ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sawasdeeee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
ประมาณปี [[พ.ศ. 2517]] [[กระทรวงสาธารณสุข]] ได้วางโครงการขยายงานด้านการรักษาพยาบาลออกไปสู่เขตชุมชนมากขึ้น '''“สถานีอนามัยชั้น 1”''' จึงมีการพัฒนามากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็น '''“ศูนย์การแพทย์และอนามัย”''' ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2519]] ก็ได้ยกระดับมาเป็น '''“โรงพยาบาลท่าบ่อ”''' แต่การบริการด้านการรักษาพยาบาลก็ยังคงรูปแบบเดิม คือมีเตียงรักษาผู้ป่วย 10 เตียง มีแพทย์ประจำ 1 คน ปี [[พ.ศ. 2520]] ได้รับการยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาล 30 เตียง มีแพทย์ประจำปฏิบัติงาน มีพยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น
 
และเมื่อวันที่ [[3 มกราคม]] [[พ.ศ. 2520]] รัฐบาลร่วมกับพสกนิกรชาวไทย ได้บริจาคทุนทรัพย์ร่วมกันจัดสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชขึ้นในอำเภอต่างๆ ทั่วประเทศจำนวน 21 แห่ง โรงพยาบาลท่าบ่อได้เปลี่ยนชื่อเป็น '''“โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ”''' และ[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร]]) ได้เสด็จฯ มาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ [[12 กันยายน]] [[พ.ศ. 2520]] และเสด็จฯ มาทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ [[18 มกราคม]] [[พ.ศ. 2522]]
 
ในปี [[พ.ศ. 2524]] [[กระทรวงสาธารณสุข]]ขออนุมัติให้โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ขยายจากขนาด 30 เตียงเป็นโรงพยาบาล 60 เตียง และต่อมาก็ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง