ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dektonk (คุย | ส่วนร่วม)
Raphind (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 24:
=== บรรพชาและอุปสมบท ===
เมื่ออายุ ๘ ขวบ โยมบิดาได้พาเข้ากรุงเทพ ฯ มาฝากให้เป็นศิษย์[[วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร]] คอยปรนนิบัติรับใช้ สมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อมีความคุ้นเคยกับวัดดีแล้ว[[สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน)]]ได้เมตตา บรรพชาให้เป็นสามเณร ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย พระปริยัติธรรม รวมทั้งเรียนพุทธเทวมหามนต์ วิชาความรู้ทางช่าง บูรณะวัดและวิชาความรู้ต่าง ๆ ที่มีครูผู้สอน มีตำรับตำราตกทอดกันมา ศึกษาตำราการสร้างพระที่มีตกทอดสืบกันมา รวมถึงได้มีโอกาสได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานจากสำนักของ[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)]] [[วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร]]ด้วย ล่วงมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๓๙ อายุครบบวชได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถ[[วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร]] โดยมี[[สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน)]]-พ.ศ. 2365-2443) เป็นพระอุปัชฌาย์ [[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)]] {พ.ศ. 2399-2487} ที่กาลต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ธมฺมทตฺโต” หลวงปู่พัก เป็นพระภิกษุที่ขยันหมั่นเพียร หมั่นฝึกฝนตนเอง ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ท่องบ่นพุทธเวทมหามนต์ชั้นสูงของสำนัก[[วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร]]ตลอดจนมีความสามารถในการเจริญจิตภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน มีความสามารถเชี่ยวชาญจนกระทั่งนำไปถ่ายทอดสอนให้แก่ผู้อื่น ไปเป็นเจ้าอาวาส[[วัดบึงทองหลาง]] จนกระทั่ง 5 ปีผ่านไป ทาง[[วัดบึงทองหลาง]] ซึ่งมีพระอธิการสิน เป็นเจ้อาวาส ได้มีหนังสือมายัง [[สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน)]] ขอให้ส่งพระที่มีความรู้ มาช่วยดูแลวัดด้วยเพราะตัวท่านชราภาพมากแล้ว หลวงปู่พัก จึงได้รับคัดเลือกให้มาทำความเจริญรุ่งเรืองแก่[[วัดบึงทองหลาง]]ตั้งแต่บัดนั้น ในฐานะผู้ช่วยเจ้าอาวาส อีก 5 ปีต่อมาพระอธิการสิน มรณภาพ หลวงปู่พัก ได้จัดงานศพให้อย่างสมเกียรติ หลังจากนั้นจึงได้รับตราตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และอีก 2 ปีต่อมา เมื่อ พ.ศ.2445 ได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ เรียนวิชาเพิ่ม ในช่วงเวลานั้น หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต ได้ยินกิตติศัพท์ของ [[หลวงปู่ทอง อายะนะ]] [[วัดลาดบัวขาว (ราชโยธา)]] พระโขนง กทม. ซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกันว่าท่านเป็นพระแท้มีอาคมขลังเป็นที่นับถือของคนทั่วไปในย่านนั้น ท่านจึงพายเรือไปกราบนมัสการในฐานะพระผู้น้อยเคารพพระผู้ใหญ่ ต่อไปได้เห็นวัตรปฏิปทาของ [[หลวงปู่ทอง อายะนะ]] เพียบพร้อมน่าศรัทธา จึงบังเกิดความเลื่อมใส ขอฝากตัวเป็นศิษย์ ขอถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ วิชาการสร้างวัตถุมงคลให้ขลัง เรียนวิชาทำผงพุทธคุณ เรียนทำผงตรีนิสิงเห เรียนสูตรเขียนยันต์จนชำนาญ สำเร็จยันต์ถึงขั้นเคาะผงทะลุกระดานได้ หลวงปู่พัก ชอบยันต์นี้มาก และใช้ยันต์เป็นประจำต่อมา เมื่อท่านเขียนยันต์ตรีนิสิงเห ลงในตระกรุดผ้าประเจียด ผ้ายันต์ แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาญาติโยม ปรากฏว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ในด้านคงกระพันชาตรี ป้องกันเขี้ยวงา จนเป็นที่เลื่องลือ [[ศิษย์ร่วมสำนัก]] ศิษย์ฝ่ายสงฆ์ที่ไปขอเรียนวิชากับ[[หลวงปู่ทอง อายะนะ]] [[วัดลาดบัวขาว (ราชโยธา)]] ได้พบกันในกุฏิยุคนั้น
# [[หลวงพ่อคง ธัมมโชโต]] [[วัดบางกะพ้อม]] [[อำเภออัมพวา]] [[จังหวัดสมุทรสงคราม]]
# [[พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (แช่ม)]] วัดฉลอง จ.ภูเก็ต
# [[พระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม สุวณฺณสโร) วัดหนัง|พระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม สุวณฺณสโร)]] วัดหนัง กทม.
# [[พระครูกรุณาวิหารี (เผือก ปัญญาธโร)]] วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ
# [[พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต)]] วัดบึงทองหลาง กทม.
# [[พระปลัดหุ่น สุวณฺณสโร]] วัดนวลจันทร์ (วัดบางขวด) กทม.
# [[หลวงพ่อเผือก (วัดลาดพร้าว)]] กทม.
ซึ่งคณาจารย์ที่กล่าวมาล้วนแต่เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยคณาจารย์ล้วนแต่พายเรือลัดเลาะมาตามคลองเพื่อหาความรู้และหาครูบาอาจารย์ โดยมาขึ้นที่ท่าเทียบเรือ[[วัดลาดบัวขาว (ราชโยธา)]] เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์และศึกษาทางด้าน “เวทยาคม” จาก[[หลวงปู่ทอง อายะนะ]] ทั้งสิ้น