ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศิลปะทวารวดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
real peach easy
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
{{ขาดอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Buddha dvaravatistyle.jpg|thumb|275px|พระพุทธรูปปางแสดงธรรมที่[[พระปฐมเจดีย์]]]]
'''[[อาณาจักรทวารวดี]]''' (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นของชนชาติ[[มอญ]] [[ละโว้]] มีศูนย์กลางอยู่บริเวณ[[จังหวัดนครปฐม]] [[จังหวัดราชบุรี]] [[อำเภออู่ทอง]] และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และ[[ภาคอีสาน|ภาคตะวันออกเฉียงหนือ]] แถบ [[จังหวัดบุรีรัมย์]] [[จังหวัดปราจีนบุรี]] และขึ้นไปถึงทางเหนือ [[จังหวัดลำพูน]] มีศิลปะเป็นของตนเอง
 
== จิตรกรรม ==
* real peach easy
ไม่เหลืออะไรปรากฏเป็นหลักฐานทางด้านจิตรกรรม ชำรุดเสียหายไปหมดแล้ว เพราะงานจิตรกรรมเขียนด้วยวัสดุที่ไม่คงทน และถูกแดดถูกฝนจึงสูญหายไป
*
 
== ประติมากรรม ==
=== พระพุทธรูป ===
ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ
# มีลักษณะของอินเดียแบบ[[คุปตะ]]และหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของ[[อมราวดี]]อยู่ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมี จีวรเรียบเหมือนจีวรเปียก พระพุทธรูปนั่งจะขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12
# พัฒนาขึ้นจากแบบแรก โดยมีอิทธิพลพื้นเมืองผสมมากขึ้น พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา [[พระเกตุมาลา]]เป็นต่อมนูนใหญ่ บางทีมีรัศมีบัวตูมเหนือเกตุมาลา และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระเนตรโปน พระหนุ ([[คาง]]) ป้าน พระนลาฏ ([[หน้าผาก]]) แคบ พระนาสิกป้านใหญ่แบน พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ ยังคงขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 13-15
# พระพุทธรูปในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร เนื่องจากเขมรเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในสมัยเมืองพระนคร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ในระยะนี้จึงมีอิทธิพลเขมรแบบบาปวนในประเทศไทยเรียกว่าศิลปะลพบุรีปะปน เช่น พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักยิ้ม นั่งขัดสมาธิราบ เป็นต้น นอกจากพระพุทธรูปแล้วยังพบสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงการสืบทอดแนวคิดทางศิลปะอินเดียโบราณก่อนหน้าที่จะทำรูปเคารพเป็นรูปมนุษย์ภายใต้อิทธิพลศิลปะกรีก
 
=== ประติมากรรมกลุ่มเทวรูปรุ่นเก่า ===
เป็นประติมากรรม[[ศาสนาพราหมณ์]]หรือฮินดู อยู่ร่วมสมัยกับทวารวดีตอนต้น และตอนปลาย ในราวพุทธศตวรรษที่ 11-13 ที่เมือง[[ศรีมโหสถ]]และเมือง[[อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ|ศรีเทพ]] และพบอยู่ร่วมกับศรีวิชัยและทวารวดีที่ภาคใต้ของประเทศไทย มักจะทำเป็นรูป[[พระนารายณ์]]
 
ลักษณะพระพักตร์จะไม่เหมือนพระพุทธรูปแบบทวารวดี จะมีลักษณะคล้ายกับอินเดีย ตัวอย่างเช่น พระนารายณ์ที่ไชยาแสดงลักษณะอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบ[[มทุรา]]และ[[อมราวดี]](พุทธศตวรรษที่ 6-9) รวมทั้งที่พบที่นครศรีธรรมราช ซึ่งถือ[[หอยสังข์แตร|สังข์]]ด้วยพระหัตถ์ซ้ายด้านล่าง ผ้านุ่งและผ้าคาดที่พบที่ภาคใต้และที่เมืองศรีมโหสถ จะมีผ้าคาดเฉียงเหมือนศิลปะอินเดียหลังคุปตะ ([[ปัลลวะ]]) ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ส่วนเทวรูปรุ่นเก่าที่[[อำเภอศรีเทพ]]จะมีอายุใกล้เคียงกัน และที่[[อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ|ศรีเทพ]]นอกจากที่จะพบรูป[[พระนารายณ์]]แล้วยังพบรูป[[พระกฤษณะ]]และ[[พระนารายณ์]]ด้วย
 
ลักษณะของเทวรูปกลุ่มนี้ไม่เหมือนกับที่พบในเขมรเนื่องจากทำรูปลอยตัวอย่างแท้จริง ไม่ทำแผ่นหินมารับกับพระหัตถ์คู่บน แต่ยังไม่มีการนำเอากลุ่มเทวรูปนี้เข้าไปไว้ในศิลปะทวารวดี จึงเพียงมีแต่สมมุติฐานว่าเทวรูปกลุ่มนี้น่าจะเป็นทวารวดีที่เป็นพราหมณ์ การเข้ามาของเทวรูปนี่มีข้อคิดเห็นแตกไปเป็น 2 ทางคือ เป็น[[ศิลปะอินเดีย]]ที่นำเข้าที่พร้อมกับการติดต่อค้าขาย หรือเป็นศิลปะแบบอินเดียที่ทำขึ้นในท้องถิ่น และมีการพัฒนาการภายใต้อิทธิพลศิลปะพื้นเมืองแบบทวารวดีและ[[ศรีวิชัย]]
 
== สถาปัตยกรรม ==
สถาปัตยกรรมแบบทวาราวดีมักก่ออิฐและใช้สอดิน เช่น วัดพระเมรุและเจดีย์จุลปะโทน จังหวัดนครปฐม บางแห่งมีการใช้[[ศิลาแลง]]บ้าง เช่น ก่อสร้างบริเวณฐาน[[สถูป]] การก่อสร้าง[[เจดีย์]]ในสมัยทวารวดีพบทั้งเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังคว่ำมียอดแหลมอยู่ด้านบน
 
== เครื่องมือเครื่องใช้ ==
เครื่องมือเครื่องใช้ที่พบในแหล่งทวารวดีทั่วไปมักจะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เศษภาชนะดินเผา เนื้อดินมักทำเป็นภาชนะปากบาน ภาชนะทรง[[หม้อตาล]] เศษภาชนะเคลือบ มีทั้งที่เป็นเครื่องเคลือบจีนในสมัยราชวงศ์ถังถึงสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องเคลือบจากเตาในเขต[[จังหวัดบุรีรัมย์]] เครื่องเคลือบ[[เปอร์เซีย]] เครื่องใช้อื่น ๆ ก็มีพบ เช่น กุณฑีดินเผา กาดินเผา ตะคันดินเผา กระสุนดินเผา ที่ประทับตราดินเผา ตุ๊กตาดินเผา ฯลฯ นอกจาก[[เครื่องปั้นดินเผา]]แล้ว ยังพบเครื่องใช้[[สำริด]] ทั้งเป็นเครื่องใช้ทั่วไปกับที่เป็นของของสูง หรือของที่ใช้ในพีธีกรรม เช่นคันฉ่อง เครื่องประกอบราชยานคานหาม และเครื่องใช้ทำจากเหล็ก นอกจากเครื่องใช้แล้วยังพบเครื่องประดับทำจากหิน [[แก้ว]] ดินเผา [[สำริด]] [[ทองคำ]] ได้แก่ [[ลูกปัด]] แหวนตุ้มหู [[กำไล]] ฯลฯ
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Dvaravati art}}
*[http://www.heritage.thaigov.net/religion/prapoot/index1.htm#tp1 หอมรดกไทย-พระพุทธรูปสมัยทวาราวดี]
* [http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Nattaphon_Boonutid/Chapter3.pdf พุทธสถาปัตยกรรม ทวาราวดี เมืองโบราณบ้านคูบัว]
 
[[หมวดหมู่:อาณาจักรทวารวดี]]