ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
Art Tititham Narak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
'''โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง''' หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า '''รถไฟฟ้าบีทีเอส สายลาดพร้าว-เทพารักษ์''' เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่[[กรุงเทพมหานครและปริมณฑล]] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง|แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล]] ดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับ[[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]] ซึ่งกระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้เร่งรัดแผนงานจากกำหนดการเดิมในปี พ.ศ. 2572 มาอยู่ในช่วงแผนงานปัจจุบันคือ พ.ศ. 2562<ref>[http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9540000082642 สนข.ปรับเส้นทางรถไฟฟ้า หั่นเส้นทางสายสีล้มเร่งสร้างสายสีเหลือง]</ref> เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรบน[[ถนนลาดพร้าว]] ที่มีปัญหาการจราจรมาอย่างยาวนาน
 
โครงการได้รับการเสนอเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวทั้งโครงการ มีแนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวันออกของ[[กรุงเทพมหานคร]] และสิ้นสุดเส้นทางใน[[จังหวัดสมุทรปราการ]] มีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]] ที่[[สถานีลาดพร้าว]] จากนั้นไปตามแนว[[ถนนลาดพร้าว]]จนถึงทาง[[แยกบางกะปิ]] แล้วเบนไปทางทิศใต้ตามแนว[[ถนนศรีนครินทร์]] เชื่อมต่อกับโครงการ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม]]ที่สถานีลำสาลี เชื่อมต่อกับสถานีหัวหมากของ[[รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน|รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link)]] และ [[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน]] จากนั้นไปตามแนวถนนศรีนครินทร์ ผ่านทางแยกพัฒนาการ แยกสวนหลวง [[แยกศรีอุดม]] แยกต่างระดับศรีเอี่ยม จนถึงทางแยกศรีเทพา แล้วเบนไปทางทิศตะวันตก ตามแนว[[ถนนเทพารักษ์]] สิ้นสุดเส้นทางบริเวณแยกเทพารักษ์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับ[[สถานีสำโรง]] ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ระยะทางรวมประมาณ 30 กิโลเมตร
 
เดิมทีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองได้มีการพิจารณาออกเป็นหลายระบบหลายรูปแบบด้วยกัน เช่นเป็นโครงสร้างใต้ดินแล้วยกระดับ หรือเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวจนถึงพัฒนาการแล้วเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ารางหนัก หรือเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบาทั้งสาย หรือเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสาย แต่จากการเสนอที่ผ่านมาตลอดจนการอนุมัติการดำเนินโครงการ ผลปรากฏว่าเป็นการออกแบบในส่วนของรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสาย<ref>http://www.mrta.co.th/new_line/AW-MRTA_10_line_brochure-edit.pdf</ref>
บรรทัด 74:
 
=== ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ ===
โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางที่ด้านหน้าข้างโรงแรมเมเปิล บริเวณทาง[[แยกศรีเอี่ยม-บางนา]] ถนนศรีนครินทร์ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆใกล้ๆ กับ[[สถานีศรีเอี่ยม]]
 
=== สิ่งอำนวยความสะดวก ===
บรรทัด 213:
== ความคืบหน้า ==
* [[สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร]] (สนข.) โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการได้จัด'''การประชุมสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1''' เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการออกแบบเบื้องต้น โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง สายสีน้ำตาล และสายสีชมพู (พื้นที่โครงการสายสีเหลืองและสายสีน้ำตาล) เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2550 ที่[[โรงแรม คิงส์ ปาร์ค อเวนิว กรุงเทพฯ]] แขวงหนองบอน [[เขตประเวศ]] [[กรุงเทพมหานคร]] ซึ่งโครงการนี้จะใช้เวลาศึกษาอีก 15 เดือน การศึกษาแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2551{{อ้างอิง}}
* เมื่อวันที่ 20 มีมีนาคม พ.. 2557 คณะกรรมการ (บอร์ด) [[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]] (รฟม.) ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กม. จำนวน 23 สถานี วงเงิน 55,986 ล้านบาท หลังจากนี้ รฟม.ต้องนำเรื่องเสนอไปที่[[กระทรวงคมนาคม]] เพื่อนำเข้า ครม.ขออนุมัติโครงการต่อไป [http://m.thairath.co.th/content/region/411915 อ้างอิง]
* โครงการนี้เป็น1ใน4โครงการที่[[สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์]] เตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2557 และจะเปิดประมูลช่วงต้นปี พ.ศ. 2558
* เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 นางกอบกาญจน์ วัฒนวรากูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในหลักการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ (เบื้องต้น)<ref>[http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1459237622 ครม.ไฟเขียวโครงการรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง สายสีชมพู-สายสีเหลือง]</ref>
* 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เปิดขายซองประมูลวันแรก มีเอกชนเข้าซื้อซองประมูลทั้งหมด 17 ราย
* 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เปิดรับซองประมูล โดยมีผู้ยื่นซองประมูลพร้อมข้อเสนอทั้งหมด 2 ราย ได้แก่
บรรทัด 229:
* การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการได้จัด'''การประชุมสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1''' เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการออกแบบเบื้องต้น โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลืองส่วนต่อขยายระยะที่หนึ่ง แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ณ หอประชุมจันทร์จรัส อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม ซึ่งผลการศึกษาจะใช้เวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน กันยายน พ.ศ. 2560 - มีนาคม พ.ศ. 2561 หลังจากนั้นจะเป็นการยื่นขอผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งจะใช้เวลาอีก 6 เดือน เมื่อขั้นตอนทุกอย่างเสร็จสิ้นก็จะส่งมอบงานให้ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ดำเนินงานต่อได้ทันที โดยผลการศึกษาในเบื้องต้นระบุว่าสถานีส่วนต่อขยายช่วงนี้จะประกอบไปด้วยสองสถานี ซึ่งสอดคล้องกับสถานีที่กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ เคยเปิดเผยรายละเอียดมาก่อนหน้า ได้แก่ สถานีจันทร์เกษม (YLEX-01) ตั้งอยู่ด้านหน้าศาลอาญา และ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม และสถานีพหลโยธิน 24 (YLEX-02) ตั้งอยู่ภายในเขตสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน เนื่องจากเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. อันเป็นที่ดินของหน่วยงานรัฐบาล ทำให้ลดการเวนคืนที่ดินของประชาชน และเชื่อมต่อกับสถานีพหลโยธิน 24 ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทด้วยทางเดินยกระดับ
* ล่าสุด โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองอยู่ระหว่างดำเนินการงานรื้อย้ายสาธารณูปโภค บริเวณถนนลาดพร้าวโดยวางท่อประปาเส้นผ่าศูนย์กลาง 1500 มิลลิเมตร รวมถึงงานเข็มทดสอบที่สถานีกลันตันและสถานีรัชดา (พฤษภาคม พ.ศ. 2561)
* การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการจะจัด '''การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2''' เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการออกแบบเบื้องต้น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ส่วนต่อขยาย (แยกรัชดา - ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน) ในวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 08.30 -12.00 น. ณ ห้องประชุมบอลรูม ชั้น 6 อาคาร A ตึกช้าง แยกรัชโยธิน ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปพิจารณาประกาอบประกอบการจัดทำรายงานให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
* 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง และกระทรวงคมนาคม มีบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการเข้าใช้พื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีเหลือง อันได้แก่ ถนนติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณแยกหลักสี่ และถนนรามอินทรา สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู และถนนศรีนครินทร์ สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าอันจะเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ และในวันเดียวกัน รฟม. ได้มีหนังสือแจ้งเริ่มงาน (Notice to Proceed: NTP) กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด และบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด) โดยแจ้งล่วงหน้า 15 วัน กล่าวคือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับเหมาก่อสร้าง จะสามารถเข้าพื้นที่ได้ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มีกรอบระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน ทั้งนี้ รฟม. ยอมรับว่าติดขัดเรื่องข้อกำหนดการเข้าพื้นที่ ทำให้สามารถเข้าพื้นที่ได้ช้า และทำให้โครงการล่าช้ากว่าแผนถึงสามเดือน<ref>[https://mgronline.com/business/detail/9610000058827 ได้ฤกษ์ตอกเข็มโมโนเรล”ชมพู-เหลือง” รฟม.เคลียร์ทล.-กทม.ส่งพท.100%]</ref>
 
* 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าส้วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายเหลือง และสายสีชมพู ที่กลุ่มผู้ชนะการประมูลคือกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ได้เสนอเข้ามานั้น สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการตรวจสอบข้อกฎหมายและข้อกล่าวหาเรื่องการเอื้อผลประโยชน์ให้แก่เอกชน เนื่องมาจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู เป็นสองโครงการนำร่องที่มีการเปลี่ยนกติกาการประมูล โดยสามารถให้เอกชนสามารถเสนอรายละเอียดการพัฒนาโครงการเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับโครงการสายหลักได้ และการเสนอส่วนต่อขยายของกลุ่มบีเอสอาร์ ถือว่าเป็นไปตามเงื่อนไขนี้<ref>[https://www.thaipost.net/main/detail/15174 รฟม.ดันรถไฟฟ้าพีพีพี 3 สายเข้าครม.ในปีนี้]</ref> โดยในส่วนของส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติเห็นชอบผลการศึกษาและประชาพิจารณ์ในการดำเนินการส่วนต่อขยายระยะทาง 2.6 กิโลเมตร ภายใต้วงเงิน 3,800 ล้านบาท โดย รฟม. จะส่งรายละเอียดให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติเพื่อส่งต่อให้คณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาอนุมัติ หาก คจร. พิจารณาเห็นชอบ รฟม. ก็จะจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการรวมถึงรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะใช้วิธีการเจรจาร่วมทุนกับกลุ่มบีทีเอส เนื่องจากเป็นผู้รับสัมปทานโครงการ ประกอบกับระยะทางสั้นจึงคาดว่าไม่น่าจะมีเอกชนรายอื่นสนใจร่วมลงทุน<ref>[https://www.khaosod.co.th/economics/news_1449153 บอร์ดรฟม. ไฟเขียวผุดส่วนต่อขยายโมโนเรลสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-รัชโยธิน อีก 2.6 ก.ม.]</ref>
 
* 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561 กระทรวงคมนาคม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้จัดงาน '''MONORAIL ON THE MOVE เดินหน้าโมโนเรล สองสายแรกของประเทศไทย''' เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูอย่างเป็นทางการ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี การก่อสร้างโครงการจะใช้เวลา 39 เดือน (3 ปี 3 เดือน) โดย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ณ บริเวณต่างระดับศรีเอี่ยม โครงการมีความคืบหน้า 5.07% คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564<ref>[https://mgronline.com/politics/detail/9610000085576 นายกฯ กดปุ่มสร้างรถไฟฟ้ารางเบาสองสายรวด ย้ำทุกอย่างต้องเสียสละ สุจริตโปร่งใส]</ref>
 
* 18 กันยายน พ.ศ. 2561 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าของส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พหลโยธิน และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานีว่า รฟม. ได้ส่งรายละเอียดและผลการศึกษาถึงความเหมาะสมในการดำเนินโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติเพื่อส่งต่อให้คณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาอนุมัติและเพิ่มรายละเอียดเส้นทางลงในแผนแม่บทเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะรับทราบผลภายในเดือนกันยายน หาก คจร. พิจารณาเห็นชอบ รฟม. ก็จะจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการรวมถึงเจรจาถึงรูปแบบและความเหมาะสม รวมถึงส่วนแบ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นกับกลุ่มบีทีเอส ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานโครงการทันที<ref>[https://mgronline.com/business/detail/9610000093362 ลุ้นคจร.เคาะต่อขยายสีเหลืองเชื่อมรัชโยธิน และระบบขนส่งขอนแก่น,พิษณุโลก]</ref>
 
* 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะเลขานุการการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เปิดเผยหลังการประชุม คจร. ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า ที่ประชุม คจร. มีมติเห็นชอบให้บรรจุโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช - [[เมืองทองธานี]] ระยะทาง 3 กิโลเมตร ลงในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ​ และปริมณฑล โดยมีกรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสองโครงการประมาณ 7,518 ล้านบาท หลังจากนี้ คจร. จะส่งผลการประชุมแจ้งให้ รฟม. รับทราบ เพื่อให้ดำเนินการเจรจาถึงรูปแบบและความเหมาะสม รวมถึงส่วนแบ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นกับกลุ่มบีทีเอสทันที<ref>[https://www.thebangkokinsight.com/52832/ ไฟเขียว 'บีทีเอส' ลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลืองส่วนต่อขยาย]</ref>
 
* 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินการเจรจาถึงแผนการลงทุนส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พหลโยธิน ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร วงเงิน 3,700 ล้านบาท และส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร วงเงิน 3,300 ล้านบาท กับผู้ถือสัญญาสัมปทานคือกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งมีบีทีเอสเป็นผู้ถือหุ้นหลัก ทั้งนี้ รฟม. จะให้กลุ่มบีเอสอาร์ เป็นผู้ลงทุนส่วนต่อขยายนี้เองทั้งหมด ตามรายละเอียดที่ปรากฏในข้อเสนอเพิ่มเติมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินการของโครงการสายหลัก เมื่อได้ข้อสรุป รฟม. จะต้องนำรายละเอียดทั้งหมดเสนอต่อคณะกรรมการ รฟม. อีกครั้ง และดำเนินการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติการแก้ไขรายละเอียดในสัญญาสัมปทาน รวมถึงออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตเวนคืนที่ดินเพื่อดำเนินโครงการเพิ่มเติม และดำเนินการขอใช้พื้นที่กับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานครต่อไป ในส่วนของพื้นที่ของ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ทางกลุ่มบีทีเอสได้มีการพูดคุยรายละเอียดและขอใช้พื้นที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะยื่นรายละเอียดให้ รฟม. ดำเนินการพิจารณาออกกฎหมายเวนคืนที่ดินต่อไป ทั้งนี้ รฟม. คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายใน พ.ศ. 2562 และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้พร้อมกันกับเส้นทางหลักใน พ.ศ. 2564<ref>[https://www.dailynews.co.th/economic/691247 ต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพู-เหลือง เปิดปี64]</ref>