ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sodacan (คุย | ส่วนร่วม)
vector version available (GlobalReplace v0.6.5)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 50:
 
=== ถึงแก่พิราลัย ===
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ถึงแก่พิราลัยด้วยโรค[[วัณโรค]]ภายในเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2465/D/2003_2.PDF ข่าวตาย], เล่ม ๓๙, ตอน ง, ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๕, หน้า ๒๐๐๓</ref><ref name="วรชาติ">วรชาติ มีชูบท, ''เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ'', กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า 119</ref> สิริชันษา 65 ปี รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 25 ปี และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ณ เมรุชั่วคราวสนามเสือป่า (ปัจจุบันคือ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน[[โกศโถ]]ประกอบศพ มีฐานตั้ง 1 ชั้น พร้อมด้วยเครื่องอิสริยยศ ฉัตรเบญจาตั้ง 4 คัน เมื่อพระราชทานเพลิงมีเครื่องประโคมจ่าปี่ 1 กลองเป็นของสำหรับเมืองลำปาง<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/D/714.PDF พระราชทานเพลิงศพ], เล่ม ๔๔, ตอน ง, ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๗๑๔</ref> เหตุที่มีการพระราชทานเพลิงศพหลังจากถึงแก่พิราลัยไปแล้วกว่า 5 ปี เนื่องจากในขณะนั้นไม่มีทายาทองค์ใด ที่มีทรัพย์มากเพียงพอที่จะจัดการถวายเพลิงพระศพ จนความทราบถึง[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]<ref name="วรชาติ"/> จนกระทั่ง[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปยัง[[เจ้าดารารัศมี พระราชชายา]] ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะเจ้านายฝ่ายเหนือ ขอให้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในการจัดการพระศพ และถวายเพลิงพระศพอย่างสมเกียรติ พร้อมกับขอให้เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำพูน และน่าน ร่วมเป็นกรรมการด้วย<ref>ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น (บรรณาธิการ), '''2 ฟากแม่น้ำวัง 2 ฝั่งนครลำปาง''', ลำปาง : เทศบาลนครลำปาง, 2551</ref>
 
== ราชโอรส ราชธิดา ==