ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ปรับปรุงเนื้อหาครั้งใหญ่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
'''ถนนราชดำเนิน''' ({{lang-roman|Thanon Ratchadamnoen}}) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งใน[[กรุงเทพมหานคร]] ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก่
 
* '''ถนนราชดำเนินใน''' (Thanon Ratchadamnoen Nai) อยู่ในพื้นที่[[เกาะรัตนโกสินทร์]]ชั้นใน คือแขวงพระบรมมหาราชวัง [[เขตพระนคร]] เริ่มจาก[[ถนนหน้าพระลาน]] เป็นแนวถนนต่อจาก[[ถนนสนามไชย]] เลียบ[[ท้องสนามหลวง]]ฝั่งตะวันออก ขึ้นไปทางทิศเหนือ และสิ้นสุดที่[[สะพานผ่านพิภพลีลา]]ซึ่งเป็นสะพานข้าม[[คลองคูเมืองเดิม]]
* '''ถนนราชดำเนินกลาง''' (Thanon Ratchadamnoen Klang) อยู่ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นนอก เริ่มจากสะพานผ่านพิภพลีลา ไปทางทิศตะวันออกผ่าน เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงตลาดยอดกับแขวงบวรนิเวศในพื้นที่เขตพระนคร ไปจนตัดกับ[[ถนนตะนาว]]ที่[[แยกคอกวัว]] จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศเดิมผ่าน[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]] และ[[ป้อมมหากาฬ]] และสิ้นสุดที่[[สะพานผ่านฟ้าลีลาศ]]ซึ่งเป็นสะพานข้าม[[คลองรอบกรุง]]
* '''ถนนราชดำเนินนอก''' (Thanon Ratchadamnoen Nok) อยู่นอกพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เริ่มจาก[[สะพานผ่านฟ้าลีลาศ]] ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตพระนครกับ[[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]] ถือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตพระนครกับเขตอื่นๆ เพียงเส้นเดียวที่เป็นถนน ระหว่างแบ่งเขต ถนนจะตัดกับ[[ถนนวิสุทธิกษัตริย์]] (ทางแยก จ.ป.ร.) และ[[ถนนกรุงเกษม]] (ทางแยกมัฆวาน) ก่อนข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่[[สะพานมัฆวานรังสรรค์]] และเข้าสู่แขวงดุสิต [[เขตดุสิต]] จากนั้นตัดกับ[[ถนนพิษณุโลก]] (ทางแยกสวนมิสกวัน) และมุ่งไปทางทิศเดิมจนไปสิ้นสุดที่[[ถนนศรีอยุธยา]] (ทางแยกหน้า[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]]) ตัดกับ[[ถนนศรีอยุธยา]]
 
== ภาพปริทัศน์ ==
{{wide image|Panoramic view of the Queen's Gallery, Bangkok, 2010.jpg|1000px|ถนนราชดำเนินบริเวณ[[สะพานผ่านฟ้า]]และ[[ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์]] (จุดตัดระหว่างถนนราชดำเนินกลางและราชดำเนินนอก)}}
เส้น 29 ⟶ 30:
ถนนราชดำเนินเป็นถนนที่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2442 เพื่อทรงใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินระหว่าง[[พระบรมมหาราชวัง]]กับ[[พระราชวังดุสิต]] เพื่อความสง่างามของบ้านเมืองและเพื่อให้ประชาชนได้เดินเที่ยวพักผ่อน จึงมีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนราชดำเนินให้กว้างที่สุด แต่ทรงให้สองฟากถนนเป็นที่ตั้งของวังและสถานที่ราชการใหญ่ ๆ มิให้สร้างตึกแถวหรือร้านเล็ก ๆ ซึ่งจะทำให้กลายเป็นย่านการค้า โดยในชั้นแรกนั้นทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อสร้างถนนที่ตำบลบ้านพานถมจะต้องรื้อป้อมหักกำลังดัสกร น่าจะรักษาชื่อป้อมไว้ใช้เป็นชื่อถนน แต่จะเรียกว่าถนนหักกำลังดัสกร ''"ก็ดูแปลไม่ได้ความกันกับถนน แต่พักเอาไว้ตรองทีหนึ่ง ควรจะต้องตั้งชื่อให้ทันก่อนตัดถนน"''
 
สาเหตุของการตัดถนนเนื่องจากมีพระราชดำริว่า ท้องที่ตำบลบ้านพานถมถึงท้องที่ตำบลป้อมหักกำลังดัสกรเป็นที่เรือกสวนเปลี่ยวอยู่ระหว่างถนนพฤฒิบาศ (ปัจจุบันคือ[[ถนนนครสวรรค์]]) กับ[[ถนนสามเสน]] ยังไม่เป็นที่สมบูรณ์ทันเสมอท้องที่ตำบลอื่น เพราะยังไม่มีถนนหลวงที่จะทำให้ประชาชนทำการค้าขายสะดวกขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นโดยตัดตั้งแต่ปลาย[[ถนนพระสุเมรุ]] ข้าม[[คลองรอบกรุง]]ที่ตำบลบ้านพานถม ตรงไปยัง[[ป้อมหักกำลังดัสกร]] ข้าม[[คลองผดุงกรุงเกษม]]บรรจบกับถนนเบญจมาศ (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของถนนราชดำเนินนอก) พระราชทานนามว่า "ถนนราชดำเนิน" เช่นเดียวกับ[[ถนนควีนส์วอล์ก]] ([[Queen’s walk]]) ใน[[กรีนปาร์ก]] ([[Green Park]]) ที่[[ลอนดอน|กรุงลอนดอน]] [[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[พระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์]] เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการและอธิบดีกรมสุขาภิบาล เป็นพนักงานจัดสร้างถนนราชดำเนิน ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายถนนราชดำเนินไปตัดทางในตำบลบ้านหล่อ เพื่อให้ถนนตรงได้แนวตลอดถนนเบญจมาศด้วย และโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนเทวียุรยาตร (ปัจจุบันคือ[[ถนนประชาธิปไตย]]) ผ่านตำบลบ้านพานถมขึ้นแทน ถนนราชดำเนินนอกเริ่มตั้งแต่ถนนพฤฒิบาศ ผ่านตำบลบ้านหล่อไปออกตำบลป้อมหักกำลังดัสกร ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปบรรจบกับถนนเบญจมาศ ถือเป็นถนนสายแรกที่ใช้วิธีการใช้จ่ายค่าเวนคืนที่ดินในการเวนคืนเพื่อตัดถนน
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดถนนราชดำเนินนอก [[สะพานมัฆวานรังสรรค์]] และถนนเบญจมาศ เนื่องในอภิลักขิตสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 50 พรรษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2444 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนราชดำเนินกลาง ตั้งแต่สะพานเสี้ยว ตรงไปข้าง[[คลองรอบกรุง|คลองบางลำพู]]ต่อกับถนนราชดำเนินนอก จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกถนนราชดำเนินช่วงแรกว่าถนนราชดำเนินนอก ต่อมามีการก่อสร้างถนนราชดำเนินในมาจด[[ถนนหน้าพระลาน]] โดยสร้างขยายแนวถนนจักรวรรดิวังหน้าเดิม เริ่มจากแยกจุดบรรจบระหว่างถนนหน้าพระลานและถนนสนามไชย เลียบท้องสนามหลวงฝั่งตะวันออก และไปบรรจบถนนราชดำเนินกลางที่สะพานผ่านพิภพลีลา แล้วเสร็จใน [[พ.ศ. 2446]]