baron Burghley|วิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1]] สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบัน[[โปรเตสแตนต์]]อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “[[Supreme Governor of the Church of England|ประมุขสูงสุด]]”สุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “[[นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์]]” ในปัจจุบัน
 
ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น ''“'''พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์'''”'' และเกิด[[ลัทธินิยม]]ของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย
 
ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินี<ref name=starkey5>Starkey, 5.</ref> คำขวัญที่ทรงถืออยู่คำหนึ่งคือ “[[video et taceo]]”taceo” ({{lang-th|ข้าพเจ้ารู้แต่ข้าพเจ้าไม่พูด}}) <ref>Neale, 386.</ref> นโยบายดังกล่าวสร้างความอึดอัดใจให้แก่บรรดาราชองคมนตรี แต่ก็เป็นนโยบายที่ทำให้ทรงรอดจากการสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองและทางการมีคู่ในทางที่ไม่ถูกไม่ควรมาหลายครั้ง แม้ว่าจะทรงดำเนินนโยบายการต่างประเทศอย่างระมัดระวัง และทรงสนับสนุนการสงครามใน[[เนเธอร์แลนด์]], [[ฝรั่งเศส]] และ [[ไอร์แลนด์]]อย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ แต่ชัยชนะที่ทรงมีต่อ[[กองเรืออาร์มาดา]]ของสเปนในปี [[พ.ศ. 2131]] ก็ทำให้ทรงมีชื่อว่าทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับชัยชนะอันสำคัญที่ถือกันว่าเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่สุดใน[[ประวัติศาสตร์อังกฤษ]] ภายใน 20 ปีหลังจากการเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงได้ชื่อว่าเป็นพระมหากษัตรีย์ของยุคทองของอังกฤษ
 
รัชสมัยของพระองค์เป็นที่รู้จักกันว่า “[[สมัยเอลิซาเบธ]]” ที่มีชื่อเสียงเหนือสิ่งใดว่าเป็น[[ยุคเรอเนสซองซ์อังกฤษ|ยุคเรอเนสซองซ์]]ของเนสซองซ์ของ[[นาฏกรรม]]ของอังกฤษ ที่นำโดยนักเขียนบทละครผู้มีชื่อเสียงเช่น[[วิลเลียม เชคสเปียร์]] และ [[Christopher Marlowe|คริสต์โตเฟอร์ มาร์โลว์]], และความเจริญทางการเดินเรือโดยผู้นำเช่น[[ฟรานซิส เดรค]] นักประวัติศาสตร์บางท่านค่อนข้างจะไม่กระตือรือร้นต่อความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และกล่าวว่าทรงเป็นผู้มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น<ref>In 1593 during the crisis of [[Henry IV of France|Henry IV's]] conversion, the French ambassador implored [[William Cecil, 1st Baron Burghley|Burghley]] "Protect me by your wisdom from the ire of this great princess; for by the living God, when I see her enraged against any person whatever I wish myself in Calcutta, fearing her anger like death itself."". John Lothrop Motley; History of the United Netherlands, 1590-99.</ref> และบางครั้งก็ทรงเป็นผู้นำผู้ไม่มีความเด็ดขาด,<ref>Somerset, 729.</ref> ผู้ทรงได้รับผลประโยชน์จากโชคมากกว่าที่จะทรงใช้พระปรีชาสามารถ ในปลายรัชสมัยปัญหาต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ และ ทางการทหารก็ทำให้บ้านเมืองอ่อนแอลง จนถึงกับกล่าวกันว่าการเสด็จสวรรคตนำมาซึ่งความโล่งใจของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
 
พระราชินีนาถอลิซาเบธทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้นำผู้มีเสน่ห์และเป็นผู้นำให้ประเทศรอดจากภัยพิบัติต่าง ๆ ในยุคที่รัฐบาลอยู่ในสภาวะที่ปั่นป่วนและสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศเพื่อนบ้านต้องเผชิญกับสถานะการณ์ภายในที่เป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ หลังจากรัชสมัยอันสั้นของพระอนุชาและพระเชษฐภคินีแล้วรัชสมัยอันยาวนานถึง 44 ปีก็เป็นรัชสมัยที่สร้างความมั่นคงให้แก่ราชอาณาจักร และเป็นรัชสมัยที่วางรากฐานของความเป็นชาติของอังกฤษด้วย<ref name=starkey5>Starkey, 5.</ref>