ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีรถไฟบ้านปิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Paweeraphat Thasee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Viseua (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มคำ ทิมเบอร์ ใน บาวาเรียนเฟรมเฮาส์ เป็น บาวาเรียนทิมเบอร์เฟรมเฮาส์ ตามคำที่ถูกต้องในภาษาอังกฤษว่า Bavarian timber frame house หรือ บ้านโครงไม้ซุงแบบบาวาเรีย
บรรทัด 93:
สถานีรถไฟบ้านปิน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 เปิดใช้งานเดินรถครั้งแรก วันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2457 หรือคริสต์ศักราช 1914 เป็น[[ทางรถไฟสายเหนือ|ช่วงการก่อสร้างเส้นทางและทดลองเดินรถในช่วงที่ 9]] ของการสร้างทางรถไฟสายเหนือ ระหว่าง '''ห้วยแม่ต้า-บ้านปิน''' ระยะทาง 13 กิโลเมตร โดยการรถไฟหลวงแห่งสยามที่มีพลเอก[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน]] เป็นผู้บัญชาการและมีนายช่างชาวเยอรมัน ชื่อ เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง
 
สถานีบ้านปิน เป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวของไทยที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบบาวาเรียนทิมเบอร์เฟรมเฮาส์ หรือแบบโครงไม้ อันเป็นแบบที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งใน[[แคว้นบาวาเรีย]] [[ประเทศเยอรมนี]] ผสมกับสถาปัตยกรรมแบบไทยคือ[[หลังคาทรงปั้นหยา|เรือนปั้นหยา]] ด้วยต้องการแสดงอิทธิพลให้กับชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวตะวันตกได้รับรู้ อันเนื่องจากในยุคสมัยนั้นยังคงเป็นยุค[[ล่าอาณานิคม]]อยู่ ตัวสถานีเป็นสีเหลืองอมส้ม
 
โดยหน้าสถานีจะมีหอประแจ เนื้องจากการสื่อสารสมัยนั้นยังไม่ค่อยดีข้างสถานีจะมีหอ แต่ปัจจุบันเลิกใช้งานแล้ว และข้างสถานีจะมีหอเติมน้ำสำหรับรถจักรไอน้ำ แต่ได้เลิกใช้งานแล้ว ปัจจุบันก็ยังเป็นรูปแบบตามเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยการตกแต่งเพิ่มสีสันใหม่