ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งบรมพิมาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้เสด็จประทับที่พระที่นั่งองค์นี้ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
 
[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]] ได้เสด็จประทับเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕และได้[[กรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8 พ.ศ. 2489|เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน]] ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อวันที่ [[9 มิถุนายน|๙ มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489|พ.ศ. ๒๔๘๙]]
 
ปัจจุบันเป็นเขตพระราชฐานส่วนพระองค์ใน[[ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี]] ใช้เป็นที่ประทับเป็นการถาวรหลังจากนิวัตประเทศไทย ควบคู่กับ พระตำหนักพลอยปทุม จ.ปทุมธานี โดยด้านหลังของพระที่นั่งองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโปรดให้สร้าง อาคารรับรองด้านหลัง A และ B ใช้เป็นที่พักรับรองผู้ติดตามพระราชอาคันตุกะชั้นประมุขและพระราชวงศ์ชั้นสูง ปัจจุบัน ใช้เป็นที่ทรงงานในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพื่อเสด็จออกรับบุคคลที่ขอเข้าเฝ้า และใช้เป็นกองงานในพระองค์ [[ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี]]
 
==สถาปัตยกรรม==
[[ไฟล์:พระที่นั่งบรมพิมาน2.jpg|300px|thumb|ภาพเขียนพระอาทิตย์ทรงรถ ประดับเพดานพระที่นั่งบรมพิมาน ฝีพระหัตถ์กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]]
[[ไฟล์:ห้องรับรองชั้นบนพระที่นั่งบรมพิมาน.jpg|300px|thumb|ห้องรับรองพระราชอาคันตุกะบนชั้นสองของพระที่นั่งบรมพิมาน|link=Special:FilePath/ห้องรับรองชั้นบนพระที่นั่งบรมพิมาน.jpg]]
พระที่นั่งบรมพิมาน เป็นอาคาร ๒ ชั้น หลังคารูปโค้ง มุงด้วยกระเบื้องหินชนวน ลักษณะแบบเฟรนซ์[[เรเนซองซ์]] ออกแบบโดยสถาปนิกชาวยุโรป ผู้ทำการก่อสร้างคือ พระยาประดิษฐ์อมรพิมาน (หม่อมราชวงศ์ชิต อิศรศักดิ์)