ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
'''มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน''' เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีที่จัดการเรียนการสอนในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ นครราชสีมา [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น|ขอนแก่น]] [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร|สกลนคร]] และ[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์|สุรินทร์]] โดยได้รับการยกฐานะจากวิทยาเขตในสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่งทั่วประเทศไทย
 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเดิมใช้เป็นพื้นที่ฝึกภาคสนามของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเรียกว่า "ศูนย์ฝึกภาคสนามหนองระเวียง" ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฯได้รักษาสภาพพื้นที่ป่านี้ไว้ เพื่อใช้เป็นโรงเรียนธรรมชาติ มีพื้นที่ทั้งหมด 2,600 ไร่ มีรั้วล้อมรอบอย่างถาวร มีการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ คือ สวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ จำนวน 200 ไร่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จำนวน 200 ไร่ พื้นที่รองรับการขยายการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 1,100 ไร่ และพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 1,000 ไร่<ref>[http://www.rspg.or.th/articles/series5/nongrawiang1.htm โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หนองระเวียง]</ref> และในปี 2560 ได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทย โดยเว็บไซต์ http://www.webometrics.info ซึ่งเป็นเว็บไซต์จัดอันดับมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลก ได้จัดอันดับให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อยู่อันดับที่ 41 ของประเทศไทย และอยู่อันดับที่ 5,154 ของโลกอีกด้วย
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระราชินี .png|thumb|right|270px|[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระราชินี]] ทรงเสด็จเยี่ยมชมวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2507]]
{{บทความหลัก|มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล}}
'''มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล''' จัดตั้งขึ้นเป็น[[สถาบันอุดมศึกษา]]ระดับปริญญาครั้งแรก เมื่อวันที่ [[27 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2518]] โดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อว่า “'''วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา'''” และโอนวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรกรรม และวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัด[[กรมอาชีวศึกษา]] [[กระทรวงศึกษาธิการ]] เข้ามาสังกัด ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาราช บรมนาถบพิตร]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “'''ราชมงคล'''” เมื่อวันที่ [[15 กันยายน]] [[พ.ศ. 2531]] ([[วันราชมงคล]]) พร้อมทั้งมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 ทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"
 
ในระยะต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาต้องเป็นนิติบุคคล<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542]ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอน 74ก ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542</ref> ทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเริ่มมีแนวคิดในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนิติบุคคล กระทั่งเมื่อวันที่ [[18 มกราคม]] [[พ.ศ. 2548]] พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0A/00152772.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548]ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอน 6ก ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548</ref> ได้ประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]เป็นผลให้มี'''[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล]]'''เกิดขึ้นใหม่ จำนวน 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ผลิตครูวิชาชีพ และให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก