ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติ (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Yugiboy8701 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Yugiboy8701 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 14:
# [[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)|พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ]] (Organic Law) ถือว่ามีสักสูงกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ ที่ทำหน้าที่อธิบายขยายความและกำหนดรายละเอียดสาระสำคัญของเรื่องต่างๆ ในรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนและชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมกับมีบทบัญญัติโทษอย่างชัดเจน <ref>http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D</ref>
#พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ทั่วไป เป็นข้อบังคับกำหนดความประพฤติของบุคคล
#พระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน (Money Bill) เป็นพระราชบัญญัติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องเงิน ภาษีอากร เงินตรา การกู้เงิน การค้ำประกัน หรืองบประมาณแผ่นดิน ซึ่งจะต้องใช้กระบวนการในการเสนอและการพิจารณารวมทั้งเงื่อนไขเวลาในการยกขั้นพิจารณาใหม่เมื่อถูกยับยั้ง แตกต่างจากพระราชบัญญัติทั่วไป <ref>http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99</ref>มากไปกว่านั้น ตามมาตรา 133 แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ. 2560 ร่างพระราชบัญญัติการเงินจะเสนอได้ จะต้องได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรีด้วย หากมิใช่การเสนอโดยคณะรัฐมนตรี <ref name=":0">http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF</ref>
 
ทั้งนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 134 วรรค 2 วรรค 3 และ วรรค 4 ได้กำหนดไว้ว่า หากร่างพระราชบัญญัติใดเป็นที่สงสัยว่ามีลักษณะเกี่ยวข้องกับการเงินหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะเป็นผู้วินิจฉัย โดยให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรจัดให้มีการประชุมภายในสิบห้าวัน นับแต่ได้รับเรื่องข้อสงสัยดังกล่าว มติของที่ประชุมตามวรรค 2 ให้ใช้เสียงข้างมากเป็นประมาณการ หากมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรออกเสียงอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
บรรทัด 41:
 
== กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ==
<ref name=":1">http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4</ref>ร่างพระราชบัญญัติจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจึงค่อยได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา
 
=== การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎร ===
บรรทัด 68:
=== การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวุฒิสภา ===
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยวุฒิสภา จะต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติจากสภาผู้แทนราษฎร หากร่างพระราชบัญญัติมีลักษณะเกี่ยวข้องกับการเงิน จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ทั้งนี้เว้นแต่วุฒิสภาจะมีมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน กำหนดเวลาดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม และให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติมาถึงวุฒิสภา หากวุฒิสภาไม่สามารถพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้เสร็จภายในเวลากำหนด ให้ถือว่าวุฒิสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติการเงิน ให้ถือว่าความเห็นต่อลักษณะดังกล่าวของร่างพระราชบัญญัติเป็นที่สุด
 
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา จะทำในลักษณะเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วย 3 วาระเช่นกัน <ref name=":1" />
 
ในกรณีที่วุฒิสภาเห็นชอบในวาระที่ 3 เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแต่อย่างใด ให้ถือว่าร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าร่างพระราชบัญญัติถวายแก่พระมหากษัตริย์ภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติจากรัฐสภา เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ร่างพระราชบัญญัตินั้น ถือว่ามีผลบังคับใช้ทางกฎหมายทันที
 
หากวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อนและส่งคืนให้แก่สภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ได้เมื่อเวลาผ่านพ้นไป 180 วัน นับแต่วันที่วุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืน (ยกเว้นถ้าร่างพระราชบัญญัตินั้นเกี่ยวข้องกับการเงิน ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาใหม่ทันที) และถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราชบัญญัติเดิมด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ให้นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยได้ทันที <ref>https://www.baanjomyut.com/library_4/politics/11_28.html</ref>
 
=== ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ ===
อีกกรณีหนึ่งก็คือ ตามมาตรา 146 รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ.2560 หากรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแล้ว แต่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และ พระราชทานคืนมาที่รัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วยังไม่พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามเสียง จากจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้ง หากพ้นกำหนด 30 แล้ว พระมหากษัตริย์ยังมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสหมือนหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว <ref name=":0" />
 
== อ้างอิง ==