ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮิปฮอปไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หัวใจร้าว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
หัวใจร้าว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2:
{{ตรวจลิขสิทธิ์}}
{{Issues|ต้นฉบับ=yes|ต้องการอ้างอิง=yes}}
ดนตรีแร็ปได้เข้าสู่วงการเพลงของไทยจากกลุ่มคนไทยกลุ่มเล็กๆ ที่ชื่นชอบเพลงแร็ป โดยเฉพาะในช่วงยุค 90s ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของดนตรีฮิปฮอปในโลกยุคโลกาภิวัตน์ และพัฒนาขยายกลุ่มต่อมาตามยุคสมัย ในช่วงแรกนั้น เป็นการเข้ามาในค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ เช่น คีตา เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส วง TKO ค่ายคีตา นับเป็นวงดนตรีแร็ปวงแรกที่บุกเบิกดนตรีแร็ป-ฮิปฮอปในบ้านเรา โดยออกอัลบั้ม Original Thai Rap เพื่อเป็นทางเลือกและท้าทายวงการเพลงไทยกระแสหลัก ขณะที่ศิลปินในค่ายใหญ่อย่างแกรมมี่และอาร์เอส ก็ได้นำเสนอเพลงแร็ปแฝงผ่านแนวเพลงป็อปและแดนซ์ เนื่องจากมีความเชื่อว่าคนไทยยังนิยมดนตรีกระแสหลักอยู่มาก
ใน[[ประเทศไทย]]แนว'''[[ฮิปฮอป]]'''และ'''[[แร็ป]]'''ยังไม่ได้อยู่ในกระแสหลักแต่มี[[ศิลปิน]]ผู้ปูทางอย่าง [[โจอี้บอย]] [[ก้านคอคลับ]]และเพื่อนที่แยกกันไปอย่างไทเทเนี่ยม<ref>{{cite web|author= |url=http://travel.cnn.com/bangkok/play/thailand%E2%80%99s-hip-hop-godfathers-all-grown-995611 |title=Thaitanium releases sixth album: "Still Resisting" &#124; CNN Travel |publisher=Travel.cnn.com |date=2010-06-11 |accessdate=2014-02-25}}</ref>
 
เจ เจตริน วรรธนะสิน ศิลปินสังกัดแกรมมี่ และทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ในสังกัดอาร์เอส นับเป็นศิลปินยุคแรกๆ ที่นำเอาเพลงแร็ปเข้ามาสู่วงการเพลงไทยโดยแฝงเข้ามาในรูปแบบของป็อปแดนซ์ ปี พ.ศ. 2536 เพลง “ยุ่งน่า” และเพลง “สมน้ำหน้า” ในอัลบั้มของเจ เจตริน เป็นเพลงแร็ปเต็มตัวที่ติดหูคนไทยและได้รับความนิยมยาวนาน ส่วน แร็ปเตอร์ ศิลปินคู่แนวฮิปฮอปของค่ายอาร์เอส คือศิลปินรุ่นต่อมาที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นไทย ด้วยการนำดนตรีป็อปมาผสมกับแร็ป เช่น เพลง “ซูเปอร์ ฮีโร่” และเพลง “อย่าพูดเลย” ในอัลบั้ม Raptor และ Waab Boys
 
ดนตรีแร็ป-ฮิปฮอปเริ่มประสบความสำเร็จมากขึ้นในปี 2538 เมื่อโจอี้ บอย หรือ อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต ได้ออกอัลบั้ม โจอี้ บอย ซึ่งเป็นเพลงแร็ปทั้งอัลบั้มเป็นชุดแรกให้กับค่ายเบเกอรี่ มิวสิก ประจวบเหมาะกับที่กระแสดนตรีในเมืองไทยได้เริ่มออกจากกระแสหลักไปสู่แนวอิสระ ทำให้เพลงแร็ปได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ต่อมาโจอี้ บอย ยังได้ก่อตั้งค่ายเพลงก้านคอคลับ ที่มีศิลปินฮิปฮอปชื่อดังอย่าง บุดด้า เบลส สิงห์เหนือเสือใต้ ฯลฯ
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้เกิดวงแร็ปเปอร์หน้าใหม่ ชื่อ ไทเทเนี่ยม (ประกอบด้วยสมาชิก ขันเงิน เนื้อนวล จำรัส ทัศนละวาด และปริญญา อินทชัย) เป็นกลุ่มเพื่อนที่รวมตัวกันที่นิวยอร์ก และมีเอกลักษณ์จากทรงผมและการแต่งตัวที่เต็มไปด้วยเครื่องประดับ ต่อมาวงไทเทเนี่ยมได้เข้าไปอยู่ในค่ายสนามหลวงในเครือของจี เอ็ม เอ็ม แกรมมี่ ที่มีเพลงฮิตอย่างเพลง “ทะลึ่ง” (พ.ศ.2548) “Love for my city” (พ.ศ.2557) “บ่องตง” (พ.ศ.2559) ฯลฯ จนกลายเป็นขวัญใจแฟนเพลงวัยรุ่นไทยที่ชื่นชอบเพลงแร็ปจนถึงปัจจุบัน
 
นอกจากนี้ยังมีศิลปินแร็ปสไตล์ไทยอย่าง ปู่จ๋าน ลองไมค์ หรือพิษณุ บุญยืน ศิลปินแร็ปเปอร์ชื่อดังที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน ก็ได้ออกเพลงแร็ปที่โด่งดังอย่าง “นางฟ้าจำแลง” “ตราบธุลีดิน” “แลรักนิรันดร์กาล” “สะพานไม้ไผ่” “มณีในกล่องแก้ว” รวมถึงวงดนตรีและศิลปินแร็ปที่เกิดขึ้นอีกมากมาย เช่น Southside, Snoopking, Illslick, J$R, Chitswift ฯลฯ สิ่งที่น่าสนใจคือ ศิลปินหรือวงแร็ปเหล่านี้หลายคนทำงานเพลงทั้งใต้ดินและบนดิน
 
ศิลปินแร็ปไทยกลุ่มใต้ดินจัดว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาดนตรีแร็ปในประเทศไทย เนื่องจากเป็นการรวมตัวกันของศิลปินแร็ปที่มีความสามารถ มีแนวคิดทางดนตรีที่ต้องการบรรยายความรู้สึกถึงปัญหาต่างๆ ของสังคมไทย ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง การทุจริต ความเหลื่อมล้ำ ความรุนแรง เรื่องชู้สาวและประเด็นทางเพศ ความอยุติธรรมในสังคม ที่ไม่สามารถบอกด้วยเสียงเพลงบนดินได้ ด้วยเนื้อหาคำพูดที่รุนแรง ใช้คำหยาบและเกี่ยวข้องกับสังคม การเมืองการปกครองของไทย ดังนั้นกลอนเพลงแร็ปและแนวดนตรีจึงค่อนข้างมีความแปลกใหม่และสร้างสรรค์ทั้งด้านเนื้อเพลงและจังหวะดนตรีที่หลากหลาย เพื่อสะท้อนปัญหาหรือความจริงของสังคมไทยขณะนั้น
 
วงการแร็ปใต้ดินยังเป็นวงการที่มีการแข่งขันสูง เพราะรวมเหล่านักแร็ปไทยระดับแนวหน้าไว้จำนวนมากหนึ่งในนั้นคือ ดาจิม หรือ สุวิชชา สุภาวีระ ศิลปินแร็ปใต้ดินยุคแรกที่เป็นที่รู้จักของคนไทย ดาจิมสร้างชื่อจากอัลบั้มสองชุด คือ Hip Hop Underworld ปีพ.ศ. 2543 ในค่าย N.Y.U. ที่เขาดูแลเอง และอัลบั้ม Hip Hop Above the Law ที่มียอดขายในวงการใต้ดินถึง 8,000 ชุด แต่สุดท้ายดาจิมถูกตำรวจจับเนื่องจากเนื้อหาของเพลงอัลบั้มชุดที่สองมีเนื้อหาหยาบคายและไปในทางลากมกอนาจาร ก่อนที่เขาจะย้ายไปอยู่ในค่ายจีนี่ เรคคอร์ด และออกอัลบั้มชุดแร็ปไทย พ.ศ. 2545 และ Twilight Zone และย้ายไปอยู่ค่าย Masscotte Entertainment ตามลำดับ
 
นอกจากดาจิมแล้ว ยังมีศิลปินแร็ปใต้ดินที่มีชื่อเสียงอีกมากมายเช่น ณัฐวุฒิ ศรีหมอก หรือ ฟักกลิ้งฮีโร่ ศิลปินเครายาวร่างยักษ์ผู้มีฝีมือในการแต่งเพลงและร้องแร็ปอย่างช่ำชอง ผลงานของฟักกลิ้งฮีโร่ปรากฏทั้งบนดินและใต้ดิน เพลงแร็ปใต้ดินหรือ Lost Tapes ของเขาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Rapway สยามประเทศ ชู้รัก แร็ปตุ๊ด (รักนวลสงวนตัว) ฯลฯ ฑิฆัมพร เวชไทยสงค์ หรือ อิลสลิก (Illislick) แร็ปเปอร์ใต้ดินชื่อดังอีกคนที่สร้างเอกลักษณ์ของตัวเองในสไตล์ Slow Jam และได้ออกอัลบั้มชื่อ No Apologies (พ.ศ. 2557) ศิลปินวง CP สมิง แร็ปเปอร์ใต้ดินจากยะลาที่ได้รับความนิยมมากในขณะนี้ ด้วยเอกลักษณ์การแร็ปที่เป็นมืออาชีพ รวดเร็วกระฉับ เพลง “เพื่อนตาย” (พ.ศ. 2547) ของ CP สมิงมียอดวิวในยูทูบถึงสิบล้านวิว ส่วนศิลปินแร็ปใต้ดินกลุ่ม RAD หรือ Rap Against Dictatorship กับผลงาน เพลง“ประเทศกูมี” (พ.ศ.2561) ก็นับเป็นกลุ่มศิลปินที่ได้รับความนิยมสูงสุดตอนนี้ โดยมียอดวิวในยูทูบมากถึงเกือบสี่สิบล้านวิว
 
== ประวัติ ==