ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อันดับด้วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link GA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
| infraclassis = [[Neoptera]]
| superordo = [[Endopterygota]]
| ordo = '''[[Coleoptera]]'''<ref>[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt จาก ITIS.gov {{en}}]</ref>
| ordo_authority = [[Carolus Linnaeus|Linnaeus]], [[ค.ศ. 1758|1758]]
| subdivision_ranks = [[อันดับ (ชีววิทยา)|อันดับย่อย]]
บรรทัด 22:
}}
 
'''ด้วง''' หรือ '''แมลงปีกแข็ง''' ({{lang-en|Beetle}}) จัดเป็น[[แมลง]]ใน[[อันดับ (ชีววิทยา)|อันดับ]] '''[[Coleoptera]]''' ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับย่อยอีก 4 อันดับ (ดูในตาราง) จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ คือ เป็น [[ไข่]], [[หนอน]], [[ดักแด้]] และตัวเต็มวัย
 
ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น นับเป็นแมลงที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประมาณ[[ร้อยละ]] 40 ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมด (ประมาณ 400,000 [[สปีชีส์|ชนิด]]) มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เรียกว่า [[Elytra]] ซึ่งมาจาก[[ภาษากรีก]] (ἔλυτρον) ซึ่งหมายถึง แผ่น หรือ ปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาที่จะเกาะหรือคลาน จะหุบปีกโดยปีกคู่หน้าจะประกบกันสนิทเป็นเส้นตรงอยู่ตรงกลางลำตัว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือน[[ชุดเกราะ|เกราะ]]ป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว อย่างไรก็ตาม จะมีด้วงบางชนิดที่ปีกคู่หน้าเชื่อมติดกัน จึงไม่สามารถบินได้ และบางชนิดก็มีปีกคู่หน้าเล็กหรือสั้นกว่าลำตัวมากจนไม่สามารถปิดส่วนท้องได้สนิท