ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Raphind (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
| สมณศักดิ์ = พระครูพิศาลวิริยคุณ
| วันเกิด = 4 เมษายน พ.ศ. 2469
| วันบวช = พ.ศ. 24392489
| วันตาย = 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561
| พรรษา = 72
บรรทัด 24:
เป็นชา่วจังหวัดสุโขทัยโดยกำเนิด เกิดและโตที่ที่บ้านเกิดคือตำบลบางคลอง อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ในวัยเยาว์เรียนจบการศึกษาชั้นปีที่ 4 จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2487 สิงห์โต มีอายุราว 18 ปี นายเหรียญ ซึ่งเป็นศึกษาธิการ[[จังหวัดสุโขทัย]] และสนิทสนมกับกำนันแดง เทศกาล ซึ่งเป็นลุงแท้ ๆ ของสิงห์โตได้ชักชวนให้ไปสมัครเป็นครู แต่พ่อของสิงห์โต ไม่อนุญาตด้วยว่าเคยเป็นครูมาก่อน จึงทราบดีว่าการเป็นครูสมัยนั้นลำบากกับเงินเดือนเพียงแค่ 6 บาท (พ.ศ. 2487) ซึ่งไม่พอใช้จ่าย ทำอาชีพอื่น ๆ มีรายได้มากกว่าเป็นครู
 
ครั้นใน พ.ศ.2489 เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว สิงห์โต ได้อุปสมบทตามความปรารถนา ของพ่อแม่และญาติมิตร งานอุปสมบทนาคสิงห์โต สมเกียรติกับที่ท่านเป็นหลานกำนันแดง ตามสมัยนิยมคือมีหมอทำขวัญนาค ลิเก และกลองยาว เป็นงานอันยิ่งใหญ่ นาคสิงห์โตทำการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบางคลอง [[ตำบลปากแคว]] อำเภอเมือง [[จังหวัดสุโขทัย]] โดยมี[[พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน)]] เจ้าคณะ[[จังหวัดสุโขทัย]] วัดราชธานี (เดิมดำรงตำแหน่งที่พระโบราณวัตถาจารย์) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินัยสารโสภิต (พระครูโต) วัดไทยชุมพล เป็นพระกรรมมาวาจารย์ และ พระครูปลัดทองคำ วัดบางคลอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
 
เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงพ่อโต ติสฺโส ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบางคลอง โดยมีท่านพระครูปลัดทองคำ เป็น เจ้าอาวาส ได้ 3 พรรษา และได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมชั้นตรี โท ตามลำดับ เห็นว่าการเล่าเรียนพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนามากพอที่จะรักษาตนไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จึงใคร่จะลาสิกขาสำเร็จตามใจคิด บังเอิญหลวงปู่แถม (หลวงปู่หนอ) โสภธมฺโม น้องชายแท้ ๆ ของ[[พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต)]] ซึ่งสมัยที่ครองเพศฆราวาสอยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกับหลวงพ่อโต ได้ขึ้นไปจากกรุงเทพ ฯ เพื่อเยี่ยมบ้านเกิด ก่อนที่หลวงปู่แถมจะกลับก็ชวนพระสิงห์โตลงไปเที่ยวกรุงเทพ ฯ หลวงพ่อโตจึงตัดสินใจเข้ามาเที่ยวตามคำชวน ครั้นมาถึงวัดบึงทองหลาง ก็เข้าไปกราบนมัสการ[[พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต)]] เจ้าอาวาส ในฐานะอาคันตุกะพระผู้น้อย เมื่อหลวงปู่พักทราบว่าหลวงพ่อโตเป็นบุตรของใคร มาจากไหน และด้วยอัธยาศัยเป็นที่ถูกใจ หลวงปู่พักจึงชวนให้จำพรรษากับท่านที่[[วัดบึงทองหลาง]] เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ครั้งแรกหลวงพ่อโต ก็ยังยืนกรานที่จะสิกขา หลวงปู่พักก็หว่านล้อมด้วยธรรมะต่าง ๆ ประกอบกับความเมตตาที่หลวงปู่พักมอบให้หลวงพ่อโต จึงตัดสินใจจำพรรษา ณ [[วัดบึงทองหลาง]] [[เขตบางกะปิ]] [[กรุงเทพมหานคร]] นับตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2491 จนถึงปัจจุบัน
 
นับตั้งแต่หลวงพ่อโต ได้เข้ามาอยู่อาศัยใบบุญของหลวงปู่พักใน [[วัดบึงทองหลาง]] ก็ได้รับเมตตาอนุเคราะห์ด้านต่าง ๆ จากหลวงปู่ประดุจดังลูกหลาน ทั้งในด้านหน้าที่การงานและด้านคำสอน หลวงปู่มอบให้หลวงพ่อโต ด้วยความเมตตาอาทิเช่น เสนอแต่งตั้งให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรภายในวัด พอมีอายุครอบ 5 พรรษา หลวงปู่จึงแต่งตั้งให้เป็นพระครูสวด [[พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต)]] ผู้เป็นเสมือนเบ้าหลอมดวงใจแห่งศรัทธา เจ้าอาวาส[[วัดบึงทองหลาง]] เจ้าคณะ[[แขวงวังทองหลาง]] และเป็นพระอุปัชฌาย์เพียงรูปเดียวใน[[เขตบางกะปิ]] สมัยนั้นได้ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของวันพฤหัสบดี ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2501 สิริอายุได้ 82 ปี ยังความโศกเศร้าให้แก่คณะสงฆ์[[วัดบึงทองหลาง]]โดยเฉพาะหลวงพ่อโต มีความโทรมนัสเป็นอย่างยิ่งด้วยด้วยการจากไปและความอาลัยรักในหลวงปู่ คณะศิษยานุศิษย์ได้นำศพของหลวงปู่ไว้สักการะเป็นเวลา 2 ปี 7 เดือน กับอีก 1 วัน จึงได้ขอพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2503
 
หลังจากหลวงปู่มรณภาพแล้วคณะสงฆ์และคณะศรัทธา[[วัดบึงทองหลาง]]ได้เสนอให้หลวงพ่อโต ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส[[วัดบึงทองหลาง]] เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2501 รักษาการเจ้าอาวาสอยู่เป็นเวลา 9 ปี จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส[[วัดบึงทองหลาง]] เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2510 ท่านได้ร่วมมือกับคณะสงฆ์และชาวบ้านช่วยกันพัฒนาวัด และจัดสร้างถาวรวัตถุ โดยมีผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างกุฏิ ศาลา อุโบสถวิหาร ห้องสุขา ขุดคลอง สร้างสะพาน สร้างหอระฆัง สร้างเมรุเผาศพ สร้างกำแพงวัด สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขุดบ่อน้ำบาดาล สร้างสุสานบรรจุศพ รวมเป็นเงินงบประมาณค่าก่อสร้างทั้งสิ้นหลายสิบล้านบาท งานพิเศษที่[[พระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส)]] ทำ เช่นการสงเคราะห์ฌาปนกิจศพผู้มีรายได้น้อยฐานะยากจน โดยท่านจะบริจาคโลงศพให้รายละ 1 โลง พร้อมเงิน 1,000 บาท พร้อมทั้งมีอาหารเลี้ยงแขกที่มาในงานอาทิเช่นข้าวต้ม กระเพาะปลา ปลาท่องโก๋ พร้อมทั้งกาแฟเสร็จ และขนาดว่าเสียชีวิตที่ใดไม่มีพาหนะจะนำศพมาวัด ทางวัดจะจัดรถไปรับศพถึงที่ และทำการฌาปนกิจศพโดยไม่คิดมูลค่า และค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยถือว่าเป็นบุญกุศลแก่ประชาชนผู้ยากจนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา จนสำนักเลขาธิการวัฒนธรรมแห่งชาติ จัดพิมพ์เผยแพร่การจัดงานศพแบบประหยัด เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบและเป็นแบบอย่างแก่วัดอื่น ๆ ต่อไปตั้งแต่วันที่๒๓ สิงหาคม พ.ศ. 2525 รวมทั้งได้รับการยกย่องให้เป็น “วัดพัฒนาตัวอย่าง” ใน พ.ศ. 2543 อีกด้วย <ref>คณะสงฆ์วัดบึงทองหลาง. (2552). หนังสือที่ระลึกงานสมโภชน์ยกช่อฟ้าและฉลองมณฑปธรรมสมาจารย์นุสรณ์ วัดบึงทองหลาง เขตบางกะปิ กทม. วันที่ 30 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2552,กรุงเทพ ฯ , สำนักพิมพ์ธรรมสภา,2552, หน้า 20-30.</ref>