ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศลาว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hakim dorloh (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 142:
 
=== สมัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ===
ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2518 กองประชุมผู้แทนทั่วประเทศที่[[เวียงจันทน์|นครหลวงเวียงจันทน์]] มีผู้แทนเข้าร่วม 264 คน พิจารณารับรองประกาศยุบรัฐบาลชั่วคราวแห่งชาติ และพิจารณาเรื่องต่างๆ กองประชุมมีมติเอา[[ธงชาติลาว|ธงดวงเดือน]]เป็นธงชาติลาว เอาเนื้อร้อง[[เพลงชาติลาว|เพลงชาติใหม่]] เอา[[ภาษาลาว]]เป็น[[ภาษาทางการ]] ยกเลิกระบอบราชาธิปไตยและสถาปนาเป็น'''สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว''' แต่งตั้ง[[เจ้าสุภานุวงศ์]]เป็นประธานประเทศ, [[ไกสอน พมวิหาน|ท่านไกสอน พมวิหาน]] เป็นนายกรัฐมนตรี, [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าเชษฐาขัติยวงศา พระมหาศรีสว่างวัฒนา|เจ้าศรีสว่างวัฒนา]] เป็นที่ปรึกษาสูงสุดของประธานประเทศ, [[เจ้าสุวรรณภูมา]] เป็นที่ปรึกษาสูงสุดของรัฐบาล และมีมติอื่นๆ ในวันที่ [[2 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2518]] และปิดกองประชุมด้วยผลสำเร็จ แต่ภายหลังพรรคประชาชนปฏิวัติลาวก็ได้กุมตัว[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าเชษฐาขัติยวงศา พระมหาศรีสว่างวัฒนา|อดีตเจ้ามหาชีวิต]],[[พระนางคำผุย|พระมเหสี]]และอดีตพระบรมวงศานุวงศ์ราชวงศ์ล้านช้าง ไปคุมขังในค่ายกักกัน เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง และต่อมาทุกพระองค์ต่างสิ้นพระชนม์ด้วยโรคมาลาเรีย และยังมีการจับกุมนักการเมือง ข้าราชการในระบอบเก่า รวมทั้งประชาชนลาวจำนวนมากเข้าค่ายกักกัน ส่วนใหญ่เสียชีวิตด้วยโรคขาดสารอาหารและถูกยิงทิ้ง
 
ในช่วงแรกของการปกครองโดยรัฐบาล สปป.ลาว มีการควบคุมวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนาอย่างเข้มงวด มีการทำลายหนังสือที่ขัดแย้งกับความเชื่อใหม่ มีการประหารผู้ที่คิดล้มระบอบใหม่ และควบคุมชีวิตประชาชนในประเทศลาวอย่างเข้มงวด แต่หลังจากนั้นสภาพการปกครองและการบริหารด้านเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในระยะหลังของทศวรรษ 2530 เนื่องจากการล่มสลายของ[[สหภาพโซเวียต]] ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน เนื่องจากปัญหาสุขภาพและปัญหาทางการเมืองกับกลุ่มนิยมเวียดนาม ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อจากเจ้าสุภานุวงศ์คือ [[ไกสอน พมวิหาน]] ซึ่งเป็นลูกครึ่งลาว-เวียดนาม และเมื่อไกสอนถึงแก่กรรมกะทันหัน [[หนูฮัก พูมสะหวัน]] ซึ่งเป็นชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ลาวและไทยเปิด [[สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1|สะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว]] ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาหนูฮักสละตำแหน่ง [[คำไต สีพันดอน]]รับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี พ.ศ. 2549 คำไตลงจากตำแหน่ง [[จูมมะลี ไซยะสอน]] จึงเป็นผู้ที่รับตำแหน่งประธานประเทศลาว และยังถือตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกด้วย