ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไวรอยด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Parichate (คุย | ส่วนร่วม)
Parichate (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 57:
เชื้อไวรอยด์ที่สำคัญ
1. ''Chrysanthemum stunt viroid'' (CSVd) พบครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาในปี 1945 (Dimock, 1947) และในช่วงทศวรรษที่ 50 เชื้อแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปยังแคนาดาและทั่วโลกที่มีการปลูกพืชวงศ์ chrysanthemum เนื่องจากขนส่งเคลื่อนย้ายไม้ตัดดอก (Lawson, 1987) CSVd เป็นเชื้อโรคที่สำคัญกับพืชทั่วไปและไม้ดอกหลายชนิด ลักษณะอาการที่สำคัญคือ ต้นแคระแกร็น ใบเสียรูปร่าง ระบบรากลดลง ยอดเกสรซีดและเป็นหมัน ในพืชบางชนิดจะทำให้เกิดอาการแคระแกร็นอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้ผลผลิตเสียหาย เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายไปกับเศษใบไม้จากพืชที่เป็นโรค (Hollings and Stone, 1973) ทางกล และการต่อกิ่ง (Brierley and Smith, 1949) ไม่สามารถถ่ายทอดโรคโดยแมลง (Brierley and Smith, 1951) และพบว่าในมะเขือเทศ CSVd สามารถถ่ายทอดโรคผ่านทางเมล็ดและละอองเกสรได้ (Kryczynski et al., 1988) อุณหภูมิและความเข้มของแสงจะมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเพิ่มปริมาณของเชื้อในพืช โดยการแสดงออกและความรุนแรงของโรคขึ้นกับปริมาณของเชื้อที่พืชได้รับรวมกับอุณหภูมิ ความเข้มของแสง และระยะเวลาที่พืชได้รับแสง โดยที่สภาวะที่ทำให้พืชแสดงอาการโรคได้ดีที่สุดคือ ที่ความเข้มแสงสูง อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 26 - 2929°C (Handley and Horst, 1988) พบว่า เมื่อนำน้ำคั้นจากพืชเป็นโรคที่เก็บที่ 1818°C นาน 7 สัปดาห์ ยังคงความสามารถทำให้พืชเกิดโรคได้ สามารถเจือจางเชื้อได้จนถึง 10-4 และพบว่ายังสามารถทำให้พืชเกิดโรคได้หลังจากที่ผ่านอุณหภูมิ 9898°C นาน 10 นาที (Brierley, 1952; Hollings and Stone, 1973) และในสภาพที่เป็นเนื้อเยื่อแห้งที่เก็บนานอย่างน้อย 2 ปียังสามารถทำให้พืชเกิดโรคได้ (Keller, 1953) เชื้อชนิดนี้ไม่สามารถกำจัดโดยวิธีการ heat treatment ได้ การป้องกันทำโดยการแช่วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในสารละลาย 2% trisodium orthophosphate (TSP) หรือ 2% formaldehyde หรือล้างมือใน 2% trisodium orthophosphate (TSP) ก่อนการตัดกิ่ง (Hollings and Stone, 1973)
 
2. ''Citrus exocortis viroid'' (CEVd) ลักษณะอาการที่สำคัญในมะเขือเทศคือจะมีอาการใบหงิกย่นม้วนลงและลดรูป ลำต้นเตี้ยแคระแกร็น ขนาดของผลลดลง ไวรอยด์ส่วนใหญ่มักจะอยู่ที่บริเวณเนื้อเยื่อ phloem ที่ยังเป็นเซลล์อ่อนอยู่ ส่วนใหญ่การกระจายของเชื้อจะกระจายในทิศทางสู่ยอดของลำต้น (Semancik et al., 1978; Baksh et al., 1983) ไวรอยด์ชนิดนี้อาศัยและเพิ่มปริมาณอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์พืช (Semancik et al., 1976) และอาศัย host RNA polymerase II ในการเพิ่มปริมาณ (Warrilow and Symons, 1999) การแพร่กระจายของเชื้อจะแพร่กระจายโดยทางกล เช่น อุปกรณ์ในการตัดแต่งกิ่ง มีด กรรไกร
บรรทัด 72:
 
8. ''Tomato apical stunt viroid'' (TASVd) พบการระบาดครั้งแรกใน Ivory Coast และ อินโดนีเซีย มีการรายงานว่าระบาดร้ายแรงใน อิสราเอล ลักษณะอาการที่สำคัญคือ ลำต้นข้อสั้น ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหดย่นและเสียรูปร่าง ขนาดผลลดลง สีผลซีด ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก การแพร่ระบาดของโรคเกิดโดยผ่านทางกลและการต่อกิ่ง ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายทอดโรคผ่านทางเมล็ดและทางละอองเกสร (Antignus et al., 2002)
 
 
9. ''Tomato bunchy top viroid'' (TBTVd) มีการรายงานครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ ลักษณะอาการมักจะขึ้นกับระยะการเจริญเติบโตของพืช (Diener, 1979) อาการโดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับเชื้อ PSTVd (Raymer and O’ Brien, 1962) โดยอาการเริ่มแรกจะพบเนื้อเยื่อตายบริเวณเส้นใบ จากนั้นอาการจะขยายไปตามความยาวของเส้นใบและจะกระจายไปยังก้านใบและลำต้น นอกจากนี้ยังทำให้ใบมีลักษณะผิดรูปร่าง ใบม้วนและมีขนาดเล็กลง มะเขือเทศที่ได้รับเชื้อ TBTVd สามารถออกดอกและติดผลได้แต่ผลจะมีขนาดเล็ก มีรูปร่างที่ผิดปกติ และมีจำนวนเมล็ดภายในผลลดน้อยลง (Diener, 1979, 1987)