ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาชนก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
เรียบเรียงเรื่องย่อใหม่ตามบทพระราชนิพนธ์
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:พระมหาชนก.jpg|thumb|250px|พระราชนิพนธ์เรื่อง''พระมหาชนก'']]
'''พระมหาชนก''' เป็นเรื่องหนึ่งใน[[ทศชาติชาดก]] อันเป็นชาดก 10 ชาติสุดท้ายก่อนที่[[พระโพธิสัตว์]]จะมาประสูติเป็น[[เจ้าชายสิทธัตถะ]] และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาดกเรื่องนี้เป็นการบำเพ็ญความเพียรเป็นบารมี [[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]ทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎกและทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงจากมหา[[มหาชนกชาดก]] ตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังทรงแปลเป็น[[ภาษาสันสกฤต]]ประกอบอีกภาษา รวมทั้งแผนที่ฝีพระหัตถ์ แสดงสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองโบราณบางแห่งและข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับทิศทางลม กับกำหนดวันเดินทะเลตลอดจนจุดอัปปางของเรืออับโชค ทรงคาดคะเนโดยอาศัยข้อมูลทาง[[โหราศาสตร์]] แสดงถึงพระปรีชาในด้านอักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์และโหราศาสตร์ไทย

ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล เมื่อ พ.ศ. 2539 พระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกก็ออกจำหน่าย และเป็นที่ชื่นชมโดยทั่วไป แต่หนังสือพระราชนิพนธ์นี้ก็ยังอ่านค่อนข้างยาก ด้วยความซับซ้อนของข้อความและของภาพ ทำให้มีการวิจารณ์และตีความกันในทางต่างๆ นานา ในปี พ.ศ. 2542 ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกอีกครั้ง ในรูปแบบของการ์ตูนโดยมี ชัย ราชวัตร เป็นผู้วาดภาพการ์ตูนประกอบ
 
ในปี 2557 ได้มีการนำเสนอในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น ทางโรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ และออกอากาศทางโทรทัศน์ทุกสถานี มีทั้งหมด 3 องก์ คือ องก์ที่ 1 กำเนิด องก์ที่ 2 ความเพียร และองก์ที่ 3 ปัญญา รวมทั้งมีการแสดง แสง สี เสียงในชุด มหานาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระมหาชนก ปี 2549 อิมแพค เมืองทองธานี และ“พระมหาชนก เดอะ ฟีโนมีนอน ไลฟ์โชว์” ณ สวนเบญจกิติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
 
เส้น 6 ⟶ 9:
[[ไฟล์:Borobudur_ship.JPG|thumb|250px|ภาพแกะสลักเรื่องพระมหาชนก ในระเบียง[[พระมหาสถูปบุโรพุทโธ]] [[เกาะชวา]] [[อินโดนีเซีย]]]]
 
พระเจ้ามหาชนก กษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา มีพระราชโอรสสองพระองค์ พระนามว่า [[อริฏฐชนก|อริฏชนก]] ฏฐชนกและ [[โปลชนก]] เมื่อสวรรคตแล้ว พระอริฏฐชนกได้ครองราชสมบัติและทรงตั้งพระโปลชนกเป็นอุปราช อมาตย์พระโปลชนกทรงรับใช้พระอริฏฐชนกด้วยความภักดีมาโดยตลอด แต่อำมาตย์ผู้ใกล้ชิดได้กราบทูลพระอริฏฐชนก คอยใส่ร้ายว่า พระอุปราชโปลชนกคิดไม่ซื่ออยู่บ่อยครั้ง พระอริฏฐชนกก็หลงเชื่อ สั่งจึงมีพระราชบัญชาให้จองจำพระโปลชนก แต่พระโปลชนกได้ตั้งจิตอธิษฐานให้เครื่องจองจำหักทำลายลงและสามารถหลบหนีไปยังชายแดนกรุงมิถิลาได้ ภายหลังมีผู้คนเข้ามาสวามิภักดิ์กับพระโปลชนกจำนวนมาก พระองค์จึงตัดสินใจกบฎต่อพระอริฎฐชนกจริงๆ และได้รวบรวมพลนำทัพกลับมายังกรุงมิถิลาพร้อมส่งสารขอเจรจา แต่อมาตย์ชั่วร้ายแปลงสารเป็นขอท้ารบ ทำให้ให้พระอริฏฐชนกแต่งทัพมอบราชสมบัติหรือออกมารบกับพระโปลชนกตน ทั้งสองพระองค์รู้ความจริงในระหว่างการรบ แต่พระอริฏฐชนกสิ้นพระชนม์เลือกที่จะออกมาทำสู้รบและสวรรคตในที่รบ ราชสมบัติตกเป็นของพระโปลชนก พระเทวีที่กำลังทรงครรภ์จึงปลอมตัวหนีออกนอกเมืองด้วยความช่วยเหลือของ[[ท้าวสักกเทวราช]]จึง แล้วเสด็จหนีไปจนถึง เมืองกาลจัมปากะ ได้พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่ออุทิจจพราหมณ์มหาศาลอุปการะไว้ในฐานะน้องสาว ต่อมามีพระประสูติกาล ตั้งพระนามพระโอรสตามพระอัยยิกาว่า "มหาชนก" จวบจนกระทั่งมหาชนกเติบใหญ่ และได้ทราบความจริง ก็คิดจะไปค้าขายตั้งตัว แล้วจะไปเอาราชสมบัติคืน จึงนำสมบัติกึ่งหนึ่งของพระมารดาไปขาย แลกเป็นสินค้าออกเรือไปยังสุวรรณภูมิ ระหว่างทางในมหาสมุทร เรือต้องพายุล่มลง ลูกเรือตายหมดยังแต่พระมหาชนกรอดผู้เดียว ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร 7 วัน 7 คืน จนได้พบ[[นางมณีเมขลา]]ในที่สุดนางมณีเมขลาได้อุ้มพระมหาชนกไปส่งยังมิถิลานคร ฝ่ายมิถิลานคร พระโปลชนกได้สวรรคตเหลือเพียงพระราชธิดานาม "สีวลีเทวี" ก่อนสวรรคตทรงตั้งปริศนาเรื่องขุมทรัพย์ทั้งสิบหกไว้สำหรับผู้จะขึ้นครองราชย์ต่อไป แต่ไม่มีผู้ใดไขปริศนาได้ เหล่าอมาตย์จึงได้ประชุมกันแล้วปล่อยราชรถ ราชรถก็แล่นไปยังที่มหาชนกบรรทมอยู่ เหล่าอมาตย์จึงเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์และอภิเษกกับสีวลีเทวี ทรงไขปริศนาต่างๆ ได้ และทรงครองราชสมบัติโดยธรรมนัน พาน
 
ต่อมาพระเทวีมีพระประสูติกาล ตั้งพระนามพระโอรสตามพระอัยกาว่า "มหาชนก" เมื่อพระมหาชนกเจริญวัยขึ้นและได้ทราบความจริง ก็คิดจะไปค้าขายตั้งตัว แล้วจะเอาเงินทุนที่ได้จากการค้าขายมาใช้ในการชิงราชสมบัติคืน จึงนำเอาสมบัติกึ่งหนึ่งของพระมารดาไปขาย แลกเป็นสินค้าออกเรือไปยังสุวรรณภูมิ ระหว่างทางในมหาสมุทร เรือต้องพายุล่มลง ลูกเรือตายหมดยังแต่พระมหาชนกรอดผู้เดียว ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร 7 วัน 7 คืน จนได้พบ[[นางมณีเมขลา]] เมื่อนางมณีเมขลาได้โต้ตอบข้อธรรมะกับพระมหาชนกจนเป็นที่พอใจแล้ว นางจึงอุ้มพระมหาชนกไปส่งยังมิถิลานคร ฝ่ายมิถิลานคร พระโปลชนกได้ประชวรและเสด็จสวรรคต เหลือเพียงพระราชธิดานาม "สีวลีเทวี" ก่อนสวรรคตทรงตั้งปริศนาเรื่องขุมทรัพย์ทั้งสิบหกไว้สำหรับผู้จะขึ้นครองราชย์ต่อไป แต่ไม่มีผู้ใดไขปริศนาได้ เหล่าอำมาตย์จึงได้ประชุมกันแล้วปล่อยราชรถ ราชรถก็แล่นไปยังที่มหาชนกบรรทมอยู่ เหล่าอมาตย์จึงเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์และอภิเษกกับสีวลีเทวี ทรงไขปริศนาต่างๆ ได้ และทรงครองราชสมบัติโดยธรรม หลังจากนั้นพระองค์จึงให้อำมาตย์ทั้งหลายรับพระเทวีผู้เป็นพระราชมารดาและอุทิจจพราหมณ์มหาศาลให้ลงมาอยู่ที่กรุงมิถิลาด้วยกัน
 
อยู่มาวันหนึ่งพระมหาชนกได้เสด็จประพาสพระราชอุทยาน ที่พระราชอุทยานนั้นมีต้นมะม่วงต้นใหญ่อยู่สองต้น ต้นหนึ่งมีผลรสชาติวิเศษยิ่งนัก อีกต้นหนึ่งไม่มีผล พระองค์เสวยผลของต้นมะม่วงที่มีผลเพียงเล็กน้อยแล้วเสด็จประพาทในพระราชอุทยานต่อ ทรงดำริว่าจะเสวยให้มากๆ เมื่อถึงตอนเสด็จกลับมาที่ต้นมะม่วงนั้นอีกครั้ง ฝ่ายมหาชนทั้งหลายครั้นเห็นพระมหาชนกเสวยผลมะม่วงแล้วก็กรูเข้าแย่งกันเก็บผลมะม่วงนั้นไปเสวยบ้าง ที่เก็บเอาผลมะม่วงไม่ได้ก็พากันทำลายต้นมะม่วงเสียด้วยหวังว่าจะไม่ให้คนอื่นได้กินเช่นเดียวกับตน เมื่อพระมหาชนกเสด็จกลับมาอีกครั้ง ได้ทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วงมีผลโค่นล้มหักทำลายลง ส่วนต้นมะม่วงที่มีผลยังคงยืนตระหง่านอยู่ ก็ทรงสลดพระราชหฤทัย ทรงปรารภในข้อธรรมะและคิดหาหนทางแก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้น พระองค์จึงเชิญอุทิจจพราหมณ์มหาศาลมาเพื่อทรงแนะอุบายในการฟื้นฟูต้นมะม่วงที่เสียหายให้กลับมามีผลได้ และทรงปรึกษาเรื่องการตั้งสถานที่อบรมวิชาความรู้ต่างๆ แก่ผู้คนเพื่อขจัดความรู้ไม่รู้ของมหาชน อุทิจจพราหมณ์มหาศาลเห็นด้วยกับแนวพระราชดำริดังกล่าวและรับรองว่าจะนำพระราชดำริเหล่านั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผลต่อไป
 
== อ้างอิง ==
เส้น 15 ⟶ 22:
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* {{YouTube|id=oESIu4nT7Uw|title=พระมหาชนก : The Story of MAHAJANAKA}}
 
[[หมวดหมู่:พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]