ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีหัวลำโพง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
Ciwat (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34:
สำหรับที่ตั้งของสถานีหัวลำโพง นอกจากมีความโดดเด่นจากการเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งเป็นต้นทางหลักของรถไฟทางไกลทั่วประเทศแล้ว ยังอยู่ใกล้กับย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน บริเวณ[[ห้าแยกหมอมี|สามแยก (ห้าแยกหมอมี)]], [[ตลาดน้อย]] และ[[วงเวียนโอเดียน]] ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ[[ถนนเยาวราช]] หรือ "ไชน่าทาวน์" ของเมืองไทย ทำให้สถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพงเป็นอีกหนึ่งสถานี ที่มีบทบาทสำคัญด้านการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ และในขณะนี้ที่ระบบรถไฟฟ้ายังครอบคลุมไปไม่ถึงพื้นที่เมืองเก่าบริเวณ[[เกาะกรุงรัตนโกสินทร์]] สถานีหัวลำโพงก็ยังมีความสำคัญต่อการเดินทางของผู้โดยสารในย่านเมืองเก่า เช่น [[เยาวราช]] [[คลองถม]] [[พาหุรัด]] [[ปากคลองตลาด]] ซึ่งโดยสารรถประจำทางมาเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดินออกสู่พื้นที่อื่น ๆ ของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะด้านตะวันออก เพราะในปัจจุบันสถานีหัวลำโพงถือได้ว่าเป็นสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ใกล้กับเขตเมืองเก่ามากที่สุด เพียงถัดจาก[[คลองผดุงกรุงเกษม]] ซึ่งเป็นคูเมืองชั้นนอกสุดของกรุงเทพฯ บริเวณ[[สะพานเจริญสวัสดิ์ 36]]
 
โดยปัจจุบัน (พ.ศ. 25582562) สถานีหัวลำโพงยังคงเป็นสถานีปลายทางในระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล แต่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค โดยหลังจากนี้ชานชาลาที่ 1 ที่มุ่งหน้าไป[[สถานีหลักสอง]] จะลดระดับกลายเป็นชานชาลาแบบสองชั้นเหมือนเดิม เนื่องจากวิ่งเลียบเข้าถนนเจริญกรุงที่มีทางแคบ และจะลดระดับลงไปเรื่อยๆ จนถึงความลึกที่ 40 เมตร เพื่อลอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วยกระดับขึ้นมาเรื่อยๆ จนมาขึ้นพ้นระดับใต้ดินที่บริเวณสถานีอิสรภาพ ก่อนมุ่งหน้าเข้าสู่[[สถานีท่าพระ]]
 
และในอนาคต สถานีหัวลำโพงจะเชื่อมต่อกับ [[สถานีหัวลำโพง (รถไฟฟ้าชานเมือง)|สถานีหัวลำโพง]]อีกแห่งในบริเวณ[[สถานีรถไฟกรุงเทพ|สถานีหัวลำโพง]] ของโครงการ[[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม]]อีกด้วย